(ต่อ3) ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

ข่าวการเมือง Tuesday August 28, 2007 15:40 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งต้องใช้สิทธิลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือที่เคยมีชื่ออยู่ใน
ทะเบียนบ้านครบเก้าสิบวันครั้งสุดท้ายตามมาตรา ๙๕ แล้วแต่กรณี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้ง
ทั่วไป หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หากบุคคลผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งมิได้ไปใช้สิทธิ
เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง ให้ถือว่าการลงทะเบียนนั้นเป็นการแจ้งเหตุอันสมควร
และไม่เสียสิทธิตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๙๗ ในการดำเนินการเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งจัดให้มีที่เลือกตั้งกลางจังหวัดละหนึ่งแห่ง เว้นแต่มีความจำเป็นจะจัดให้มี
ที่เลือกตั้งกลางมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้
วิธีการลงคะแนน การนับคะแนน การส่งบัตรเลือกตั้งและการดำเนินการอื่น
ที่จำเป็น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๙๘ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
อันมิใช่เป็นการเลือกตั้งใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรจะขอใช้สิทธิ
ลงคะแนนเลือกตั้ง ณ ประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่ก็ได้
เมื่อได้แจ้งการขอใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวหมดสิทธิ
ลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยใช้สิทธิลงคะแนนได้ตามที่กำหนดไว้
ในมาตรา ๙๙
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งความประสงค์การขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งใหม่ ในการเลือกตั้ง
ทั่วไป หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ที่ได้ขอใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง ให้ถือว่า
การขอใช้สิทธินั้นเป็นการแจ้งเหตุอันสมควรและไม่เสียสิทธิตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๙๙ ในประเทศใดมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิ
ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย
จัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งในประเทศนั้น โดยอาจให้มีสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้ง หรือให้มีการ
ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทางไปรษณีย์หรือโดยวิธีอื่นใดที่มิใช่เป็นการจัดตั้งสถานที่ลงคะแนน
เลือกตั้งก็ได้ ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของประเทศนั้น และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๐๐ เมื่อขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งตามมาตรา ๙๘ แล้ว ให้ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งนั้นหมดสิทธิลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เว้นแต่จะได้แจ้งการ
เปลี่ยนแปลงล่วงหน้าตามเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๐๑ การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งตามส่วนที่ ๙ นี้ คณะกรรมการ
การเลือกตั้งอาจดำเนินการล่วงหน้าเพื่อนำบัตรเลือกตั้งมานับรวมในวันเลือกตั้งได้ เว้นแต่มีเหตุ
จำเป็นเฉพาะท้องที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้
ในกรณีที่บัตรเลือกตั้งส่งมาถึงสถานที่นับคะแนนของเขตเลือกตั้งใดหลังจากเริ่ม
นับคะแนนแล้ว ให้ถือว่าบัตรเลือกตั้งนั้นเป็นบัตรเสีย
ในกรณีที่บัตรเลือกตั้งจากที่ใดสูญหาย หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการ
เลือกตั้งที่ใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยสั่งมิให้
นับคะแนนจากที่นั้นก่อนแล้วจึงสั่งให้บัตรเลือกตั้งจากที่นั้นเป็นบัตรเสีย
ส่วนที่ ๑๐
การดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
มาตรา ๑๐๒ ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวน
สอบสวนแล้วเห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใด กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หรือระเบียบ หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่น
กระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแล้วไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำนั้น
ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าการกระทำนั้นน่าจะมีผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริต
และเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้น
ทุกรายเป็นเวลาหนึ่งปี โดยให้มีผลนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง
ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้า
พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือ
ทราบถึงการกระทำนั้นแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ
ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการ
ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้ศาล
รัฐธรรมนูญมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรค
การเมืองนั้นมีกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน
ตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดหรือพรรคการเมืองใดจะได้รับ
ประโยชน์จากการกระทำนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งให้ผู้สมัครผู้นั้นหรือพรรค
การเมืองนั้นระงับหรือดำเนินการใด เพื่อแก้ไขความไม่สุจริตและเที่ยงธรรมนั้นภายในเวลาที่
กำหนด ในกรณีที่ผู้สมัครผู้นั้นหรือพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการ
การเลือกตั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานว่าผู้สมัครผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำนั้น
พรรคการเมืองนั้นมีส่วนรู้เห็นในการกระทำนั้น เว้นแต่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นพิสูจน์ได้ว่า
ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว
มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ต้องมี
คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยต้องมีองค์ประชุม
ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งด้วย
เมื่อมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครผู้ใดหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดแล้ว
ให้พิจารณาดำเนินการให้มีการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัคร หัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการ
บริหารพรรคการเมืองผู้นั้นด้วย ในการนี้ ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหายตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ภายหลังวันลงคะแนน
แต่ก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง และผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้สมัคร
ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ได้คะแนนเลือกตั้งในลำดับซึ่งจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งใน
เขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้ได้ผู้รับเลือกตั้ง
ครบจำนวนที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น
มาตรา ๑๐๓ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นสมควร เพื่อประโยชน์
ในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเป็นไปโดยเที่ยงธรรม คณะกรรมการ
การเลือกตั้งอาจแต่งตั้งข้าราชการอัยการ ข้าราชการอื่น หรือผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการดังกล่าว หรือ
ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการตุลาการตามจำนวนที่เหมาะสม เป็นคณะกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะ
ตามความจำเป็น เพื่อช่วยคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดำเนินการตรวจสอบสำนวนการ
สืบสวนสอบสวน รวมทั้งรับฟังคำชี้แจงหรือพยานหลักฐานแทนคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งข้าราชการอัยการ หรือข้าราชการอื่น
ให้ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งมาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
บริหารงานบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาของข้าราชการดังกล่าว แล้วแต่กรณี
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
การแต่งตั้งตามมาตรานี้ ให้มีผลเฉพาะในระหว่างเวลานับแต่วันมีพระราช
กฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตที่มี
การเลือกตั้ง เว้นแต่คณะกรรมการบริหารงานบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้น แล้วแต่
กรณี จะเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดังกล่าว
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการการ
เลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๐๔ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่งประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับ
แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการกฤษฎีกาทุกคณะตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งไม่
เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือผู้ดำรง
ตำแหน่งอื่นในพรรคการเมืองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ ในกรณีที่ประธานกรรมการกฤษฎีกา
คณะใดไม่อาจดำรงตำแหน่งกรรมการได้ ให้กรรมการกฤษฎีกาประจำคณะนั้นเลือกกรรมการ
กฤษฎีกาคนหนึ่งในคณะเดียวกันที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นกรรมการแทน ในกรณีที่ไม่
อาจหากรรมการแทนได้ ให้คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัคร
ผู้ใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งความเห็นพร้อมด้วยสำนวนการสืบสวนสอบสวนไปยัง
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นว่าความเห็นดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วย
กฎหมาย หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งกระทำการโดยเที่ยงธรรมหรือไม่ หากคณะกรรมการ
ดังกล่าวมีความเห็นต่างไปจากความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง
จะมีคำวินิจฉัยตามความเห็นเดิมก็ได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและให้ประกาศคำวินิจฉัยพร้อมทั้งเหตุผล
และความเห็นของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งในราชกิจจานุเบกษา
การให้ความเห็นของคณะกรรมการตามวรรคสอง ต้องกระทำโดยที่ประชุม
คณะกรรมการที่มีกรรมการร่วมประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามและต้องกระทำภายในเวลาไม่เกิน
ห้าวันนับแต่วันได้รับเรื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หากพ้นห้าวันแล้วยังไม่มีความเห็นของ
คณะกรรมการ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการต่อไป
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการการ
เลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๐๕ ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ผู้ใดกระทำการ
ใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด อันอาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไป
โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำ
หรือมีคำสั่งให้แก้ไขการกระทำตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดได้
ถ้ามีผู้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นการกระทำ
ตามวรรคหนึ่ง และการกระทำนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและดำเนินคดีโดยเร็ว และแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัด เพื่อรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาดำเนินการต่อไป
มาตรา ๑๐๖ ในระหว่างระยะเวลาตามมาตรา ๔๙ ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อ
ได้ว่าผู้ใด ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการจูงใจให้ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นลงคะแนนเลือกตั้ง
ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือจัดเตรียมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อดำเนินการดังกล่าว
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดเงินหรือทรัพย์สินของผู้นั้นไว้เป็นการ
ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งที่การยึดหรือ
อายัดอยู่ในเขตศาลภายในสามวันนับแต่วันยึดหรืออายัดตามวรรคหนึ่ง เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว
ให้ดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวให้แล้วเสร็จภายในห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง ถ้าศาลเห็นว่า
เงินหรือทรัพย์สินตามคำร้องน่าจะได้ใช้หรือจะใช้เพื่อการเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดเงินหรือทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะมีการประกาศผลการเลือกตั้ง
มาตรา ๑๐๗ ก่อนวันเลือกตั้ง ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง
ในหน่วยเลือกตั้งใดหรือในเขตเลือกตั้งใดจะมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเกิดจากการ
กระทำของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีอำนาจประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งหรือในเขตเลือกตั้งนั้น และให้กำหนด
วันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่
มาตรา ๑๐๘ เมื่อได้มีการนับคะแนนเลือกตั้งแล้ว ถ้าปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อ
ได้ว่าการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือ
การนับคะแนนเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง คณะกรรมการการเลือกตั้งจะงดการประกาศผลการ
เลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือนับคะแนนใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้นก็ได้
มาตรา ๑๐๙ ก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า
พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง หรือสมาชิกของพรรคการเมือง ผู้ใดได้กระทำการอัน
เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หรือก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุน หรือรู้เห็น
