ปัจจุบันผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากสุกรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในหลายรูปแบบ และพยายามสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าของตนเองให้เกิดความแปลกใหม่พร้อมทั้งเพิ่มเป็นช่องทางให้แก่ผู้บริโภค กลุ่มอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารจากสุกรในจังหวัดนครราชสีมา มีการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เช่น หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น โดยประกอบด้วยธุรกิจหลักตั้งแต่ต้นน้ำจนกระทั่งถึงปลายน้ำ ซึ่งปลายน้ำ ได้แก่ ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มเดียวกันกับกลางน้ำ มีจำนวนสมาชิกอยู่ 23 ราย ตั้งอยู่ในเขตอ.ปากช่อง อ.เมือง อ.โนนสูง และ อ.ด่านขุนทด
ดังนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากสุกรซึ่งได้รับการส่งเสริมจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ตั้งแต่ปี 2550 ได้ทำโครงการนำร่อง เพื่อพัฒนาการผลิตกุนเชียงไขมันต่ำ
ซึ่งการแปรรูปผลิตภัณฑ์กุนเชียงเพื่อบริโภคในประเทศไทยได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีรสชาติที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งปริมาณไขมันที่พบในกุนเชียงมีมากกว่า 30%และมีความชื้นสูง ทำให้กุนเชียงอาจจะเกิดกลิ่นหืนและการเสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ได้ง่าย เป็นสาเหตุให้มีอายุการเก็บสั้น และยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease, CVD) และโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ(Coronary heart disease, CHD) ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ส่งผลให้อาหารพลังงานต่ำได้รับความนิยมตามไปด้วย ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีการศึกษาถึงการลดปริมาณไขมัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ลดไขมัน มักมีกลิ่นรส และลักษณะเนื้อสัมผัสด้อยกว่าผลิตภัณฑ์ปกติ (ไขมันสูง) ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากไขมันมีบทบาทต่อกลิ่นรส เนื้อสัมผัสและการยอมรับโดยรวมของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามการลดปริมาณไขมัน เพื่อให้มีผลต่อลักษณะทางประสาทสัมผัสน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์กุนเชียงไขมันต่ำ จึงได้ทำการศึกษาชนิดและปริมาณที่เหมาะสมของสารทดแทนไขมันในผลิตภัณฑ์กุนเชียงไขมันให้มีปริมาณไขมันต่ำ รวมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน คุณภาพดี มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น เพื่อให้ธุรกิจดำเนินอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตกุนเชียงไขมันต่ำ คือ เพื่อผลิตกุนเชียงโดยใช้สารทดแทนไขมันให้มีปริมาณไขมันต่ำกว่าปริมาณไขมันในกุนเชียงที่จำหน่ายในท้องตลาด มีสัดส่วนของสารทดแทนไขมันที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและเพื่อยืดอายุการเก็บของกุนเชียงไขมันต่ำ
1. ตัดแต่งเนื้อหมูเอาเฉพาะเนื้อแดง โดยแยกมันออกจากเนื้อแล้วนำเข้าเครื่องบด
2. หั่นมันหมูและเจลให้เป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ
3. นำเนื้อหมูผสมกับมันหมูและเจลที่เตรียมไว้ให้เข้ากัน
4. เติมเครื่องปรุงแล้วผสมให้เข้ากัน
5. นำมาบรรจุใส่ยัดไส้ อัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออก
6. นำเข้าตู้อบ ประมาณ 2 วัน ที่อุณหภูมิ 60 C
Cluster Info
คลัสเตอร์แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากสุกร จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6
โทร. 0-4441-9622
โทรสาร 0-4441-9622
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--