สถานการณ์พลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๓

ข่าวทั่วไป Thursday March 31, 2011 10:59 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

ปี2553 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 และเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ5.3 โดยใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ อันประกอบด้วยน้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และใช้พลังงานหมุนเวียน อันประกอบด้วย ฟืน ถ่าน แกลบ และกากอ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ7.7 ดังมีรายละเอียดสถานการณ์พลังงาน ดังนี้

1.การจัดหาพลังงานของประเทศ

1.1.การผลิตจากแหล่งภายในประเทศปี 2553 มีการผลิตพลังงานจากแหล่งภายในประเทศรวมทั้งสิ้น72,143 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ10.5 เป็นการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ68.8 พลังงานหมุนเวียนและพลังงานอื่นๆ มีสัดส่วนร้อยละ31.2 ของการผลิตพลังงานทั้งหมด

1.1.1พลังงานเชิงพาณิชย์ น้ำมันดิบ ปี 2553 ผลิตรวมทั้งสิ้น 7,641 พันตัน หรือเฉลี่ย 153,104 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.7 เป็นสัดส่วนร้อยละ 15.4 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาตินับเป็นแหล่งพลังงานในประเทศที่สำคัญในปี 2553 ผลิตได้รวมทั้งสิ้น 31,407 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือเฉลี่ย 3,502 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.3 เป็นสัดส่วนร้อยละ 63.3 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศคอนเดนเสทปี 2553 ผลิตได้รวมทั้งสิ้น 4,368 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือเฉลี่ย 96,154 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.6 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.8 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศลิกไนต์ลิกไนต์เป็นพลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทยซึ่งนอกจากใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วยในปี 2553 ผลิตได้รวมทั้งสิ้น 4,966 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือเฉลี่ย 50,258 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.0 เป็นสัดส่วนร้อยละ 10.0 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศพลังน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม พลังน้ำได้ถูกพัฒนานำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2507 และในปี 2553 มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ารวมทั้งสิ้น 1,227 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 และเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.5 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้พลังงานอื่น ๆ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีกเล็กน้อยได้แก่พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานดังกล่าว ในปี 2553 ผลิตได้รวมทั้งสิ้นเทียบเท่าน้ำมันดิบ 4 พันตัน

1.1.2พลังงานหมุนเวียนปี 2553 ได้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนรวมทั้งสิ้น 21,130 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 8.1 ทั้งนี้การผลิตฟืนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.2 ของพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นการผลิตกากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แกลบ และอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.6 14.7 8.2 และ 0.3 ตามลำดับ

1.1.3พลังงานอื่นๆ พลังงานอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิตได้ถูกพัฒนานำมาใช้กับการผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2538 และในปี 2553 มีการใช้แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิตในการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 566 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

1.2.แหล่งต่างประเทศปี 2553 มีการนำเข้าพลังงานรวมทั้งสิ้น 65,113 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ5.2 คิดเป็นมูลค่านำเข้า รวมทั้งสิ้น 957,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.6 โดยเป็นการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์เกือบทั้งหมด ดังมีรายละเอียดดังนี้

1.2.1พลังงานเชิงพาณิชย์ น้ำมันดิบปี 2553 มีการนำเข้าน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น 40,734 พันตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.4 เป็นสัดส่วนร้อยละ 62.6 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 753,648 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.0 ก๊าซธรรมชาติปี 2553 มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 9,135 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.5 ของ การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.6 คิดเป็นมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 84,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.1 นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าโปรเพน บิวเทน ปริมาณ 2,250 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นมูลค่า 38,154 ล้านบาท คอนเดนเสทปี2553 มีการนำเข้าคอนเดนเสทรวมทั้งสิ้น 1,482 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้น 30,391 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมีและสารละลาย

น้ำมันสำเร็จรูป ปี 2553 มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 161 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 62.5 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้น 3,263 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนถึงร้อยละ 51.8 ถ่านหิน ปี 2553 มีการนำเข้าถ่านหินรวมทั้งสิ้น 10,669 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่12 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.9 ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้ถ่านหินนำเข้าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.4 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 39,313 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 6.6 ไฟฟ้าปี 2553 มีการนำเข้าไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 621 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 3 เท่าตัว เป็นสัดส่วน ร้อยละ1.0 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 7,273 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2 เท่าตัว 1.2.2พลังงานหมุนเวียน ปี 2553 มีการนำเข้าพลังงานหมุนเวียนคือ ถ่านไม้และฟืนเพียงเล็กน้อยรวมทั้งสิ้น 61 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.1 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 268 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 11.2

1.3.การส่งออกปี 2553 มีการส่งออกพลังงานรวมทั้งสิ้น 12,097 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.6 ทั้งนี้เป็น การส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์เกือบทั้งหมดโดยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป รวมทั้งสิ้น 10,327 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ1.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.7 ของการส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็น การส่งออกน้ำมันดิบเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.2 ก๊าซโซลีนธรรมชาติเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.9 ไฟฟ้าเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.1 ถ่านหินเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 และพลังงานหมุนเวียนมีการส่งออกถ่านรวมทั้งสิ้น 9 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ส่วนฟืนมีการส่งออกเพียงเล็กน้อย สำหรับมูลค่าการส่งออกพลังงานรวมทั้งสิ้น 232,360 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.6

2.การใช้พลังงาน

การใช้พลังงานในปี 2553 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 70,247 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 5.3 ประกอบด้วย การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์เป็นสัดส่วนร้อยละ 80.9 และที่เหลืออีกร้อยละ 19.1 เป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน คิดเป็นมูลค่าการใช้พลังงาน 1,639,515 ล้านบาทดังมีรายละเอียดดังนี้