เป็นใจให้ผู้อื่นกระทำการดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เห็นว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเป็นผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจประกาศให้บัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้แก่พรรคการเมืองนั้น
เป็นบัตรเสียและมิให้นับเป็นคะแนน ทั้งนี้ เฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีการกระทำนั้น
การกำหนดเขตพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดจาก
หน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งก็ได้ โดยคำนึงถึงผลกระทบแห่งการกระทำนั้น
ให้นำความในมาตรา ๑๐๔ มาใช้บังคับกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดย
อนุโลม
มาตรา ๑๑๐ เมื่อประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า
ในระหว่างการเลือกตั้งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริต
และเที่ยงธรรม หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดหรือผู้สมัครผู้ใด กระทำการใด ๆ โดยไม่สุจริต
เพื่อที่จะให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือ
พรรคการเมืองใดได้กระทำ ทั้งนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ระเบียบ
หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค
การเมือง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมความเห็นเสนอต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งให้มี
การเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครผู้นั้น
มีกำหนดเวลาหนึ่งปี แล้วแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีทราบ
มาตรา ๑๑๑ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อหา
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกตั้งและป้องกันมิให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกรรมการการเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ เมื่อมีหลักฐานอันควร
เชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อตรวจ ค้น ยึด
หรืออายัดเอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานใด และในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้า
เอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานดังกล่าวจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพ
ไปจากเดิม จะเข้าทำการค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นก็ได้ และต้องบันทึกพฤติการณ์แห่งกรณีไว้
อำนาจตามวรรคหนึ่งให้ใช้ได้นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
จนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง และจะขอให้เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐช่วยเหลือในการดำเนินการตาม
ความจำเป็นด้วยก็ได้
คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมอบอำนาจให้กรรมการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัดหรือเจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้ค้นก็ได้ แต่ผู้รับมอบอำนาจต้องได้รับหมายค้นจากศาลด้วย
(๒) ขอให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแจ้งรายงานการทำ
ธุรกรรมของบุคคลที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งให้ทราบ
หรือให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือ
สถาบันการเงินอื่นแจ้งให้ทราบถึงการโอนเงินตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งร้องขอ
ส่วนที่ ๑๑
การคัดค้านการเลือกตั้ง
มาตรา ๑๑๒ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิก
สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง มีสิทธิยื่นคัดค้านต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้มีสิทธิยื่นคัดค้านการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง อาจยื่นคัดค้านก่อนวันประกาศ
ผลการเลือกตั้ง หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง เว้นแต่การร้องคัดค้าน
เพราะเหตุตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๒ ให้ยื่นภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ
ผลการเลือกตั้ง
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับคำคัดค้านการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการสืบสวน
สอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลัน
วิธีการยื่นคำคัดค้านการเลือกตั้งและการพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบ
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๑๓ ในกรณีที่มีการยื่นคัดค้านก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง ให้นำ
มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘
มาตรา ๑๐๙ และมาตรา ๑๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่มีการยื่นคัดค้านก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้งแต่ผล
การสืบสวนสอบสวนแล้วเสร็จหลังวันประกาศผลการเลือกตั้ง หรือยื่นคัดค้านหลังวันประกาศ
ผลการเลือกตั้ง และผลการสืบสวนสอบสวนปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งเป็นไป
โดยถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่
ในหน่วยเลือกตั้งใดหรือในเขตเลือกตั้งใด ถ้าผลการนับคะแนนใหม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับ
เลือกตั้ง ให้ถือว่าเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นต้องสิ้นสุดลง และ
ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนซึ่งอยู่ในลำดับที่จะได้รับการประกาศผลการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแทน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการนับคะแนน
ใหม่ แต่ทั้งนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพนั้น
ได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้รับแจ้งประกาศผลการนับคะแนนใหม่
(๒) ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขต
เลือกตั้งใด หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใด ให้นำความในมาตรา ๑๑๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผลการสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใด
หรือเขตเลือกตั้งใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
เห็นว่ายังไม่มีเหตุที่จะต้องให้มีการนับคะแนนใหม่หรือเลือกตั้งใหม่เพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลง
ผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมีคำสั่งให้ยุติเรื่องก็ได้
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
หมวด ๒
การเลือกตั้งและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ส่วนที่ ๑
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๑๕ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในราชกิจจานุเบกษา
ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินห้าวันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภาใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
