สาขาเกษตรกรรม มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.82 โดยมีการใช้พลังงานจากน้ำมันสำเร็จรูปมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 99.3 ของการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรมทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ไฟฟ้า คิดเป็น ร้อยละ 0.7
สาขาอุตสาหกรรม มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.26 สำหรับโครงสร้างการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรมพบว่ามีการใช้พลังงานจากไฟฟ้ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.0 ของการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรมทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ถ่านหินและลิกไนต์ พลังงานหมุนเวียน น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม คิดเป็นร้ร้อยละ 21.6 20.9 15.1 10 .7 และ 5.7 ตามลำดับ
สาขาบ้านอยู่อาศัย มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.39 โดยมีการใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.8 ของการใช้พลังงานในภาคบ้านอยู่อาศัยทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ไฟฟ้า และน้ำมันสำเร็จรูป คิดเป็นร้อยละ 24.7 และ 19.5 ตามลำดับ
สาขาธุรกิจการค้า มีการใช้พลังงานลดลงร้อยละ 3.77โดยมีการใช้พลังงานจากไฟฟ้ามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 77.35 ของการใช้พลังงานในภาคธุรกิจการค้าทั้งหมด รองลงมาได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป พลังงานหมุนเวียน และก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 22.53 0.08 และ 0.04 ตามลำดับ
สาขาขนส่งมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.99 โดยมีการใช้พลังงานจากน้ำมันสำเร็จรูปมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 91.48 ของการใช้พลังงานในภาคขนส่งทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 8.50 และ 0.02 ตามลำดับ
จากการที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศผ่านพระราชบัญญัติติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535ได้ส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานโดยรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(Energy intensity) มีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม(Energy intensity)จำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ พบว่าสาขาขนส่งมีอัตราการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงกว่าสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ รองลงมา ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และธุรกิจการค้า ตามลำดับ