สถานการณ์พลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๒

ข่าวทั่วไป Wednesday March 31, 2010 17:17 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

ปี2552 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่11 และเพิ่มขึ้นจากปี2551 ร้อยละ1.2 โดยใช้พลังงานเชิงพาณิชย์อันประกอบด้วยน้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ1.1 และใช้พลังงานหมุนเวียนอันประกอบด้วย ฟืน ถ่าน แกลบ และกากอ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ1.7 ดังมีรายละเอียดสถานการณ์พลังงานดังนี้

1.การจัดหาพลังงานของประเทศ

1.1.การผลิตจากแหล่งภายในประเทศปี 2552 มีการผลิตพลังงานจากแหล่งภายในประเทศรวมทั้งสิ้น 64,890 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปี2551 ร้อยละ3.5 เป็นการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ68.2 พลังงานหมุนเวียนและพลังงานอื่นๆ มีสัดส่วนร้อยละ31.8 ของการผลิตพลังงานทั้งหมด

1.1.1พลังงานเชิงพาณิชย์น้ำมันดิบปี2552 ผลิตรวมทั้งสิ้น7,585 พันตันหรือเฉลี่ย 151,984 บาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ3.6 เป็นสัดส่วนร้อยละ17.1 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศ

ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาตินับเป็นแหล่งพลังงานในประเทศที่สำคัญในปี2552 ผลิตได้รวมทั้งสิ้น 26,525 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือเฉลี่ย 2,958 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็นสัดส่วนร้อยละ59.9ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศคอนเดนเสทปี2552 ผลิตได้รวมทั้งสิ้น 3,792 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือเฉลี่ย83,493 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ2.8โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ8.6 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศ

ลิกไนต์

ลิกไนต์เป็นพลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทยซึ่งนอกจากใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน อุตสาหกรรมอีกด้วย ในปี 2552 ผลิตได้รวมทั้งสิ้น 4,775 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือเฉลี่ย 48,792 ตันต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ0.7เป็นสัดส่วนร้อยละ10.8 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศ พลังน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม พลังน้ำได้ถูกพัฒนานำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ปี2507 และในปี2552 มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำรวมทั้งสิ้น1,583 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ0.6 และเป็นสัดส่วนร้อยละ3.6 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่งภายในประเทศนอกจากนี้ยังมีการใช้พลังงานอื่นๆ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีกเล็กน้อย ได้แก่ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานดังกล่าวในปี2552ผลิตได้รวมทั้งสิ้นเทียบเท่าน้ำมันดิบ3 พันตัน

1.1.2 พลังงานหมุนเวียนปี 2552ได้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนรวมทั้งสิ้น 19,541 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 1.3 ทั้งนี้การผลิตฟืนเป็นสัดส่วนร้อยละ58.0 ของพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ทั้งหมดส่วนที่เหลือเป็นการผลิตกากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แกลบ และอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ18.5 13.4 9.9 และ0.2 ตามลำดับ

1.1.3 พลังงานอื่น ๆ

พลังงานอื่นๆซึ่งได้แก่ แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิตได้ถูกพัฒนานำมาใช้กับการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ปี2538 และในปี2552 มีการใช้แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิตในการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น304 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

1.2.แหล่งต่างประเทศ ปี 2552 มีการนำเข้าพลังงานรวมทั้งสิ้น 62,006 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.3 คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้น 793,765 ล้านบาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ 30.0โดยเป็นการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์เกือบทั้งหมดดังมีรายละเอียดดังนี้

