ในปี 2554 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทน 6,501 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 16.3 และคิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย(และหากนับรวมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 12.1 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย)ส่งผลให้มีการลดการนำเข้าพลังงาน คิดเป็นมูลค่า 154,590 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 19.94 ล้านตันโดยพบว่า มีการใช้ในรูปความร้อนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.1 ของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) คิดเป็น ร้อยละ 23.8 11.6 และ 11.5 ตามลำดับโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ไฟฟ้า กำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มีปริมาณรวม 2,157 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 14.7 โดยพบว่ามีกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากชีวมวลมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 82.6 รองลงมาได้แก่ ก๊าซชีวภาพ พลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานแสงอาทิตย์ ขยะ และพลังงานลม คิดเป็นร้อยละ7.3, 4.4, 4.2, 1.2 และ 0.3 ตามลำดับ ความร้อน การใช้ความร้อนที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทนมีปริมาณ 4,529 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 20.3 โดยพบว่า มีการใช้ความร้อนจากชีวมวลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89.3 รองลงมาได้แก่ ก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ และขยะ คิดเป็นร้อยละ 10.6 0.05 และ 0.05 ตามลำดับ
เชื้อเพลิงชีวภาพ(เอทานอล และไบโอดีเซล)มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ 3.3 ล้านลิตรต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.8 โดยพบว่ามีการใช้เอทานอล 1.2 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซล 2.1 ล้านลิตรต่อวัน ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ มีการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ 231 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 27.6 การลงทุนด้านพลังงานทดแทน จากการที่ภาครัฐมีนโยบายผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะส่งผลให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อเนื่องให้ภาคเอกชนมีความสนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานอีกด้วย โดยในปี 2554 พบว่าการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้งจากภาครัฐและเอกชนคิดเป็นมูลค่า 44,936 ล้านบาท