2.1จำแนกตามประเภทพลังงาน

2.1.1.พลังงานเชิงพาณิชย์ น้ำมันสำเร็จรูปการใช้น้ำมันสำเร็จรูปยังคงเป็นสัดส่วนที่สูงของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดในปี 2553 มีการใช้รวมทั้งสิ้น 32,096 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.4 เป็นสัดส่วนร้อยละ 56.5 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.6 รองลงมาเป็นการใช้ในสาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาบ้านอยู่อาศัย สาขาธุรกิจการค้า และสาขาการก่อสร้างและเหมืองแร่ เป็นสัดส่วนร้อยละ 10.8 8.1 5.2 3.7 และ 0.6 ตามลำดับสำหรับสัดส่วนน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล (รวมปาล์มดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5) ร้อยละ 49.6 น้ำมันเบนซิน (รวมแก๊สโซฮอล์)ร้อยละ 17.2 ก๊าซปิโตรเลียมเหลวร้อยละ 14.1 น้ำมันเครื่องบินร้อยละ 12.0 น้ำมันเตา ร้อยละ 7.1 และน้ำมันก๊าด ร้อยละ 0.04 ก๊าซธรรมชาติ ปี2553 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 3,769 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือ 427 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.6 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.6 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.6 ที่เหลืออีกร้อยละ 42.4 เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งและสาขาธุรกิจการค้า ถ่านหินปี 2553 มีการใช้ถ่านหินรวมทั้งสิ้น 8,240 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ10.0 เป็นสัดส่วนร้อยละ 14.5 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมด ไฟฟ้าปี2553 มีการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 12,724 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.4 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.4 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.8 รองลงมาเป็นการใช้ในสาขาธุรกิจการค้า สาขาบ้านอยู่อาศัย และสาขาอื่น ๆ อีกเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8 22.3 และ 1.1 ตามลำดับ 2.1.2.พลังงานหมุนเวียน ปี 2553 มีการใช้รวมทั้งสิ้น 13,418 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.7 เป็นสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของการใช้พลังงานทั้งหมดทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ51.8 และที่เหลืออีกร้อยละ 48.2 เป็นการใช้ในสาขาบ้านอยู่อาศัย

2.2.จำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ

สาขาเกษตรกรรม ปี 2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 3,499 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.6 เป็นสัดส่วนร้อยละ5.0 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ99.2 ของพลังงานที่ใช้ในสาขานี้และที่เหลือเป็นการใช้ไฟฟ้าสาขาเหมืองแร่ปี2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 123 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.8 เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ประกอบด้วยไฟฟ้าร้อยละ 84.6 ที่เหลือเป็นการใช้น้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ15.4 ของการใช้พลังงานรวมในสาขานี้สาขาอุตสาหกรรมการผลิตปี 2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 25,281 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็นสัดส่วน ร้อยละ36.0 ของการใช้พลังงานรวม พลังงานที่ใช้ประกอบด้วยถ่านหินเป็นสัดส่วนร้อยละ32.6 ของการใช้พลังงานในสาขานี้ รองลงมาเป็นพลังงานหมุนเวียน พลังงานไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติ เป็นสัดส่วนร้อยละ 27.5 21.0 10.3 และ 8.6 ของการใช้พลังงานในสาขานี้ตามลำดับสาขาก่อสร้างปี2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น167 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.9 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2 ของการใช้พลังงานรวม คือ น้ำมันสำเร็จรูป พลังงานที่ใช้ในสาขานี้สาขาบ้านอยู่อาศัยปี 2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 10,963 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ8.7 เป็นสัดส่วนร้อยละ 15.6 ของการใช้พลังงานรวม พลังงานที่ใช้ประกอบด้วย พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.0 ของการใช้พลังงานในสาขานี้ที่เหลือเป็นไฟฟ้าและน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ 25.9 และ 15.1 ของการใช้พลังงานในสาขานี้ตามลำดับสาขาธุรกิจการค้า(รวมถึงการบริการภาครัฐ และองค์กรไม่แสวงหากำไร)ปี2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น5,620 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.8 เป็นสัดส่วน ร้อยละ 8.0 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ประกอบด้วยไฟฟ้าและน้ำมันสำเร็จรูปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.8 และ 21.2 ตามลำดับสาขาคมนาคมและขนส่งปี 2553 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 24,594 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.9 เป็นสัดส่วน ร้อยละ 35.0 ของการใช้พลังงานรวม พลังงานที่ใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งเกือบทั้งหมดเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล (รวมปาล์มดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5)ร้อยละ 46.8 น้ำมันเบนซิน(รวมแก๊สโซฮอล์)ร้อยละ22.2 น้ำมันเครื่องบินร้อยละ 15.7 น้ำมันเตาร้อยละ 5.6 และก๊าซปิโตรเลียมเหลวร้อยละ 3.2 ของการใช้พลังงานรวมในสาขานี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถโดยสารประจำทางปรับอากาศในเขตกรุงเทพฯและการใช้ไฟฟ้าในการเดินรถไฟฟ้าอีกร้อยละ6.5 3.เชื้อเพลิงชีวภาพในปี 2553 มีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งได้แก่ เอทานอล ถูกนำมาผสมกับน้ำมันเบนซิน(น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 91 และ 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 ออกเทน 95 และแก๊สโซฮอล์อี 85) และไบโอดีเซล ถูกนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล (ดีเซลหมุนเร็วบี 2 ดีเซลหมุนเร็วบี 5 และปาล์มดีเซล)รวมทั้งสิ้น 834 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.5 มีการส่งออกเอทานอลรวมทั้งสิ้น 36 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1,157 ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