ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

ข่าวการเมือง Tuesday August 28, 2007 15:40 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
เหตุผล
โดยที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
และการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. ....
......................................
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
.....................................................................
มาตรา ๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. .”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑
(๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
“ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ
สมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
“ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก
วุฒิสภา แล้วแต่กรณี
“ผู้ได้รับการเสนอชื่อ” หมายความว่า ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหา
เป็นสมาชิกวุฒิสภา
“วันเลือกตั้ง” หมายความว่า วันที่กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
“วันสรรหา” หมายความว่า วันที่กำหนดให้เริ่มการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาตาม
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง
“คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
“เขตเลือกตั้ง” หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบสัดส่วน หรือเขตเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
“หน่วยเลือกตั้ง” หมายความว่า ท้องถิ่นที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง
“ที่เลือกตั้ง” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง และให้
หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกตั้ง
“จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
“กลุ่มจังหวัด” หมายความว่า กลุ่มจังหวัดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ
กำหนด
“อำเภอ” หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
“ตำบล” หมายความรวมถึง แขวง
“ศาลากลางจังหวัด” หมายความรวมถึง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
“ที่ว่าการอำเภอ” หมายความรวมถึง สำนักงานเขต และที่ว่าการกิ่งอำเภอ
“เทศบาล” หมายความรวมถึง เมืองพัทยา
“สำนักงานเทศบาล” หมายความรวมถึง ศาลาว่าการเมืองพัทยา
มาตรา ๕ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญนี้
หมวด ๑
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการ
ลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
(๒) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือก
บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว ในแต่ละเขตเลือกตั้งแบบ
สัดส่วน
มาตรา ๗ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น
การเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการ
เลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินยี่สิบวันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
(๒) กำหนดวันที่พรรคการเมืองจะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งต้องกำหนดให้เป็นวันก่อนวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตาม (๑) และกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
(๓) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี
และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนที่แต่ละกลุ่มจังหวัดจะพึงมีจากการเลือกตั้งแบบ
สัดส่วน
(๔) จำนวนเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละ
จังหวัด ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และจำนวนเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบสัดส่วน ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับจังหวัดที่อยู่ภายในเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
ในกรณีที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๘ การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้ง
ทั่วไป คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
นับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้ การประกาศผลการเลือกตั้งไม่มีผลกระทบกระเทือนการดำเนินการ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามหมวด ๒ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนที่ ๑๐
การดำเนินการในกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และส่วนที่ ๑๑
การคัดค้านการเลือกตั้ง
มาตรา ๙ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจออกประกาศให้ย่นหรือขยายระยะเวลาหรืองดเว้นการ
ดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เฉพาะใน
การเลือกตั้งนั้น เพื่อให้เหมาะสมและจำเป็นแก่การดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยรวดเร็ว สุจริต
และเที่ยงธรรมได้
ส่วนที่ ๒
เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง
มาตรา ๑๐ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้ทราบ
ล่วงหน้า
การแบ่งเขตเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งจะต้องกำหนดตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญ และจะต้องกำหนดพื้นที่ในแต่ละเขตเลือกตั้งให้ติดต่อกันและมีจำนวนราษฎร
ในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน โดยถือเกณฑ์ดังนี้
(๑) ให้รวมอำเภอต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ติดต่อใกล้ชิดกัน
ความสะดวกในการคมนาคมระหว่างกัน และการเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ถ้าการรวมอำเภอ
ในลักษณะนี้จะทำให้มีจำนวนประชากรมากหรือน้อยเกินไป ให้แยกอำเภอเพื่อให้ได้จำนวน
ประชากรพอเพียงสำหรับการเป็นเขตเลือกตั้ง แต่จะแยกหรือรวมเฉพาะเพียงบางส่วนของตำบล
ไม่ได้
(๒) ในกรณีที่การกำหนดพื้นที่ตามเกณฑ์ใน (๑) จะทำให้จำนวนราษฎรในแต่ละ
