ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๒๘๙ ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับ
แต่งตั้ง(๑) กรรมการการเลือกตั้ง (๒) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (๓) กรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ (๔) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (๕) สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ใน
วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายตาม
รัฐธรรมนูญนี้ขึ้นใช้บังคับ เว้นแต่บทบัญญัติใดขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
นี้แทน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เลือกกัน
เองให้คนหนึ่งเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๓๕ วรรคสองและวรรค
สามมาใช้บังคับโดยอนุโลม
- มาตรา ๒๙๐ ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา
เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ให้
ผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ได้รับเลือกตามมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ คงดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไปจนกว่า
จะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับ
แต่วันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ให้บทบัญญัติมาตรา ๓๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะ
มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับบรรดาคดีหรือการ
ใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ดำเนิน
การต่อไปและ เมื่อมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว บรรดาคดีหรือการ
ที่ค้างดำเนินการนั้นโอนไปอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งขึ้นใหม่นั้นในระหว่างที่ยังมิได้มีการ
ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
- มาตรา ๒๙๑ ให้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดินภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- มาตรา ๒๙๒ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้มีผลใช้บังคับต่อไป
(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธาน
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นผู้รักษาการ (๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็น
ผู้รักษาการ(๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธาน
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการ (๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา
ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการให้ผู้รักษาการตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ดำเนินการปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อ
ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่ยังไม่มีผู้ดำรง
ตำแหน่งที่เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระยะเวลาหนึ่งปีให้เริ่มนับตั้งแต่
วันที่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา
นี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว และให้วุฒิ
สภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
การลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำพระ
ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
โดยให้นำความในวรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
- มาตรา ๒๙๓ ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังต่อไปนี้
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด (๑) กฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดเพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
การใช้สิทธิและเสรีภาพตามมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๔ บทบัญญัติในส่วนที่ ๗ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ของบุคคลและสื่อมวลชน ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา ส่วนที่ ๙ สิทธิในการได้รับการบริการ
สาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน ส่วนที่ ๑๒ สิทธิชุมชน
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา ๖๐ วรรคสอง กฎหมายเพื่อ
จัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามมาตรา ๘๐ (๖) และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง
กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองตามมาตรา ๘๖ (๕) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
-
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 290
กำหนดรองรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการ
แต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญใหม่ตามรัฐธรรมนูญนี้
แก้ไขมาตราที่ 291
กำหนดให้มีการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มี
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดินที่ดำรงตำแหน่งอยู่ใช้อำนาจหน้าที่แทนไปพลางก่อนเพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรม
การตรวจเงินแผ่นดินตามกฎหมาย
แก้ไขมาตราที่ 292
กำหนดรองรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป
เพื่อให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่กำหนดให้ต้องมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญเหล่านั้นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญนี้ภายในเวลาที่กำหนด โดยให้เป็นหน้าที่ของ
ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นผู้ดำเนินการ
แก้ไขมาตราที่ 293
กำหนดระยะเวลาการจัดทำกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
(ยังมีต่อ)