1.2.1 พลังงานเชิงพาณิชย์ น้ำมันดิบปี2552 มีการนำเข้าน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น40,083 พันตันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.1 เป็นสัดส่วนร้อยละ66.8 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 623,013 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ37.7 นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าวัตถุดิบ(โปรเพน บิวเทน เบนซินพื้นฐาน และดีเซลหมุนเร็วกำมะถันสูง)ปริมาณ 1,279 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นมูลค่า 16,305 ล้านบาทเพื่อการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติปี2552 มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น8,294 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบและเป็นสัดส่วนร้อยละ13.4 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ0.4 คิดเป็นมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 82,333 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.5 คอนเดนเสทปี2552 มีการนำเข้าคอนเดนเสทรวมทั้งสิ้น 1,390 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเป็นสัดส่วนร้อยละ2.3 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้น 24,696 ล้านบาทโดยเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมีและสารละลายน้ำมันสำเร็จรูปปี 2552 มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น429 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ17.9 เป็นสัดส่วนร้อยละ0.7 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่านำเข้ารวมทั้งสิ้น 6,768 ล้านบาทลดลงจากปีก่อนถึงร้อยละ22.6 ถ่านหินปี2552 มีการนำเข้าถ่านหินรวมทั้งสิ้น10,270 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ2.4 ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้ถ่านหินนำเข้าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.5 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 36,880 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ1.1 ไฟฟ้าปี2552 มีการนำเข้าไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น208 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ12.2 เป็นสัดส่วนร้อยละ0.3 ของการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น3,529 ล้านบาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ18.5

1.2.2 พลังงานหมุนเวียนปี 2552 มีการนำเข้าพลังงานหมุนเวียนคือ ถ่านไม้และฟืนเพียงเล็กน้อยรวมทั้งสิ้น53 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ23.3 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 241 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ27.5

1.3.การส่งออกปี2552 มีการส่งออกพลังงานรวมทั้งสิ้น12,547 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ7.1 ทั้งนี้เป็นการส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์เกือบทั้งหมด โดยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 10,140 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ12.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ81.0 ของการส่งออกพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกน้ำมันดิบเป็นสัดส่วนร้อยละ17.1 ก๊าซโซลีนธรรมชาติเป็นสัดส่วนร้อยละ0.7 ไฟฟ้าเป็นสัดส่วนร้อยละ1.1 ถ่านหินเป็นสัดส่วนร้อยละ0.1 และพลังงานหมุนเวียนมีการส่งออกถ่านเพียงอย่างเดียวโดยมีการส่งออกรวมทั้งสิ้น16 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบสำหรับมูลค่าการส่งออกพลังงานรวมทั้งสิ้น 208,174 ล้านบาทลดลงจากปีก่อนร้อยละ27.0

2.การใช้พลังงาน

การใช้พลังงานในปี2552 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น66,698 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปี2551 ร้อยละ1.2 ประกอบด้วยการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์เป็นสัดส่วนร้อยละ81.3 และที่เหลืออีกร้อยละ18.7 เป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นมูลค่าการใช้พลังงาน 1,426,465 ล้านบาท ดังมีรายละเอียดดังนี้

2.1 จำแนกตามประเภทพลังงาน

2.1.1.พลังงานเชิงพาณิชย์ น้ำมันสำเร็จรูปการใช้น้ำมันสำเร็จรูปยังคงเป็นสัดส่วนที่สูงของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดในปี 2552 มีการใช้รวมทั้งสิ้น 31,661 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ1.5 เป็นสัดส่วนร้อยละ58.4 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ72.2รองลงมาเป็นการใช้ในสาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาบ้านอยู่อาศัย สาขาธุรกิจการค้า และสาขาการก่อสร้างและเหมืองแร่ เป็นสัดส่วนร้อยละ 10.9 8.1 5.5 2.7 และ0.6ตามลำดับสำหรับสัดส่วนน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล(รวมปาล์มดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5)ร้อยละ50.2น้ำมันเบนซิน(รวมแก๊สโซฮอล์)ร้อยละ17.7 ก๊าซปิโตรเลียมเหลวร้อยละ12.8น้ำมันเครื่องบินร้อยละ 11.5 น้ำมันเตาร้อยละ7.7 และน้ำมันก๊าดร้อยละ 0.1 ก๊าซธรรมชาติปี2552 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น3,568 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบหรือ404 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.2 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.6 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ64.7 ที่เหลืออีกร้อยละ35.3 เป็นการใช้ในสาขาการขนส่งและสาขาธุรกิจการค้า ถ่านหินปี2552 มีการใช้ถ่านหินรวมทั้งสิ้น 7,493 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็นสัดส่วนร้อยละ 13.8 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมด ไฟฟ้าปี2552 มีการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น11,521 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ0.2 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ21.2ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.1รองลงมาเป็นการใช้ในสาขาธุรกิจการค้า สาขาบ้านอยู่อาศัย และสาขาอื่นๆ อีกเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.3 22.5 และ1.1 ตามลำดับ

