เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 239-141

ข่าวการเมือง Wednesday July 11, 2007 10:45 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
๓. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- มาตรา ๒๓๙ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน
กรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๑ โดยเคยเป็นรัฐมนตรี กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจ
การแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า
ข้าราชการพลเรือนระดับเก้า หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ผู้แทนองค์กรเอกชน หรือ
ประกอบวิชาชีพที่มีองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี ซึ่งองค์กรเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพ
นั้นให้การรับรองและเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหา การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๒ และมาตรา
๒๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- มาตรา ๒๔๐ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปี
นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
การพ้นจากตำแหน่ง การสรรหา และการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแทนตำแหน่ง
ที่ว่าง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๕ และมาตรา ๒๐๖ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
- มาตรา ๒๔๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า
ที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธาน
วุฒิสภาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืน
รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง
และขอให้วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งได้มติของวุฒิสภาให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้น
จากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ส่วนที่ ๒คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- มาตรา ๒๙๗ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน
กรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕๖ การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๕๗ และมาตรา ๒๕๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยให้มี คณะ
กรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวนสิบห้าคน ประกอบด้วย ประธาน
ศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานกรรม
การตรวจเงินแผ่นดิน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเลือกกันเอง
ให้เหลือหนึ่งคน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งเลือกกัน
เองให้เหลือหนึ่งคน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่ง
เลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน และอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้
เหลือหกคน เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ แต่มีกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่ครบองค์ประกอบ
ตามวรรคสาม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน
กรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- มาตรา ๒๙๘ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปี
นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับ
หน้าที่ การพ้นจากตำแหน่ง การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง
ชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๖๐ และมาตรา ๒๖๑ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
- มาตรา ๒๙๙ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า
ที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติผู้ใดกระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อม
เสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง และขอให้วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งได้มติของวุฒิสภา
ให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า
สามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 239
กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ใน
รัฐธรรมนูญโดยตรง ส่วนการสรรหาใช้แนวทางเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ
แก้ไขมาตราที่ 241
เพิ่มสิทธิประชาชนในการเข้าชื่อเพื่อตรวจสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