จากสถานการณ์ราคา
น้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยต้องจัดหา
พลังงานทดแทนเพื่อใช้ทดแทนน้ำมัน ซึ่งภาครัฐมีมาตรการและนโยบายที่สนับสนุนให้มีการใช้
พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้
พลังงานทดแทนที่สามารถผลิตได้จากภายในประเทศ ประกอบด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังน้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ และเชื้อเพลิงชีวภาพ(เอทานอล และไบโอดีเซล)โดยในปี2556 พบว่าการใช้
พลังงานทดแทนทั้งสิ้น 8,232 พันตันเทียบเท่า
น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 12.8 ทั้งนี้มีการใช้ในรูปของไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซล) ในสัดส่วนร้อยละ 10.9 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด การใช้ไฟฟ้า และความร้อน ที่ผลิตได้จาก
พลังงานทดแทน (ประกอบด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังน้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ)มีปริมาณ 1,341 พันตันเทียบเท่า
น้ำมันดิบ และ 5,279 พันตันเทียบเท่า
น้ำมันดิบ ตามลำดับส่วนเชื้อเพลิงชีวภาพมีปริมาณการใช้ประกอบด้วยเอทานอล 707 พันตันเทียบเท่า
น้ำมันดิบและไบโอดีเซล 905 พันตันเทียบเท่า
น้ำมันดิบ
สถานการณ์การอนุรักษ์พลังงาน การที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยได้จัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ.2554 - 2573) มีเป้าหมายที่จะลดความเข้มการใช้พลังงาน(energy intensity)ลงร้อยละ25ในปี2573 จากปี2548 ซึ่งได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินในการดำเนินโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน ตลอดจน การศึกษาวิจัยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การฝึกอบรม ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานได้ส่งผลโดยรวมต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศ โดยดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศ (Energy Intensity) ใน ปี พ.ศ.2556 ลดลงร้อยละ 2.4 จากปี พ.ศ. 2553