เมื่อเราได้ไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในตอนกลับบ้าน คือการเลือกซื้อของฝากของที่ระลึกให้คนที่เรารัก ซึ่งของฝากของที่ระลึกจะมีความหมายต่อผู้รับและผู้ให้ โดยในแต่ละจังหวัดของฝากของที่ระลึกจะมีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องเลือกซื้อของฝากของที่ระลึกอย่างพิถีพิถัน ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการของฝากของที่ระลึก จังหวัดเลย ได้มีการให้ความสำคัญกับของฝากของที่ระลึกอย่างมาก พร้อมทั้งมีการพัฒนาในการผลิตของฝากของที่ระลึกในหลายๆ ด้าน และมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจพร้อมทั้งมีความเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์
1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary packaging)หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มตัวสินค้า เพื่อป้องกันรักษาไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย หรือเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานตัวอย่างเช่น หลอดยาสีฟัน
2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary packaging)หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ช่วยในการขายสินค้าโดยการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน
3. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและขนส่งสินค้าตัวอย่างเช่น ลัง ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
1. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัยจากการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ความ ประหยัด ความมีประสิทธิภาพ ในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การวางจำหน่าย และการอุปโภค ซึ่งทั้งนี้การออกแบบต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเป็นหลักใหญ่
2. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยใช้ความรู้ทางแขนงศิลปะ เข้ามาสร้างคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
- ความมีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์
- ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถสร้างความทรงจำหรือทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และบริษัทผู้ผลิต
- ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อุปโภคตลอดจนให้เข้าใจถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
- ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคตลอดจนให้เข้าใจถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
1.1 กำหนดเวลา
1.2 ผลงานที่จะได้รับในแต่ละขั้นทำงาน
1.3 รายละเอียดของตราสินค้า (Branding)
1.4 ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนที่ 2 : การรวบรวมข้อมูล
2.1 ข้อมูลการตลาด
2.2 สถานะการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด(SWOT: Strength, Weakness, Opportunity , Treat)
2.3 ข้อมูลจากจุดขาย
2.4 ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย / พฤติกรรมผู้บริโภค
2.5 เทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ ระบบบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักร ขั้นตอนที่ 3 : การออกแบบร่าง
3.1 พัฒนาความคิดริเริ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.2 ร่างต้นแบบ ประมาณ 3-5 แบบ
3.3 ทำต้นแบบ ประมาณ 2-3 แบบ ขั้นตอนที่ 4 : การประชุมวิเคราะห์ปรับต้นแบบ
4.1 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
4.2 วิเคราะห์การสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
4.3 เลือกต้นแบบที่ยอมรับได้ ขั้นตอนที่ 5 : การทำแบบเหมือนร่าง
5.1 เลือกวัสดุที่จะทำแบบ
5.2 ออกแบบกราฟฟิกเหมือนจริง พร้อมตราสินค้าและสัญลักษณ์ทางการค้า
5.3 ขึ้นแบบ ขั้นตอนที่ 6 : การบริหารการออกแบบ เริ่มจากการติดต่อโรงงานผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์จนถึงการควบคุมงานผลิตให้ได้ตามแบบที่ต้องการ พร้อมทั้งจัดเตรียมรายละเอียดการสั่งซื้อ (Specification) เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสามารถผลิตได้ตามต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการติดตามผลของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไปแล้วว่าสามารถสนองตามจุดมุ่งหมายของการออกแบบและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรเพียงใด
