งานวิจัยเรื่อง "การดำเนินมาตรการสนับสนุน SMEs ของต่างประเทศ (กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และอิตาลี"
หน่วยงานวิจัยที่ได้รับคัดเลือกให้ศึกษาคือ มูลนิธิสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนา SMEs โดยศึกษาเจาะลึกถึงตัวบทกฎหมาย หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และโครงข่ายหน่วยงานที่นำนโยบายและมาตรการไปสู่ผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะมาตรการที่ยังค่อนข้างใหม่ สำหรับประเทศไทย
ผลการศึกษา การพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่น
นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเป็นแบบ Pick up Winners ซึ่งรัฐบาลมีบทบาทสูงในลักษณะ Active State แนวนโยบายการพัฒนา SMEs จะให้ความช่วยเหลือ SMEs ทุกด้าน และเน้นที่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีนโยบายในการพัฒนา SMEs อย่างชัดเจนในปี 1963 โดยการมี SMEs Basic Law ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนา SMEs อย่างมาก และเป็นแม่แบบในการพัฒนา SMEs ของประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเซีย และยุโรป การพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่นมุ่งเน้นในด้านบทบาทของรัฐบาลที่เข้มแข็ง สามารถควบคุมดูแลได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง มีการส่งถ่ายนโยบายที่ดีจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัฐบาลกลาง และหน่วยงานที่ดูแล SME (SME Agency) ไปยังรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ (Perfecture Government) โดยใช้ระบบงบประมาณเข้าไปกำกับให้รัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลกลาง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีระบบการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่น รัฐบาลกลาง และภาคอุตสาหกรรมที่ดี โดยผ่านองค์กรทางธุรกิจต่างๆ (Business Associations) ในขณะที่ SMEs เองก็มีการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ ทั้งสหกรณ์ และสมาคมการค้า ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนความต้องการและสะท้อนถึงผลของนโยบายต่างๆ ในทางปฏิบัติให้ทางรัฐบาลและส่วนกลางได้ทราบเพื่อทำการปรับปรุงให้นโยบายต่างๆมีประสิทธิผลในทางปฏิบัติมากขึ้น
ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการให้การช่วยเหลือ SMEs ทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านเทคโนโลยี ทางด้านการเงิน การพัฒนาทักษะต่างๆ การให้คำปรึกษา การส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการให้ความช่วยเหลือ SMEs ในช่วงที่มีภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้งในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยี ข่าวสารข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยรัฐบาล ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ รองรับ แต่หากจะศึกษาในรายละเอียด จะพบว่ามาตรการทางการเงินเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ หรือการพัฒนาประสิทธิภาพSMEs ทุกหน่วยงานจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกันทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการประกันสินเชื่อ
นโยบายที่เกี่ยวกับความช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญจะมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นการประกันสินเชื่อ (Credit Guarantee) และการใช้สิ่งที่เรียกว่า Agency Loan ซึ่งเป็นการนำเงินของรัฐบาลมาปล่อยกู้โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ และการมีธนาคาร SMEs ซึ่งประกอบไปด้วย Small Business Finance Corporation, Shoko Chukin Bank และ National Life Finance Corporation เป็นต้น
สถาบันการเงินที่รัฐบาลจัดตั้งจะมีบทบาทสูง ในเวลาที่ประสบกับภาวะ Credit Crunch หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs ถ้าไม่ใช่สถาบันการเงินแล้วจะร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการค้ำประกันเงินกู้ (Credit Guarantee) หากหน่วยงานนั้นๆรู้จักกับ SMEs ได้ดีพอ แต่ในภาวะปกตินั้นบทบาทในเรื่องทางการเงินจะมีน้อยลงเนื่องจาก SMEs จะไปกู้เงินจากระบบปกติคือธนาคารพาณิชย์ และบทบาทของการประกันสินเชื่อและ Agency Loan จะลดลง
การที่รัฐบาลมีบทบาทสูงในการพัฒนาประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นกัน แต่เงื่อนไขสำคัญก็คือ โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล และภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเป็นโครงสร้างพิเศษซึ่งเป็นการยากที่ประเทศไทยจะเลียนแบบได้