2.1.2.พลังงานหมุนเวียนปี2552 มีการใช้รวมทั้งสิ้น12,455 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ1.7เป็นสัดส่วนร้อยละ18.7ของการใช้พลังงานทั้งหมดทั้งนี้เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ53.7 และที่เหลืออีกร้อยละ46.3 เป็นการใช้ในสาขาบ้านอยู่อาศัย

2.2.จำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมปี 2552 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 3,477 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ0.9 เป็นสัดส่วนร้อยละ5.2 ของการใช้พลังงานรวม พลังงานที่ใช้ประกอบด้วยน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ99.2 ของพลังงานที่ใช้ในสาขานี้และที่เหลือเป็นการใช้ไฟฟ้าสาขาเหมืองแร่ปี 2552 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 110 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ9.1เป็นสัดส่วนร้อยละ0.2ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ประกอบด้วยไฟฟ้าร้อยละ81.8ที่เหลือเป็นการใช้น้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ18.2 ของการใช้พลังงานรวมในสาขานี้ สาขาอุตสาหกรรมการผลิตปี2552 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น23,798พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ1.6เป็นสัดส่วนร้อยละ35.7 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ประกอบด้วยถ่านหินเป็นสัดส่วนร้อยละ31.5ของการใช้พลังงานในสาขานี้รองลงมาเป็นพลังงานหมุนเวียน พลังงานไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนร้อยละ28.1 19.9 10.8 และ9.7 ของการใช้พลังงานในสาขานี้ตามลำดับสาขาก่อสร้างปี 2552 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น152 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ44.8 โดยเป็นสัดส่วนร้อยละ0.2 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ในสาขานี้ คือน้ำมันสำเร็จรูป สาขาบ้านอยู่อาศัยปี2552 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 10,089 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ1.3เป็นสัดส่วนร้อยละ15.1 ของการใช้พลังงานรวม พลังงานที่ใช้ประกอบด้วยพลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วนร้อยละ57.1ของการใช้พลังงานในสาขานี้ที่เหลือเป็นไฟฟ้าและน้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ25.7 และ 17.2 ของการใช้พลังงานในสาขานี้ตามลำดับ สาขาธุรกิจการค้า(รวมถึงการบริการภาครัฐ และองค์กรไม่แสวงหากำไร)ปี2552 มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 4,940 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อนร้อยละ2.0เป็นสัดส่วนร้อยละ7.4 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ประกอบด้วยไฟฟ้าและน้ำมันสำเร็จรูปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ82.4 และ17.6ตามลำดับสาขาคมนาคมและขนส่งปี2552มีการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น24,132พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ4.8 เป็นสัดส่วนร้อยละ36.2 ของการใช้พลังงานรวมพลังงานที่ใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งเกือบทั้งหมดเป็นน้ำมันสำเร็จรูปประกอบด้วยน้ำมันดีเซล(รวมปาล์มดีเซลและดีเซลหมุนเร็วบี 5)ร้อยละ47.5น้ำมันเบนซิน(รวมแก๊สโซฮอล์)ร้อยละ23.0น้ำมันเครื่องบินร้อยละ15.0น้ำมันเตาร้อยละ6.1และก๊าซปิโตรเลียมเหลวร้อยละ3.2 ของการใช้พลังงานรวมในสาขานี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถโดยสารประจำทางปรับอากาศในเขตกรุงเทพฯและการใช้ไฟฟ้าในการเดินรถไฟฟ้าอีกร้อยละ 5.2

3.เชื้อเพลิงชีวภาพ

ในปี2552 มีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งได้แก่เอทานอล ถูกนำมาผสมกับน้ำมันเบนซิน(น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี10 ออกเทน91 และ95 น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี20 ออกเทน95 และแก๊สโซฮอล์อี85) และไบโอดีเซล ถูกนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล(ดีเซลหมุนเร็วบี2 ดีเซลหมุนเร็วบี5 และปาล์มดีเซล)รวมทั้งสิ้น798 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ32.6มีการส่งออกเอทานอลรวมทั้งสิ้น12 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบคิดเป็นมูลค่าการส่งออก363ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