บทวิเคราะห์: "แศรษฐกิจสหรัฐฯ : กระทบเศรษฐกิจไทย"

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 14, 2011 12:03 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบันสหรัฐฯ ในปัจจุบัน

การถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของสหรัฐฯ จจากเดิม AAA เหลือ AA+ เนื่องมาจากปัญหาหนนี้สาธารณะ และการขาดดุลงบประมาณอีกทั้งเงื่อนไขการลดค่าใช้จ่ายที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินที่ยังคงสะสมอยู่ และอาจทำให้เศรษฐกิจตลาดหลักมีความเสี่ยงที่จะกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง ซึ่งเป็นที่น่ากังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ(1) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 1.8 โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยล 2.2) การลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 1.19) การส่งออก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4)

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2 2554 อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือนพฤษภาคม 2554 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวด้วยอัตราร้อยละ 1.8 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และ และ 4 ของปี 2553 ที่ร้อยละ 2.6 และ 3.1 ตามลำดับ โดยปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ถูกปรับแก้ไขลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 2.7 มาอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.2 ในการคาดการณ์ครั้งล่าสุดได้รับการทดแทนจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ และปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 1.19 ,9.2 และ 3.4 ตามลำดับ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)(2) ออกมาประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.25% ต่อไปจนกลางปี 2556 เป็นอย่างน้อย ทำให้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางของสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างมาก ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะธนาคารพาณิชย์ต้องสร้างรายได้จากการกู้ยืมเงินในระยะสั้นในรูปของเงินฝาก เพื่อมาลงทุนในระยะยาว และได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างดังกล่าว หรือที่เรียกว่า spread ซึ่งในปัจจุบันการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่จุดต่ำสุดในประวัติการณ์ที่ 0.25% ได้ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารพาณิชย์ถูกบีบตัวอย่างมาก

หมายเหตุ (1) ที่มา

: สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน. รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ.

ประจำเดือน มิถุนายน 2554

(2) ที่มา

: บริษัทเอเชียพลัส.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ - สหรัฐอเมริกา. วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2554

สถานการณ์การว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม 2011

จำนวนผู้ว่างงาน 13.9 ล้านคน และอัตราการว่างงานร้อยละ 9.1 การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคม

ในกลุ่มแรงงานที่สำคัญมีอัตราการว่างงานสำหรับผู้ชาย(ผู้ใหญ่)ร้อยละ 9.0 , หญิง(ผู้ใหญ่) ร้อยละ 7.9, วัยรุ่น (25.0 เปอร์เซ็นต์), คนผิวขาว (8.1 เปอร์เซ็นต์), คนผิวดำ (15.9 เปอร์เซ็นต์) และละติน (11.3 เปอร์เซ็นต์) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนกรกฎาคม อัตราการว่างงานสำหรับคนเอเชียคือร้อยละ 7.7 ไม่ปรับฤดูกาล และจำนวนผู้ว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมยังไม่ได้ปรับฤดูสามารถดูได้จากกราฟ

การส่งออกของไทยสู่สหรัฐฯ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มูลค่าการส่งออกปี 2554

                                 ไตรมาส 1           ไตรมาส 2         ครึ่งแรกปี 54
          ส่งออกรวม (ล้านบาท)    1,720,375.9        1,741,379.6        3,461,755.5
          อัตราการขยายตัว               17.9               11.6               14.7
          ส่งออก US(ล้านบาท)       161,810.0          167,369.0          329,179.0
          อัตราการขยายตัว               11.5                9.0                9.6

ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มูลค่าส่งออกรวมของไทยในช่วงครึ่งแรกปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.7 ด้วยมูลค่าส่งออก 3,461,755.5 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวให้เห็นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2554 โดยมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ จากที่เคยขยายตัวร้อยละ 11.5 ใในช่วงไตรมาสแรกปี 2554 ชะลอลงมาเหลือแค่ร้อยละ 9.0 ในไตรมาส 2 ปี 2554 ขณะที่นโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐฯ ยังไม่มีความชัดเจนทำให้มีความเป็นไปได้มากว่าการส่งออกของไทยไปทั้งสหรัฐฯ น่าจะชะลอลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี

ผลกระทบวิกฤติสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยนั้นในกรณีเลวร้ายหากสหรัฐฯ ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผลต่อเศรษฐกิจไทยที่จะตามมาอาจมีประเด็นต่างๆ ดังนี้

ผลต่อเศรษฐกิจไทย(3) ในช่วงปีที่สหรัฐฯ ประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมักถูกฉุดให้ชะลอตัวลงแรงหรือหดตัวตามไปด้วย โดยในรอบนี้ แม้ว่าแรงขับเคลื่อนจากจีนและภูมิภาคเอเชีย บวกกับมาตรการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลไทยอาจช่วยประคับประคองให้ GDP ยังขยายตัวเป็นบวกได้ แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 อาจชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจากกรอบคาดการณ์กรณีปกติของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ร้อยละ 4.5 - 5.8 โดยอาจขยายตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงร้อยละ 2

ผลกระทบจากการส่งออก

นอกจากผลกระทบ(4)ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการส่งออกไปยังสหรัฐที่อาจชะลอลงแล้ว ยังต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้น เพราะแม้ปัจจุบันไทยได้กระจายตลาดส่งออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น และพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และ EU คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 20% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ประเทศตลาดเกิดใหม่ของไทยหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐและ EU

