สรุปสถานการณ์พลังงานของประเทศไทยปี 2553

ข่าวทั่วไป Thursday March 31, 2011 09:47 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

ในปี 2553 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มสูงกว่าปีก่อนร้อยละ6.7 ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยพบว่าน้ำมันสำเร็จรูปเป็นเชื้อเพลิงที่มีการใช้มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ46.4 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด รองลงมาได้แก่พลังงานหมุนเวียน ไฟฟ้า ถ่านหิน/ลิกไนต์ และก๊าซธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 18.8 17.9 9.99 และ 7.0 ตามลำดับส่วนการใช้พลังงานจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ พบว่า สาขาอุตสาหกรรม เป็นสาขาที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36.4 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดรองลงมาได้แก่ สาขาขนส่ง บ้านอยู่อาศัย ธุรกิจการค้า และเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 35.2 15.5 7.7 และ5.2 ตามลำดับ

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่ผลิตได้ภายในประเทศ ประกอบด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังน้ำ ก๊าซชีวภาพ ขยะ เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล และไบโอดีเซล)ก๊าซธรรมชาติสำหรับ ยานยนต์ โดยได้จัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 15 ปีเพื่อผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นได้ส่งผลให้การใช้พลังงานทดแทนในรูปไฟฟ้า ความร้อน เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ในปี 2553 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 21.2 คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ10 ของการใช้พลังงานทั้งหมดโดยมีการใช้ในรูปไฟฟ้า ความร้อน เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ร้อยละ 4.3 62.2 11.2 และ 22.3 ตามลำดับนอกจากนี้ การที่ภาครัฐมีนโยบายการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยได้จัดทำแผนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินในการดำเนินโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน ตลอดจน การศึกษา วิจัย การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การฝึกอบรม ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน ได้ส่งผลโดยรวมต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศ โดยตัวชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศ(Energy Intensity)ในปี 2553 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ0.6


แท็ก ว่าน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