“คราม” ไม้พุ่มเล็กๆ สีเขียวสดใสแต่สร้างสีมหัศจรรย์ให้กับโลกใบนี้ The king of dye คือฉายาของสีคราม ที่มนุษย์รู้จักมานานกว่า6,000 ปี“คราม” พรรณพืชเขตร้อนพบมากในทวีปอาฟริกาและเอเชีย แต่เนื่องจากความยุ่งยากในการสกัดครามและย้อม ทำให้ความนิยมลดลง ประกอบกับโลกมีวิวัฒนาการใช้สีสังเคราะห์ได้ในประเทศเยอรมนีผลิตสีสังเคราะห์ที่ใช้งานง่ายขึ้นและเก็บไว้ได้นานกว่า มีสีสันที่ย้อมแล้วสีไม่เพี้ยน ดังนั้นสีสังเคราะห์จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จนการใช้สีครามลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 ของทั่วโลกในปี 2457ต่อมาราวปี 2535 ประเทศไทยพบปัญหามลภาวะ ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคม ทำให้เกิดกระแสความต้องการหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เคยมีดั้งเดิม ในขณะที่วัตถุดิบและองค์ความรู้ในเรื่องเหล่านี้ขาดการสืบทอดแล้วเกือบ 50 ปี เป็นที่น่าเสียดายภูมิปัญญาแต่โบราณของประเทศไทย หลายๆ อย่างได้ลดความน่าเชื่อถือลง“มันไปยังกะหม้อนิล” เป็นคำเปรียบเปรยที่พ่อแม่ในชนบทเมื่อ 50 - 60 ปีที่แล้ว พูดถึงลูกชายวัยรุ่นที่ออกจากบ้านไปหาประสบการณ์ชีวิต โดยไม่รู้ว่าไปไหนและจะกลับเมื่อไร ทั้งนี้เพราะหม้อนิล หรือหม้อน้ำย้อมครามนั้น บางวันย้อมติด บางวันย้อมไม่ติด (มันลักหนี)
นี่คือ...เสน่ห์ที่ชวนให้นักเคมีตามดูสีครามและคนย้อมครามมีคำถามตั้งแต่เริ่มแรก“ใบไม้เล็กๆ สีเขียวๆ ให้สีน้ำเงินได้อย่างไร”และ“สีครามมีกลไกการหลอกหลอนคนย้อมครามกันอย่างไร”
(จากรายงานการวิจัยผศ.อนุรัตน์ สายทองมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)การย้อมครามดูจะเป็นมรดกทางปัญญาที่ชนเผ่าภูไท มีความชำนาญมากกว่าชนเผ่าอื่น และที่สำคัญชนเผ่าภูไทส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางส่วนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการย้อมคราม ก็คือบริเวณจังหวัดสกลนคร และดูเหมือนร้านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ ร้านแม่ฑีตา ร้านนี้เขาส่งขายทั้งในและต่างประเทศ และยังมี
บ้านดอนกรอย อ.พันนา จ.สกลนคร รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เช่น มุกดาหาร นครพนม ความจริงก็กระจายไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้เขียนเคยข้ามไปที่แขวงสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เห็นโรงงานที่ย้อมครามขาย ซึ่งโรงงานของเขาไม่ได้ขายแค่ในประเทศเท่านั้น ลูกค้าของเขาก็คือประเทศแถบสแกนนิเวียเยอรมนี ญี่ปุ่น และเท่าที่ได้คุยกับมาดามเจ้าของร้านเธอบอกว่า พันธุ์ครามของลาวกับไทยนั้นไม่เหมือนกันผมเลยไม่ขอเปรียบเทียบด้านคุณภาพ ความสวยงามว่าของใครจะดีกว่ากัน...หากเราลองเลือกใช้สินค้าเองก็จะทราบครับผมเคย