คิดเป็นสัดส่วนสูง ซึ่งเศรษฐกิจประเทศตลาดใหม่เหล่านั้นอาจประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงตามสหรัฐฯ และ EU ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องมายังการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

ผลต่อธุรกิจส่งออกของไทย แม้ปัจจุบันพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ของการส่งออกโดยรวม น้อยกว่ากลุ่มอาเซียน จีนและญี่ปุ่น แต่เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าอันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ มีการนำเข้าสินค้าจากภูมิภาคเอเชียถึงร้อยละ 32 ของการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ ซึ่งสะท้อนได้ถึงความสำคัญของสหรัฐฯ ต่อห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคเอเชีย(เทียบกับกรณีสหภาพยุโรปที่นำเข้าจากเอเชียเพียงประมาณร้อยละ 13 ของการนำเข้าทั้งหมดของกลุ่ม)

หมายเหตุ (3)ที่มา

: ศูนย์วิจัยกสิกร.

S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ...ผลต่อเศรษฐกิจไทย. ฉบับที่ 2260 วันที่ 8 สิงหาคม 2554

(4) ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. จับตาวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ อาจกระทบส่งออกไทยครึ่งหลังปี : '54

ผลจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

จากภาวะที่ตลาดวิตกกังวล(5)ต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก ใน ช่วงแรกอาจทำให้นักลงทุนหันมาถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าค่าเงินดอลลาร์ฯ เองก็อยู่ภายใต้แรงกดดัน จากปัญหาในภาคการคลังและอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว หากเศรษฐกิจสหรัฐ มีปัญหา โอกาสที่ ทางการสหรัฐ จะบรรลุเป้าหมายในการตัดลดหนี้สาธารณะก็เป็นไปได้ยากลำบากมากขึ้น

ปัญหาหนี้สาธารณะยังส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินตราของประเทศเหล่านี้ลดลง ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มลดสัดส่วนของเงินสกุลดอลลาร์ฯและยูโรในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลง เช่นเดียวกับนักลงทุนที่หันไปถือสินทรัพย์อื่นแทนสกุลเงินดังกล่าว รวมทั้งย้ายเงินลงทุนเข้ามาในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชีย ทำให้เงินสกุลดอลลาร์ฯและยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทและเงินสกุลท้องถิ่นของเอเชีย การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐและยุโรปจึงมีปัญหามากขึ้น

หมายเหตุ (5)ที่มา

: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 8 สิงหาคม 2554

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กลุ่มสินค้าที่มีโอกาส ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เป็นต้น สำหรับสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้ง ไก่ และผลไม้กระป๋องและแปรรูปนั้น แม้พึ่งพาตลาด 2 กลุ่มนี้สูง แต่เป็นสินค้าจำเป็นต่อการบริโภค ผลกระทบจึงน่าจะรุนแรง น้อยกว่า

กลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบค่อนข้างมากรองลงมา ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ คอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีโอกาสได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เช่น สินค้าเกษตร รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น

ฉะนั้น ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เศรษฐกิจโลกมีความ ไม่แน่นอนสูง ทิศทางความผันผวนของค่าเงินอาจมีผลทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคส่งออกต้องใช้ความระมัดระวังในการบริหารจัดการธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น

ผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายการลงทุน

ด้านการลงทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังเอเชียโดยส่วนใหญ่อาจไม่ใช่การย้ายฐานการผลิตหรือการลงทุนโดยตรง แต่เป็นการลงทุนเพื่อเก็งกำไรหรือแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะสั้น เนื่องจากทางการของประเทศในเอเชียมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อกระแสการลงทุนดังกล่าวนอกจากจะทำให้ค่าเงินบาทแล้ว อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงินเพิ่มสูงขึ้น

การบริหารเศรษฐกิจ

การบริหารเศรษฐกิจในสถานการณ์เช่นนี้มีความสำคัญมาก โดยทิศทางนโยบายเศรษฐกิจควรหันมาเน้นการส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออกในปีที่ผ่านมาได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป แต่ปัญหาหนี้สาธารณะจะทำให้รัฐบาลสหรัฐมีความจำกัดมากขึ้นในการอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่และธนาคารแห่งประเทศไทยควรประสานนโยบายการเงินและการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วย

ขณะเดียวกัน สถานการณ์เช่นนี้มีความเหมาะสมสำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับการผลิตให้มีผลิตภาพสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มมากขึ้น และมีนวัตกรรมมากขึ้น (สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ต้องการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) โดยการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจากต่างประเทศ การสนับสนุนการนำเข้าเทคโนโลยี เครื่องจักรและบุคลากรระดับสูงจากต่างประเทศ และย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ

ไม่เพียงแต่แรงกดดันจากความคาดหวังของประชาชนที่จับจ้องการดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้เท่านั้น รัฐบาลใหม่ยังต้องเผชิญแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงด้วย การจัดการเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันจึงมีความสำคัญและต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรหวังผลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย

ขณะที่รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย จะฉุดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเมินว่าถ้าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวต่ำกว่า 1% อาจส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2555 มีอัตราการขยายตัวชะลอต่ำกว่า 5% จากกรอบคาดการณ์กรณีปกติจะอยู่ที่ 12-17% โดยธุรกิจส่งออกของไทยที่ได้รับผลกระทบมากจะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความจำเป็นน้อย สินค้าขั้นกลางที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตต่อและสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