1.การจัดหา
การจัดหาปิโตรเลียม ปี2554 มีทั้งจากแหล่งภายในประเทศและแหล่งต่างประเทศ ดังนี้
1.1แหล่งภายในประเทศ ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากแหล่งภายในประเทศ ประกอบด้วย น้ำมันดิบปี 2554 มีการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น7,975 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย137,426 บาร์เรลต่อวัน ลดลงในอัตราร้อยละ10.2 ทั้งนี้ เป็นการผลิตจากแหล่งบนบก คือ แหล่งสิริกิติ์เป็นสัดส่วนร้อยละ 16.6 หรือ 22,822 บาร์เรลต่อวัน แหล่งฝางสัดส่วนร้อยละ 0.7 หรือ 945 บาร์เรลต่อวัน แหล่งบึงหญ้า แหล่งบึงม่วง แหล่งกำแพงแสน แหล่งอู่ทอง แหล่งวิเชียรบุรี แหล่งศรีเทพ แหล่งสังขจาย แหล่งบึงหญ้าตะวันตก แหล่งบึงม่วงตะวันตก แหล่งบึงหญ้าเหนือ แหล่งนาสนุ่น แหล่งนาสนุ่นตะวันออกและบ่อรังเหนือ แหล่งอรุโณทัย แหล่งบึงกระเทียม แหล่งแอล 53เอ และแหล่งแอล33 รวมกันเป็นสัดส่วนร้อยละ3.6 หรือ 4,926 บาร์เรลต่อวัน และแหล่งใหม่อีก 2 แหล่ง คือ แหล่งหนองผักชีและแหล่งบึงม่วงใต้รวมกันเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 หรือ 120 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ยังผลิตจากบริเวณอ่าวไทยอีกคือ แหล่งเบญจมาศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.3 หรือ 19,671 บาร์เรลต่อวัน แหล่งปลาหมึกเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.1 หรือ 15,304 บาร์เรลต่อวัน แหล่งจัสมินเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.2 หรือ 12,701 บาร์เรล ต่อวัน และจากแหล่งทานตะวัน แหล่งราชพฤกษ์ แหล่งกะพง แหล่ง สุราษฎร์ แหล่งปลาทอง แหล่งยะลา แหล่งมะลิวัลย์ แหล่งจามจุรีเหนือ แหล่งบานเย็น แหล่งบัวหลวง แหล่งสงขลา แหล่งลันตา แหล่งชบา แหล่งยูงทอง และแหล่งกุ้งเหนือ รวมกันเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.3 หรือ 60,923 บาร์เรลต่อวัน และแหล่งใหม่อีก 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งปะการัง และแหล่งปลาทองตะวันตก รวมกันคิดเป็น 14 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติ ปี 2554มีการผลิตก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 1,274,303 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 3,491 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 0.3 ทั้งนี้เป็นการผลิตจากบริเวณอ่าวไทยและแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.1 หรือ 3,355 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากแหล่งบนบกคือ แหล่งสิริกิติ์ แหล่งน้ำพองและแหล่งสินภูฮ่อมอีกร้อยละ 3.9 หรือ 136 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันคอนเดนเสทปี 2554 มีการผลิตคอนเดนเสทรวมทั้งสิ้น 5,344 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 92,088 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตรา ร้อยละ 4.2 ทั้งนี้เป็นการผลิตในบริเวณอ่าวไทยจากแหล่งบงกชมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.3 แหล่งอาทิตย์สัดส่วนร้อยละ 13.4 แหล่งเอราวัณสัดส่วนร้อยละ 11.4 แหล่งไพลินเหนือสัดส่วนร้อยละ 10.8 แหล่งไพริน แหล่งโกมินทร์ แหล่งตราด แหล่งสตูล แหล่งจักรวาลตะวันตก แหล่งสตูลใต้ แหล่งบรรพต แหล่งฟูนาน แหล่งจักรวาล แหล่งอาทิตย์เหนือ และพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซียรวมกันเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.4 และแหล่งใหม่อีก 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งปลาทอง 2 และแหล่งมรกตรวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 ทั้งนี้มีการผลิตจากแหล่งบนบก คือ แหล่งสินภูฮ่อมสัดส่วนร้อยละ 0.4
1.2แหล่งต่างประเทศ น้ามันดิบ การนำเข้าน้ำมันดิบในประเทศปี 2554 รวมทั้งสิ้น 46,090 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 794,226 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตรา ร้อยละ 2.7 สำหรับมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบในปีนี้รวมทั้งสิ้น 976,789 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 29.6 แหล่งนำเข้าน้ำมันดิบที่สำคัญยังคงมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางสัดส่วนร้อยละ 77.5 รองลงมาจากกลุ่มประเทศยุโรปสัดส่วนร้อยละ 8.9 กลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิค กลุ่มประเทศแอฟริกา และอเมริกาใต้อีกสัดส่วน ร้อยละ 8.2 3.6 1.6 และ 0.2 ตามลำดับนอกจากนี้ยังมีการนำเข้าวัตถุดิบ (โปรเพน บิวเทน) ปริมาณ 2,616 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่า 38,902 ล้านบาท เพื่อการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปน้ามันส้าเร็จรูป ปี 2554 การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 462 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 7,961 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2 เท่าตัวกว่า และคิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 10,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน3เท่าตัวกว่าก๊าซธรรมชาติ ปี 2554 มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศสหภาพพม่ารวมทั้งสิ้น 361,471 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย990 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 2.8 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 93,923 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 10.7 ก๊าซธรรมชาติเหลว ปี 2554 มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวรวมทั้งสิ้น 35,683 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 98 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 15,993 ล้านบาท คอนเดนเสท ปี 2554 มีการนำเข้าคอนเดนเสทรวมทั้งสิ้น 2,083 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 35,894 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 43,659 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและสารละลาย
1.3การส่งออก น้ามันดิบ เนื่องจากน้ำมันดิบที่ขุดได้ในประเทศมีคุณภาพไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นในประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องส่งออกน้ำมันดิบ โดยในปี 2554 มีการส่งออกน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น 1,903 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 32,793 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 11.2 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 39,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 50.2 คอนเดนเสท ในปี 2554 ไม่มีการส่งออกคอนเดนเสท เนื่องจากมีการใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น ก๊าซโซลีนธรรมชาติปี 2554 มีการส่งออกก๊าซโซลีนธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 198 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 3,412 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 50.0 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ76.5 น้ามันส้าเร็จรูป ปี 2554 มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 10,495 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 180,851 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 12.3 มูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 230,759 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 15.9
2.การกลั่น
ปี 2554 ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวม 8 โรง มีกำลังการกลั่นรวมกันทั้งสิ้น 1,094,500 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 6 โรง มีขนาดรวม 2,660 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และโรงแยกก๊าซปตท.สผ.สยาม ซึ่งทำการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลักอีก 1 โรง มีขนาด 120 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ปี 2554 โรงกลั่นน้ำมันทั้ง 8 โรง รับน้ำมันดิบและคอนเดนเสทเข้ากลั่นรวมทั้งสิ้น 57,912 ล้านลิตรหรือ 997,943 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.1 โดยเป็นการใช้ปิโตรเลียมภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.1 และน้ำมันดิบจากแหล่งต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.9 ซึ่งสามารถผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้รวมทั้งสิ้น 55,428 ล้านลิตร ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา และน้ำมันก๊าด เป็นสัดส่วนร้อยละ 41.7 21.1 15.0 11.4 10.5 และ 0.3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว มีการกลั่นเพิ่มขึ้นของน้ำมัน คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวและน้ำมันเครื่องบิน ในอัตราร้อยละ 11.2 และ 1.6 ส่วนน้ำมันที่มีการกลั่นลดลงคือ น้ำมันก๊าดลดลงเกือบ 3 เท่า น้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาลดลง ในอัตราร้อยละ 4.8 และ 0.9 ตามลำดับ สำหรับการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซโซลีนธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 5,399 ล้านลิตร และ 984 ล้านลิตรตามลำดับโดยก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ21.6 และก๊าซโซลีนธรรมชาติผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 21.5 นอกจากนี้ยังมีการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวอีกเล็กน้อยจากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 752 ล้านลิตร
3.การใช้
3.1น้ำมันส้าเร็จรูป ปี 2554 มีการใช้น้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 42,045 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 724,522 บาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.9 ดังรายละเอียดคือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ปี 2554 มีการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมทั้งสิ้น 7,936 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 136,754 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 10.3 ทั้งนี้เป็นการใช้สูงสุดในสาขาบ้านอยู่อาศัยและธุรกิจการค้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.9 รองลงมาคือสาขาการขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต และการเกษตรเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.5 16.5 และ 0.1 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.5 และเป็นการใช้ในส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 84.5 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 (รวมน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 95 แก๊สโซฮอล์อี 20 และ อี 85) ปี 2554 มีการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 (รวมน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 95 แก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85) รวมทั้งสิ้น 2,394 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 41,254 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 17.6 ทั้งนี้เป็นการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 รวมทั้งสิ้น 41 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 706 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 46.7 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ออกเทน 95 รวมทั้งสิ้น 2,122 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 