การใช้สีเพื่อการออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์
การใช้สีตกแต่งผิวด้านนอกของภาชนะ เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม และช่วยให้การดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เกิดความสะดุดตา บ่งบอกถึงความหมายและประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ การกำหนดความหมายจากสีจากความรู้สึกและกำหนดจากมาตรฐานสากลใช้ช่วยบอกถึงลักษณะการใช้งานตามประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ นอกเหนือจากการใช้สีเพื่อตกแต่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผู้ออกแบบและความนิยมของสภาวะตลาดในปัจจุบัน ความหมายของสี
สี หมายถึง ลักษณะความเข้มของแสงสว่างที่ปรากฏต่อสายตา
- อิทธิพลของสีที่มีต่อความรู้สึกของมนุษย์
สีเขียว ให้ความรู้สึกสบาย เป็นสีแห่งพลังวังชา
สีส้ม ให้ความสนุกสนานร่าเริง
สีม่วง ให้ความผิดหวัง เศร้า และแสดงความภักดี
สีขาว ให้ความบริสุทธิ์ ใหม่ สดใส และให้ความรู้สึกว้าเหว่ สีจะช่วยให้ทัศนวิสัยที่ดีเมื่อนำมาใช้งานดังนี้
- สีอ่อนตัดกับสีแก่ - สีสดใสตัดกับสีสดใส
- สีอ่อนตัดกับสีสดใส - สีอุ่นตัดกับสีเย็น
- สีดำบนพื้นเหลือง - สีเหลืองบนพื้นดำ
- สีแดงบนพื้นขาว - สีเหลืองบนพื้นน้ำเงิน
- สีส้มบนพื้นน้ำตาล - สีชมพูบนพื้นดำ
- สีอ่อน (Light Value) ทำให้ผลิตภัณฑ์แลดูใหญ่ขึ้น
- สีเข้ม (Dark Value) ทำให้ผลิตภัณฑ์แลดูเล็กลงทางด้านน้ำหนัก
- สีอ่อนหรือสีร้อน (Worm Value) ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูเบา
- สีเข้มหรือสีเย็น (Cool Value) ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูหนักทางด้านความแข็งแรง
- สีร้อน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าแข็งแรงมาก
- สีเย็น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าบอบบางกว่า
องค์ประกอบที่สำคัญในการเลือกใช้สีที่ควรคำนึงถึงสำหรับการตกแต่งหีบห่อบรรจุ คือ
1. สีต่างๆ ที่ใช้บนเนื้อที่ของหีบห่อบรรจุควรติดต่อกันอย่างได้เรื่องราวทั้งหมดไม่ขัดกัน
2. ขอบเขตของสีที่ใช้บนหีบห่อบรรจุ แต่ละสีควรจะประกอบกันแล้วเข้าใจกันได้ หรือเป็นสีคู่กันได้
3. สีที่ใช้ควรเป็นสีที่ยอมรับของผู้บริโภคในตลาด ถูกต้องตามรสนิยมของผู้บริโภค
4. ขอบเขตของสิ่งที่จะทำให้หีบห่อบรรจุ ขัดแย้งหรือไม่เด่น เมื่อเปรียบเทียบกับหีบห่อ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน
5. การใช้สีต้องดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคที่สุด ในกรณีที่จำหน่ายในสถานที่ต่างๆ กัน เช่น ร้านบริการเอง Supermarket ตู้แช่ หรืออื่นๆ
6. การใช้สีที่ให้ความดึงดูดสูงสุด ภายใต้แสงสว่างมากๆ ซึ่งเป็นสภาวะปกติในร้านค้า
7. การใช้สีที่เหมาะกับค่านิยมของผู้บริโภค โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเภทของผลิตภัณฑ์
8. ขอบเขตของสีที่สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจในตราสินค้า และขอบเขต การใช้สีนี้ซ้ำๆ กันในการจัดจำหน่ายและการ โฆษณา
9. ขอบเขตของสีที่ใช้บนหีบห่อบรรจุที่เข้ากันได้กับสีของสินค้าและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อให้เกิดความประทับใจขึ้นมาก
10. ขอบเขตของสีที่มีผลต่อราคาของหีบห่อบรรจุ
11. การยอมรับของหีบห่อบรรจุต่อผู้บริโภคและผู้ขายปลีก
12. ขอบเขตของหีบห่อบรรจุที่อาจจะก้าวร้าวและข่มบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายที่เด่นๆ อาจจะดูแล้วน่าเบื่อ ทำให้ส่งเสริมบรรจุ ภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์คู่แข่ง
- สะดวกในการนำไปใช้ และเก็บรักษา
- ช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า
- มีความสวยงาม โดดเด่น
- สอดคล้องกับตำแหน่งของผลิตภัณฑ์
- ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
คลัสเตอร์ของฝากของที่ระลึก จังหวัดเลย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี
โทร. 0-4220-7232 โทรสาร 0-4220-7241
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--