สถานการณ์พลังงานของประเทศไทยปี2556

ข่าวทั่วไป Monday March 31, 2014 17:27 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยในปี 2556 มีปริมาณ 75,214 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.6 และคิดเป็นมูลค่าการใช้พลังงานรวม 1,793 พันล้านบาท โดยมีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ 81.4 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 7.9 และพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิมร้อยละ 10.7ทั้งนี้การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ มีปริมาณ 61,236 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูป 35,948 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ไฟฟ้า 14,002 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ถ่านหิน/ลิกไนต์5,947 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 9.6 และก๊าซธรรมชาติ 5,339 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 สำหรับพลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย (แสงอาทิตย์ ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและก๊าซชีวภาพ) 5,902 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.7 และพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม (ฟืน ถ่าน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร) 8,076 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.0 อย่างไรก็ตามน้ำมันสำเร็จรูปยังคงมีการใช้ในสัดส่วนที่สูงกว่าพลังงานชนิดอื่น ร้อยละ 47.8 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม ถ่านหิน/ลิกไนต์ พลังงานหมุนเวียน และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 18.6 10.7 7.9 7.9 และ 7.1 ตามลำดับ ส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในแต่ละสาขาเศรษฐกิจพบว่าโดยรวมมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นประกอบด้วย การใช้พลังงานในสาขาเกษตรกรรม 3,906 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3.1 สาขาอุตสาหกรรม 27,193 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สาขาบ้านอยู่อาศัย 11,367 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 สาขาธุรกิจการค้า 5,805 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 4.5 และสาขาขนส่ง 26,943 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.2 รองลงมาเป็นการใช้ในสาขาขนส่ง สาขาบ้านอยู่อาศัย สาขาธุรกิจการค้า และสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 35.8 15.1 7.7 และ 5.2 ตามลำดับ มีปริมาณ 78,077 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.6 โดยมีการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนร้อยละ 67.5 ของการผลิตพลังงานทั้งหมด พลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนร้อยละ 12.4 พลังงานหมุนเวียนดั้งเดิมในสัดส่วนร้อยละ 17.6 เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนร้อยละ 2.1 และพลังงานอื่นๆ ร้อยละ 0.4

การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ มีปริมาณ 52,736 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.1 ประกอบด้วย น้ำมันดิบ 7,363 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 1.1 ลิกไนต์ 4,459 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 6.2 ก๊าซธรรมชาติ 36,405 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 คอนเดนเสท 4,509 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สำหรับพลังงานหมุนเวียน (แสงอาทิตย์ ฟืน ถ่าน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะและก๊าซชีวภาพ) 9,709 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 พลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม(ฟืน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร) 13,739 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เชื้อเพลิงชีวภาพ 1,609 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 และพลังงานอื่น ๆ 284 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.9 มีปริมาณ 70,232 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.4 โดยมีการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ ในสัดส่วนร้อยละ 99.8 ของการนำเข้าพลังงานทั้งหมด และพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม ร้อยละ 0.2

การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 70,107 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.3 ประกอบด้วย น้ำมันดิบ 43,322 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ถ่านหิน 10,852 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 6.8 น้ำมันสำเร็จรูป 3,186 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ก๊าซธรรมชาติ 10,470 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 คอนเดนเสท 1,206 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 17.7 ไฟฟ้า 1,071 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม(ฟืน และถ่าน) มีการนำเข้า 125 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 มีปริมาณ 15,493 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.8 โดยเป็นการส่งออกพลังงาน เชิงพาณิชย์ ในสัดส่วนร้อยละ 99.5 ของการส่งออกพลังงานทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิมและเชื้อเพลิงชีวภาพ ร้อยละ 0.5 การส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์มีปริมาณ 15,416 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.9 ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูป 13,694 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 น้ำมันดิบ 1,359 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 36.3 ก๊าซโซลีนธรรมชาติ 247 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ถ่านหิน 7 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 12.5 และไฟฟ้า 109 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 33.1 สำหรับพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม (ถ่าน) 29 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 และเชื้อเพลิงชีวภาพ 48 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงร้อยละ 78.8

ปี2556ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวม8โรงมีกำลังการกลั่นรวมทั้งสิ้น 1,094,500 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ6โรง มีขนาดรวม 2,660 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และโรงแยกก๊าซ ปตท.สผ.สยามซึ่งทำการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลักอีก 1 โรง มีขนาด 120 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยพบว่าในปี 2556 มีการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งประกอบด้วย น้ำมันดีเซล น้ำมันกึ่งสำเร็จรูป น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และน้ำมันก๊าด เป็นสัดส่วนร้อยละ 36.3 24.4 12.1 9.2 9.0 8.2 และ 0.9 ตามลำดับ

การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในปี 2556 พบว่ามีการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติร้อยละ 65.2 ของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมาเป็นถ่านหิน/ลิกไนต์ร้อยละ 22.2 น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลร้อยละ 1.0 ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานหมุนเวียน(แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ ก๊าซชีวภาพ) และพลังงานอื่น ๆ (แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิต) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.6


แท็ก น้ำมันดิบ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