36,566 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 21.1 แก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85 รวมทั้งสิ้น 231 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 2,395 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 66.2 สำหรับสัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 (รวมน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 95 แก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85) มีดังนี้คือเป็นการใช้ในสาขาการขนส่งสัดส่วนร้อยละ 99.7 และสาขาอื่น ๆ รวมกันอีกร้อยละ 0.3 โดยเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.9 และ ส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.1 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91(รวมน้ามันแก๊สโซฮอล์อี10ออกเทน 91) ปี 2554 มีการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (รวมน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 91) รวมทั้งสิ้น 4,937 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 85,075 บาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 9.5 ทั้งนี้เป็นการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 รวมทั้งสิ้น 3,077 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 53,023 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 4.1 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 91 รวมทั้งสิ้น 1,860 ล้านลิตรหรือเฉลี่ย 32,052 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 19.8 สำหรับสัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ออกเทน 91 (รวมน้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 91) มีดังนี้คือ เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งสัดส่วนร้อยละ 99.1 และสาขาอื่นๆ รวมกันอีกร้อยละ 0.9 โดยเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.8 และส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.2 น้ำมันเครื่องบิน ปี 2554 มีการใช้น้ำมันเครื่องบินรวมทั้งสิ้น 5,077 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 87,487 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 7.7 เป็นการใช้สำหรับการบินภายในประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.4 และการบินระหว่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ93.6 น้ำมันก๊าด ปี 2554 มีการใช้น้ำมันก๊าดรวมทั้งสิ้น 13 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 224 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 13.3 ทั้งนี้ เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตสัดส่วนร้อยละ71.6 รองลงมาใช้ในสาขาบ้านอยู่อาศัยและธุรกิจการค้าสัดส่วนร้อยละ 26.4 และสาขาอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.0 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (รวมน้ามันปาล์มดีเซลและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี2 บี3 และบี5)ปี 2554 มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (รวมน้ำมันปาล์มดีเซลและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี2 บี3 และบี5) รวมทั้งสิ้น 19,206 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 330,959 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ3.8 สำหรับสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว(รวมน้ำมันปาล์มดีเซลและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 2 และบี 5) มีดังนี้คือ เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.1 รองลงมาใช้ในสาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรมการผลิต และสาขาอื่น ๆ เป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8 6.2 และ 0.9 ตามลำดับ เป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครสัดส่วนร้อยละ 30.2 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ69.8 น้ำมันดีเซลหมุนช้า ปี 2554 ไม่มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนช้าเนื่องจากปริมาณการผลิตมีไม่เพียงพอ น้ำมันเตา ปี 2554 มีการใช้น้ำมันเตารวมทั้งสิ้น 2,482 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 42,770 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 6.2 สำหรับสัดส่วนการใช้มีดังนี้คือ เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งสัดส่วนร้อยละ 44.0 สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสัดส่วนร้อยละ 37.2 สาขาไฟฟ้าสัดส่วนร้อยละ 18.0 และสาขาอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 0.8 เป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 78.2
3.2ก๊าซธรรมชาติ ปี 2554 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 1,051,053 ล้านลูกบาศก์ฟุตหรือเฉลี่ย 2,880 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ10.9 โดยใช้ในการผลิตไฟฟ้า 2,372 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 15.4 ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต 277 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ12.6 ใช้ในสาขาการขนส่ง 231 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเพิ่มขึ้น จากปีก่อนอัตราร้อยละ 27.6 เป็นผลจากมีการนำก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ไปใช้ในยานพาหนะ สำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติใน สาขาอุตสาหกรรมการผลิตมีการใช้ในอุตสาหกรรมอโลหะ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมอื่น ๆ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.8 29.2 15.4 11.0 4.4 4.0 3.3 0.5 และ 0.4 ตามลำดับ