ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๑๓๐ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็น
คณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ
วิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้ว
รายงานต่อสภา มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน
คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลง
ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ในกรณีที่
บุคคลตามวรรคสองเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงาน
ที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการตามวรรคสอง เว้นแต่เป็นกรณีที่เกี่ยวกับความปลอดภัย
หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ให้ถือว่าเป็นเหตุยกเว้นการปฏิบัติตามวรรคสองเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๑๒๕ นั้น ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๒๙ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนตามวรรคห้า
ส่วนที่ ๕ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
มาตรา ๑๓๑ ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน(๑) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๙ (๒) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา
ตามมาตรา ๒๑ (๓) การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช
๒๔๖๗ ตามมาตรา ๒๒ (๔) การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา ๒๓
(๕) การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ตามมาตรา ๑๒๒ (๖) การให้ความเห็น
ชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา ๑๒๒ (๗) การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๒๓ (๘) การตรา
ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๓๒
(๙) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ
ตามมาตรา ๑๔๑ (๑๐) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่
ตามมาตรา ๑๔๗ (๑๑) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระ
ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามมาตรา ๑๔๙ วรรคสอง(๑๒) การแถลงนโยบาย
ตามมาตรา ๑๗๒ (๑๓) การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๗๕ (๑๔) การให้ความเห็นชอบในการ
ประกาศสงครามตามมาตรา ๑๘๕ (๑๕) การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบสนธิสัญญาตาม
มาตรา ๑๘๖ (๑๖) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๘๒
- มาตรา ๑๓๒ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่าง
ที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ใน
เรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ กรรมาธิการซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของแต่ละสภาจะต้องมีจำนวนตามหรือ
ใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๑๘๙ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะ
กรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ
เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา
มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน
คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใด มาแถลง
ข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองเป็นข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือกำกับดูแล
หน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการตามวรรคสอง เว้นแต่เป็นกรณีที่เกี่ยวกับความ
ปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ให้ถือว่าเป็นเหตุยกเว้นการปฏิบัติตามวรรคสองเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๑๕๗ และมาตรา ๑๕๘ นั้น ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย กรรมาธิการสามัญซึ่ง
ตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่ยังไม่มี
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๙๑ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนตาม
วรรคห้า
ส่วนที่ ๖การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
มาตรา ๑๙๓ ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน (๑) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๙ (๒) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา
ตามมาตรา ๒๑ (๓) การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ตามมาตรา ๒๒ (๔) การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตาม
มาตรา ๒๓ (๕) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่
ตามมาตรา ๙๔ (๖) การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ตามมาตรา
๑๕๙ (๗) การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา ๑๖๐ (๘) การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา
๑๖๑ (๙) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม
มาตรา ๑๗๓ (๑๐) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไปตามมาตรา ๑๗๘ วรรคสอง (๑๑) การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
ตามมาตรา ๑๙๔ (๑๒) การแถลงนโยบายตามมาตรา ๒๑๑ (๑๓) การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๒๑๓
(๑๔) การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงครามตามมาตรา ๒๒๓ (๑๕) การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา
ตามมาตรา ๒๒๔ (๑๖) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓๑๓
มาตรา ๑๙๔ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่างที่ยัง
ไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน
มาตรา ๑๙๕ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ กรรมาธิการซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของแต่ละสภาจะต้องมีจำนวนตาม
หรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา
ส่วนที่ ๗ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา ๑๙๖ ถึงมาตรา ๑๙๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
นำไปบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๕ ถึงมาตรา ๒๓๘ ของหมวด ๑๑
ส่วนที่ ๘คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มาตรา ๑๙๙ ถึงมาตรา ๒๐๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
นำไปบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๗ ถึงมาตรา ๒๔๘ ของหมวด ๑๑
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไข (๑๕) เพื่อสอดคล้องกับการแก้ไขในมาตรา ๑๘๖ซึ่งต้องมีการชี้แจงต่อรัฐสภาในการทำ
สนธิสัญญา
ไม่มีการแก้ไข แต่นำมาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๑๙๕ มาบัญญัติรวมไว้ด้วยกัน
(ยังมีต่อ)