ในพิธีกรรมต่างๆ ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนไทย กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ จึงเป็นเทคนิคและ ความสามารถของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม ซึ่งผู้ทอสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ ถึงแม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงามแสดงถึงภูมิปัญญาและความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดีผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลักในการเป็นผู้ผลักดันการ พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ และพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม โดยคัดเลือกจังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนา ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจากยุทธศาสตร์ภาคการส่งเสริมสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านผลิตภาพ (Productivity) ของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยสร้างปัจจัยสนับสนุนและสภาพแวดล้อม (Enabling Factors) และพัฒนาการบริหารเพื่อให้เกิดเครือข่าย
คลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สร้างการเชื่อมโยง การผลิต การค้า และ Logistic ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็น ตัวอย่างในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรวมทั้งเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในด้านการตลาดและการผลิต รวมถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตอบสนองตรงตามความต้องการของตลาด โดยมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ดังนี้
การตกแต่งผ้าให้ต้านแบคทีเรีย โดยใช้สารยึดติด อีโวท๊อป A-30 จำนวน 60 กรัมต่อลิตร และสารต้านแบคทีเรีย ชื่อ ซิงค์อ๊อกไซค์ จำนวนปริมาณ 150 กรัม ต่อลิตร
ขั้นตอนในการทำ
1. ผสมสารยึดติด ปริมาณน้ำ 60 กรัม/ลิตร จุ่มผ้าในสารละลาย รีดน้ำออก ทำให้แห้ง
2. ผสมซิงค์อ๊อกไซค์ ปริมาณ 150 กรัม/ลิตร จุ่มผ้าในสารละลาย รีดน้ำออก ทำให้แห้ง
การตกแต่งสะท้อนน้ำ (Water Repellent Finishing) โดยใช้ส่วนประกอบ ดังนี้ เคมีกันน้ำเอนยูวีเอ 1541 (Nuva 1541) เครื่องบีบอัดสารเคมี เครื่องชั่งสารเคมี เครื่องอบแห้ง กรดแอซีติก เครื่องวัดค่าพีเอช หรือ กระดาษวัดพีเอช
ขั้นตอนในการทำ
1. ตัดผ้าฝ้ายขนาด ชิ้น เอ 4
2. ชั่งเคมีกันน้ำเอนยูวีเอ NUVA 1541 มาจำนวน 20 กรัม ละลายในน้ำ 1 ลิตร(ถ้าเตรียมเคมีมากกว่า 1 ลิตร ให้ชั่งสารเคมีเพิ่ม ตามสัดส่วนที่ใช้) แล้วทำการปรับค่าพีเอชด้วยกรดแอซีติก ให้ได้ 4.5 โดยประมาณ
3. นำผ้าฝ้ายที่เตรียมไว้จุ่มลงในสารเคมีกันน้ำ แล้วนำเข้าเครื่องบีบอัด
4. นำผ้าที่ผ่านการบีบอีดสารเคมีแล้วเข้าเครื่องอบแห้ง ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 นาทีนำผ้าออกจากเครื่องอบแห้ง รอให้ผ้าหายร้อน หรือใช้เตารีดรีดที่อุณหภูมิ 150-170 องศาเซลเซียลจนแห้ง และทดสอบการหยดน้ำ
วิธีการทดสอบ
ทดสอบโดยการหยดน้ำลงบนผืนผ้า โดยน้ำที่หยดลงบนผ้าจะมีลักษณะคล้ายน้ำกลิ้งบนใบบัว
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเคมีกันน้ำและกรดแอซีติกโดยตรง ถ้าโดนสารเคมีให้รีบล้างออกด้วยน้ำเปล่าทันที
การตกแต่งสำเร็จหน่วงไฟ (Flame Retardant Finishing)โดยใช้ส่วนประกอบดังนี้ ผ้าฝ้ายหรือเสื้อผ้าที่เตรียมไปทำการทดลอง ขนาด ชิ้น เอ 4 เคมีต้านการลามไฟ (Pekoflame.OP) เครื่องบีบอัดสารเคมี / ใช้ไม้กลมๆ แทนได้ เครื่องชั่งสารเคมี เครื่องอบแห้ง / ใช้เตารีด รีดหรือการแขวนตากแห้งแทนได้ กรดแอซีติก เครื่องวัดค่าพีเอช หรือกระดาษวัดพีเอช
ขั้นตอนในการทำ
1. ตัดผ้าฝ้ายหรือเสื้อผ้าที่เตรียมไปทำการทดลองขนาด ชิ้น เอ 4
2.ชั่งเคมีต้านการลามไฟ (Pekoflame.OP) มาจำนวน 120 กรัมละลายในน้ำ 1 ลิตร (ถ้าเตรียมเคมีมากกว่า 1 ลิตร ให้ชั่งสารเคมีเพิ่มตามสัดส่วนที่ใช้) แล้วทำการปรับค่าพีเอชด้วยกรดแอซีติกให้ได้ 4.5 โดยประมาณ
3. นำผ้าฝ้ายที่เตรียมไว้จุ่มลงในสารเคมีต้านการลามไฟ แล้วนำเข้าเครื่องบีบอัดหรือรีดด้วยไม้กลมหรือบิดหมาดๆ
4. นำผ้าที่ผ่านการบีบอัดสารเคมีแล้วเข้าเครื่องอบแห้งหรือรีดด้วยเตารีด ที่อุณหภูมิ 120-130 องศาเซลเซียสจนแห้ง รอให้ผ้าหาย ร้อน และทดสอบการจุดไฟเผา
วิธีการทดสอบ
ทดสอบโดยการจุดไฟเผาผืนผ้า โดยแขวนผ้าในแนวตั้งฉาก 90องศา แล้วจุดไฟใต้ผ้าให้เปลวไฟอยู่ปลายผ้า ผ้าที่ต้านการลามไฟจะมี ลักษณะของผ้าที่โดยเปลวไฟเผาแล้วจะต้องไม่ติดไฟ หรือติดไฟเล็กน้อยแล้วดับ แต่จะไม่ลามไฟเมื่อเทียบกับผ้าที่ไม่ตกแต่งสำเร็จ
คลัสเตอร์ Activities
ผ้าทอพื้นเมือง จังหวัดอุดรธานี ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี
โทร. 0-4220-7232
โทรสาร 0-4220-7241
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--