ได้ยินจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่งในภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ได้พูดถึงคุณสมบัติของครามที่นำมาย้อมผ้าว่า ชาวญี่ปุ่นจะชอบดมกลิ่นของครามจากเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่เพราะ จะช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง บ้างก็ว่าถ้าได้นอนหนุนหมอนที่ย้อมด้วยครามจะทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาจะสดชื่นสดใสเขียนมามากพอสมควรแล้วก็อยากชวนท่านที่มีโอกาสผ่านไปจังหวัดสกลนคร ลองแวะเข้าไปชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ที่นั่น..พวกเราทำการศึกษาวิจัยเรื่องย้อมคราม และเรากำลังส่งเสริมการย้อมอยู่ถ้ามีโอกาสก็เชิญครับ เรามาช่วยกันสวมใส่เสื้อผ้าครามกันดีกว่า จะได้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใหดีขึ้นคราวหน้าผมจะเขียนถึงขั้นตอนกระบวนการย้อมครามว่าทำเช่นไรบ้าง อย่าพลาดนะครับ....สวัสดี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
นี่คือ...เสน่ห์ที่ชวนให้นักเคมีตามดูสีครามและคนย้อมครามมีคำถามตั้งแต่เริ่มแรก“ใบไม้เล็กๆ สีเขียวๆ ให้สีน้ำเงินได้อย่างไร”และ“สีครามมีกลไกการหลอกหลอนคนย้อมครามกันอย่างไร”
(จากรายงานการวิจัยผศ.อนุรัตน์ สายทองมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)การย้อมครามดูจะเป็นมรดกทางปัญญาที่ชนเผ่าภูไท มีความชำนาญมากกว่าชนเผ่าอื่น และที่สำคัญชนเผ่าภูไทส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางส่วนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการย้อมคราม ก็คือบริเวณจังหวัดสกลนคร และดูเหมือนร้านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ ร้านแม่ฑีตา ร้านนี้เขาส่งขายทั้งในและต่างประเทศ และยังมี
บ้านดอนกรอย อ.พันนา จ.สกลนคร รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เช่น มุกดาหาร นครพนม ความจริงก็กระจายไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้เขียนเคยข้ามไปที่แขวงสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เห็นโรงงานที่ย้อมครามขาย ซึ่งโรงงานของเขาไม่ได้ขายแค่ในประเทศเท่านั้น ลูกค้าของเขาก็คือประเทศแถบสแกนนิเวียเยอรมนี ญี่ปุ่น และเท่าที่ได้คุยกับมาดามเจ้าของร้านเธอบอกว่า พันธุ์ครามของลาวกับไทยนั้นไม่เหมือนกันผมเลยไม่ขอเปรียบเทียบด้านคุณภาพ ความสวยงามว่าของใครจะดีกว่ากัน...หากเราลองเลือกใช้สินค้าเองก็จะทราบครับผมเคย
ได้ยินจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่งในภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ได้พูดถึงคุณสมบัติของครามที่นำมาย้อมผ้าว่า ชาวญี่ปุ่นจะชอบดมกลิ่นของครามจากเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่เพราะ จะช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง บ้างก็ว่าถ้าได้นอนหนุนหมอนที่ย้อมด้วยครามจะทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาจะสดชื่นสดใสเขียนมามากพอสมควรแล้วก็อยากชวนท่านที่มีโอกาสผ่านไปจังหวัดสกลนคร ลองแวะเข้าไปชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ที่นั่น..พวกเราทำการศึกษาวิจัยเรื่องย้อมคราม และเรากำลังส่งเสริมการย้อมอยู่ถ้ามีโอกาสก็เชิญครับ เรามาช่วยกันสวมใส่เสื้อผ้าครามกันดีกว่า จะได้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใหดีขึ้นคราวหน้าผมจะเขียนถึงขั้นตอนกระบวนการย้อมครามว่าทำเช่นไรบ้าง อย่าพลาดนะครับ....สวัสดี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-