มาตรา ๑๑๖ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๑๗ ผู้ซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามที่บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๑๘ การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
และให้มีสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละหนึ่งคน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ในจังหวัดที่ตนมีสิทธิลงคะแนนได้เพียงคนเดียว
มาตรา ๑๑๙ การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ให้นำความในมาตรา ๓๕
มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับ
พรรคการเมือง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชำระค่าธรรมเนียมการสมัครคนละหนึ่งหมื่นบาท
และให้ค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตกเป็นรายได้ของแผ่นดิน
มาตรา ๑๒๐ ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป เฉพาะมาตรา ๘ และมาตรา ๙ ส่วนที่ ๒ เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง
ส่วนที่ ๓ เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ส่วนที่ ๔ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง ส่วนที่ ๖ ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ยกเว้นมาตรา ๖๑ ส่วนที่ ๗
การลงคะแนนเลือกตั้ง ส่วนที่ ๘ การนับคะแนนและการประกาศผลการเลือกตั้ง ส่วนที่ ๙
การลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง ส่วนที่ ๑๐ การดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไป
โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ส่วนที่ ๑๑ การคัดค้านการเลือกตั้ง เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับ
พรรคการเมืองมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยอนุโลม ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัด
หรือแย้งกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือในหมวดนี้
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรานี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรานี้ และ
กำหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
บรรดาบทบัญญัติใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นำมาใช้
บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย ถ้าบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นความผิดและมีบทกำหนดโทษสำหรับความผิดนั้นให้
นำมาใช้บังคับกับการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาด้วย โดยให้ถืออัตราโทษ
อย่างเดียวกัน
มาตรา ๑๒๑ ให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้
ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา
การโฆษณาหาเสียงตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการกล่าวหาหรือให้ร้ายผู้สมัครอื่น
และต้องไม่เป็นการโฆษณาหาเสียงที่มีผลหรือมีลักษณะเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดิน
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการหาเสียง
เลือกตั้งตามมาตรานี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นที่สุด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๒๒ เพื่อประโยชน์ในการหาเสียงของผู้สมัคร ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกำหนดวิธีการที่รัฐสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดให้มีสถานที่ปิดประกาศและติดป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัคร
ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
ในที่ชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร
(๒) พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครไปให้ผู้มีสิทธิ
ออกเสียงเลือกตั้ง
(๓) กำหนดสถานที่สำหรับให้ผู้สมัครใช้ในการหาเสียง ในการนี้รัฐอาจจัดให้
มีการแสดง หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาฟังการหาเสียงก็ได้ แต่ต้องมิใช่
เป็นการจัดให้มีเพื่อสนับสนุนผู้สมัครใดโดยเฉพาะ
(๔) กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาให้ผู้สมัครหาเสียงทางวิทยุกระจายเสียง
และวิทยุโทรทัศน์ของรัฐ
(๕) การสนับสนุนของรัฐในกิจการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
เพื่อให้การหาเสียงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศเพื่อแนะนำวิธีการหาเสียงหรือข้อห้ามมิให้หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครในราชกิจจานุเบกษา
ส่วนที่ ๒
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๒๓ เมื่อมีเหตุที่จะต้องสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดวันเริ่มการสรรหาภายในสามวัน
นับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องมีการสรรหา
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดวันที่องค์กร
ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่น ๆ ตามมาตรา ๑๓๐ จะลงทะเบียน
เพื่อรับสิทธิการเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต่อคณะกรรมการสรรหา
ซึ่งต้องกำหนดให้มีการลงทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับจากวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
กำหนดวันเริ่มสรรหาสมาชิกวุฒิสภาและกำหนดวันรับลงทะเบียนไม่น้อยกว่าห้าวัน
เพื่อประโยชน์ในการลงทะเบียนองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็น
สมาชิกวุฒิสภา ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสรรหา
เพื่อกำหนดคุณสมบัติที่จำเป็นเฉพาะขององค์กรแต่ละภาคให้แล้วเสร็จภายในห้าวันนับแต่วันที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเริ่มการสรรหา
มาตรา ๑๒๔ องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ต้องเป็นองค์กรนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือได้รับการรับรองโดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้น
ในราชอาณาจักร
องค์กรตามวรรคหนึ่งต้องเป็นองค์กรในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาควิชาชีพ หรือภาคอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) องค์กรภาควิชาการ หมายความถึง สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่จัดการเรียนการสอนในระดับไม่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า รวมทั้งสถาบันที่มี
วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่ประชาชน และองค์กร
อื่นตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด
(๒) องค์กรภาครัฐ หมายความถึง ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐตั้งแต่ระดับ
กรมขึ้นไปหรือเทียบเท่า รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด ยกเว้น
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรตาม (๑)
(๓) องค์กรภาคเอกชน หมายความถึง องค์กรกลางของกลุ่มอาชีพเพื่อส่งเสริม
การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ด้านพาณิชยกรรม ด้านบริการ ด้านอุตสาหกรรม และด้าน
อื่น ๆ ซึ่งไม่แสวงหาผลกำไร และองค์กรอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด
(๔) องค์กรภาควิชาชีพ หมายความถึง องค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการกำกับ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