เขตเลือกตั้งมีจำนวนไม่ใกล้เคียงกันหรือไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกัน ให้ดำเนินการแบ่งเขต
เลือกตั้งตามสภาพของชุมชนที่ราษฎรมีการติดต่อกันเป็นประจำในลักษณะที่เป็นชุมชนเดียวกัน
หรือใกล้เคียงกันและสามารถเดินทางติดต่อกันได้โดยสะดวก โดยจะต้องทำให้จำนวนราษฎร
ของแต่ละชุมชนในเขตเลือกตั้งแต่ละแห่งมีจำนวนใกล้เคียงกันมากที่สุด
เมื่อได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษากำหนดการแบ่งเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งให้กระทำได้
เฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัด
ในกรณีที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดเขตเลือกตั้งในคราวนั้น โดยถือเขตเลือกตั้งที่มีการ
ประกาศกำหนดไว้ตามมาตรานี้ เว้นแต่มีกรณีจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งตาม
วรรคสาม
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างในระหว่างอายุ
ของสภาผู้แทนราษฎร ให้ใช้เขตเลือกตั้งในคราวที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการ
เลือกตั้งทั่วไปของตำแหน่งที่ว่างนั้น โดยมิให้นำการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งในระหว่างอายุ
ของสภาผู้แทนราษฎรตามวรรคสามมาใช้บังคับ
มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับ
การเลือกตั้งแบบสัดส่วนให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไว้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบ
ล่วงหน้า
การแบ่งเขตเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้รวมจังหวัดต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้งจะแยก
หรือรวมเฉพาะเพียงบางส่วนของจังหวัดมิได้ และจะต้องกำหนดพื้นที่ในแต่ละเขตเลือกตั้ง
ให้ติดต่อกันและมีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน โดยคำนึงถึงความสะดวก
ในการคมนาคมระหว่างกัน
เมื่อได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วนแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเขต
เลือกตั้งแบบสัดส่วนให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนราษฎรในจังหวัดอันทำให้
จำนวนราษฎรของแต่ละกลุ่มจังหวัดมีจำนวนไม่ใกล้เคียงกัน
ในกรณีที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วนในคราวนั้น โดยถือ
เขตเลือกตั้งที่มีการประกาศกำหนดไว้ตามมาตรานี้
มาตรา ๑๒ เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งตามมาตรา ๑๕ กำหนด
หน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงความสะดวกในการเดินทางมาใช้สิทธิ
เลือกตั้งของราษฎร
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ใช้เขตหมู่บ้านเป็นเขตของหน่วยเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จำนวนน้อยจะรวมหมู่บ้านที่อยู่ติดกันตั้งแต่สองหมู่บ้านขึ้นไปเป็นหน่วยเลือกตั้งเดียวกันก็ได้
สำหรับในเขตเทศบาล เขตกรุงเทพมหานคร หรือเขตชุมชนหนาแน่น อาจกำหนดให้ใช้เขตชุมชน
แนวถนน ตรอก ซอย คลอง หรือแม่น้ำ เป็นเขตของหน่วยเลือกตั้งก็ได้ และ
(๒) ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยละแปดร้อยคนเป็นประมาณ แต่ถ้า
เห็นว่าไม่เป็นการสะดวกหรือไม่ปลอดภัยในการไปลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจกำหนด
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าจำนวนดังกล่าวก็ได้ หรือจะกำหนดหน่วยเลือกตั้งเพิ่มขึ้นโดยให้มี
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยกว่าจำนวนดังกล่าวก็ได้
ให้ดำเนินการประกาศหน่วยเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวันเลือกตั้ง โดยให้
ปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหาร
ส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และเขตชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร ในกรณีจำเป็นอาจให้จัดทำ
แผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยเลือกตั้งไว้ด้วยก็ได้
การเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้งให้กระทำได้โดยประกาศก่อนวันเลือกตั้ง
ไม่น้อยกว่าสิบวัน เว้นแต่ในกรณีเกิดเหตุจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็น
อย่างอื่น จะประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่าสิบวันก็ได้ และให้นำความในวรรคสาม
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓ ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามมาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งตามมาตรา ๑๕ กำหนดที่เลือกตั้ง
ของแต่ละหน่วยเลือกตั้งไว้ด้วย และให้นำความในมาตรา ๑๒ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับ
โดยอนุโลมกับการประกาศกำหนดที่เลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงที่เลือกตั้ง
ที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสถานที่ที่ประชาชนเข้าออกได้สะดวกเพื่อการ
ลงคะแนนเลือกตั้ง มีความเหมาะสม มีขนาดพอสมควร และควรตั้งอยู่ในย่านกลางของหน่วย
เลือกตั้ง พร้อมทั้งให้มีป้ายหรือเครื่องหมายอื่นใดเพื่อแสดงขอบเขตบริเวณของที่เลือกตั้งไว้ด้วย
ตามลักษณะของท้องที่และภูมิประเทศในการลงคะแนนเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในท้องที่ใดถ้าเห็นว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือ
เพื่อความปลอดภัยของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจประกาศกำหนดที่เลือกตั้งนอกเขตของหน่วยเลือกตั้ง
ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับหน่วยเลือกตั้งนั้น
มาตรา ๑๔ การลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนให้ใช้
หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามที่กำหนดไว้สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้ง
ส่วนที่ ๓
เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง
มาตรา ๑๕ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง ให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหนึ่งคน มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับ
สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และดำเนินกิจการที่จำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(๒) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าคน มีหน้าที่
เกี่ยวกับการกำหนดหน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเพิ่มชื่อ และ
การถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง รวมทั้งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการลงคะแนนเลือกตั้ง
การนับคะแนนเลือกตั้ง และการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง
การแต่งตั้งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเลือกตั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีอำนาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคล หรือบุคคลใด
เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งได้ตามสมควร
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแต่งตั้งบุคคลเป็น
เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้งหนึ่งคน มีหน้าที่อำนวยความสะดวก
ช่วยเหลือ และให้คำแนะนำในการตรวจสอบเอกสารและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
ประจำหน่วยเลือกตั้ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าคน มีหน้าที่เกี่ยวกับการ
ลงคะแนนเลือกตั้งในที่เลือกตั้งและนับคะแนนเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งแต่ละแห่ง
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่
รักษาความปลอดภัยและสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้งและ
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
มาตรา ๑๗ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตามมาตรา ๑๖ (๒) ให้ประกอบด้วย
ประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการไม่น้อยกว่าแปดคน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต
เลือกตั้งนั้น
ในกรณีที่มีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งมีจำนวนไม่ถึงเก้าคน
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เป็น
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งให้ได้จำนวนตามมาตรา ๑๖ (๒)
ในวันเลือกตั้ง ถ้าถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้วมีกรรมการประจำหน่วย
เลือกตั้งมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงเก้าคน ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่อยู่ในขณะนั้นแต่งตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจนครบเก้าคน แต่ถ้าไม่มี
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมาปฏิบัติหน้าที่เลย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง
แต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๘ พรรคการเมืองใดประสงค์จะส่งตัวแทนไปประจำอยู่ ณ ที่เลือกตั้ง
เพื่อสังเกตการณ์การลงคะแนนเลือกตั้งและการนับคะแนนเลือกตั้ง ให้ยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทน
ของตนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งได้ที่เลือกตั้งละหนึ่งคน
ตัวแทนพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในที่ซึ่งจัดไว้ ณ ที่เลือกตั้ง
ซึ่งสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานได้ และห้ามมิให้จับต้องบัตรเลือกตั้ง หรือกล่าวตอบโต้กับ
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือระหว่างกันเอง โดยเป็น
อุปสรรคแก่การเลือกตั้ง
ในกรณีมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคสอง ให้คณะกรรมการประจำ
หน่วยเลือกตั้งมีคำสั่งให้ตัวแทนพรรคการเมืองนั้นออกไปจากที่เลือกตั้งและให้เจ้าหน้าที่รักษา
ความปลอดภัยประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่ง
มาตรา ๑๙ นอกจากที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการ
การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้อำนวยการประจำ
หน่วยเลือกตั้ง คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการ
การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้อำนวยการประจำ
หน่วยเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง
ให้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง จงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำการ
อื่นใด เพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง หรือคำสั่งของศาลอันเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือ
คำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคำสั่งของศาลอันเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และได้กระทำโดย
สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งหรืออาญา
มาตรา ๒๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง
ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญานับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจนสิ้นสุดแห่งการงานในหน้าที่
มาตรา ๒๒ ค่าตอบแทนของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง
กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วย
เลือกตั้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานในการ
เลือกตั้งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ส่วนที่ ๔
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
๑. ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา ๒๓ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
มาตรา ๒๔ ในการเลือกตั้งครั้งใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการ
การเลือกตั้งแต่งตั้งไวใ นแตล่ เขตเลือกตั้ง ภายในเจ็ดวันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันเลือกตั้ง
ในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทำเป็นหนังสือชี้แจงเหตุดังกล่าว โดยอาจมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการ
การเลือกตั้งแต่งตั้งแทนหรือจัดส่งหนังสือชี้แจงเหตุนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ในกรณีที่บุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุที่ผู้มี
สิทธิเลือกตั้งแจ้งนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ให้รีบแจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายในสามวันนับแต่
วันที่ได้รับแจ้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับแจ้งตามวรรคสอง มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำจังหวัดภายในสามสิบวันนับจากวันเลือกตั้ง
การแจ้งเหตุ การพิจารณาการแจ้งเหตุ และการอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม
หรือวรรคสี่ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ในการนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดรายละเอียดของเหตุที่ทำให้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งไว้เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาของบุคคล
ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ด้วย
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายปิด
ประกาศรายชื่อบุคคลที่จะรับแจ้งเหตุ สถานที่ที่จะรับแจ้งเหตุ และวิธีการแจ้งเหตุไว้ ณ ศาลากลาง
จังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
และเขตชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร
มาตรา ๒๕ เมื่อครบกำหนดหกสิบวันนับจากวันเลือกตั้ง ให้บุคคล
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งตามมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง ประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิ
เลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา ๒๔ หรือแจ้งเหตุไว้แล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร
ในกรณีที่ประกาศรายชื่อตามวรรคหนึ่งมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจาก
ข้อเท็จจริง ให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการ
แก้ไขตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุ
ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว แต่เหตุนั้นมิใช่เหตุ
อันสมควร หรือเป็นผู้ที่มีรายชื่อในประกาศตามมาตรา ๒๕ ให้ถือว่าผู้นั้นเสียสิทธิ ดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(๒) สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าดว้ ยลักษณะ
ปกครองท้องที่
(๓) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิก
สภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(๔) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะ
ปกครองท้องที่
(๕) สิทธิในการเข้าชื่อเสนอร้องขอเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
(๖) สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการ
เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
(๗) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมาย
ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
(๘) สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลตามกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๙) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตาม
กฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา ๒๗ การเสียสิทธิตามมาตรา ๒๖ ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ
ผู้บริหารท้องถิ่น
ในกรณีที่มีการโต้แย้งการเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อ
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพร้อมหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นได้ไป
ใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งถัดมาแล้ว ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิจารณาคำร้อง
เพื่อมีคำสั่งให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้อง และการพิจารณาคำร้องตามวรรคสอง ให้เป็นไป
ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๒๘ บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและได้แจ้งเหตุ
แห่งความจำเป็นซึ่งเป็นเหตุอันสมควร ย่อมได้รับสิทธิการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการเมือง
ภาคพลเมือง
๒. บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา ๒๙ เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรครั้งใดแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือผู้ซึ่ง
คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
และปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหาร
ส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร และที่เลือกตั้งหรือบริเวณ
ใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวันเลือกตั้งกับให้แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในทะเบียนบ้านไปยังเจ้าบ้านให้ทราบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบห้าวันด้วย
มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่
ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแห่งหน่วยเลือกตั้งที่ตนหรือ
ผู้นั้นสมควรมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อต่อ
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย
ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวันเมื่อได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายตรวจสอบหลักฐาน และถ้าเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่อ
อยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้สั่งเติมชื่อตามที่ยื่นคำร้องลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
โดยเร็ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย
เห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งก็ให้สั่งยกคำร้อง และแจ้งให้
ผู้ยื่นคำร้องทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องโดยแสดงเหตุผลไว้ด้วย
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