การที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีบทบาทสูงในการพัฒนา SMEs ทำให้การเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา SMEs ทำได้ยาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การพัฒนา SMEs ขาดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแตกต่างจากกรณีของประเทศไต้หวัน
สรุปมาตรการพัฒนา SMEs ของญี่ปุ่น ประกอบด้วยกลุ่มมาตรการ 5 กลุ่มคือ
1. มาตรการด้านการเงินและการลงทุน ประกอบด้วย มาตรการด้านสินเชื่อ : สินเชื่อระยะยาวเพื่อการปรับโครงสร้างกิจการ สินเชื่อเพื่อวิสาหกิจรายย่อย (Small Enterprises) และสินเชื่อเพื่อสร้างแรงจูงใจในการรวมกลุ่ม
2. มาตรการด้านการรวมกลุ่ม : เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจใหม่ โดยสนับสนุนการเงินโดยตรง โดยอ้อมผ่าย Venture Capital Companies และ Business Matching
3. มาตรการด้านการค้ำประกันสินเชื่อ : เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนไดง่ายขึ้น โดยมีระบบประกันสินเชื่อ (Credit Guarantee)
4. มาตรการด้านการคลังและภาษีมาตรการด้านการคลังและภาษี : เพื่อให้แรงจูงใจและลดภาระภาษีแก่ SMEs และสนับสนุนให้ SMEs ได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ
5. มาตรการด้านการรับช่วงการผลิต การเชื่อมโยงธุรกิจ : เน้นการให้ความช่วยเหลือและเป็นตัวกลางในการทำ Business Matching ดูแลสร้างความเป็นธรรมในระบบ sub-contract ให้บริการฐานข้อมูลแก่ SMEs ผู้ซื้อ-ผู้ขาย
มาตรการพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และการจัดการ
- ให้ความช่วยเหลือในด้านแหล่งเงินทุน ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากร Technology Center ในระดับท้องถิ่น Patent Center และ Business Incubation Center
- สนับสนุนบทบาทของเอกชน สนับสนุนการใช้ IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มาตรการด้านการรวมกลุ่ม
- ให้แรงจูงในด้วยสินเชื่อ การค้ำประกันสินเชื่อ ส่งเสริมการรวมเป็นเขตการค้าของ SMEs ส่งเสริมบทบาทของสมาคม สหกรณ์ มาตรการด้านการตลาด
การส่งออก
- ส่งเสริมให้ SMEs ใช้ IT ในระบบการค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการจัดจำหน่าย และกระจายสินค้า ในระดับ Perfecture มีการสร้าง facility center ให้บริการแก่ SMEs ในราคาถูกกว่าเอกชน สร้างโอกาสให้ผู้ซื้อพบผู้ขาย สำรวจ วิจัย และให้บริการข้อมูล ส่งเสริมเขตการค้าของ SMEs
1 มาตรการบรรเทาผลกระทบ (Safety Net) เพื่อคุ้มครองโอกาสทางธุรกิจเพื่อช่วยเหลือให้ SMEs มีระยะเวลาปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย Mutual Relief System สำหรับ Small Enterprises (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) และระบบป้องกนการล้มละลายเป็นลูกโซ่ของ SMEs
การพัฒนา SMEs ของประเทศไต้หวัน
ในส่วนของประเทศไต้หวันนั้นได้พัฒนา SMEs โดยเอาแบบอย่างมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาดำเนินการในการพัฒนา SMEs โดยบทบาทรัฐบาลจะมีมากในช่วงเริ่มแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งในระยะหลังนั้นได้เปลี่ยนเป็นการตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้เอกชนทำการประมูลโครงการช่วยเหลือ SMEs ในด้านต่างๆ โดยที่รัฐบาลเป็นผู้ติดตามประเมินผล ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบ่มเพาะอุตสาหกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลในการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆลงได้มาก และสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ติดตามและประเมินผลเท่านั้น
- การพัฒนา SMEs ของไต้หวันมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัต (Dynamic) ทั้งนี้เพราะการใช้ระบบให้เอกชนเข้าดำเนินการจะสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้นโยบายประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
- ส่วนในเรื่องทางด้านการเงินนั้น ไต้หวันใช้การประกันสินเชื่อเป็นหลัก แล้วให้ธนาคารเอกชนเป็นผู้ปล่อยกู้โดยไม่มีการตั้งสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา SMEs โดยเฉพาะ
- การพัฒนา SMEs ของประเทศไต้หวันนั้น เป็นแนวทางที่มีบทบาทของรัฐสูงในระยะแรก แต่ในระยะหลังรัฐบาลเป็นผู้กำกับดูแลและให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อทำโครงการพัฒนา SMEs ต่างๆซึ่งเป็นแนวทางที่น่าจะมีความเหมาะสมกับโครงสร้างของการบริหารประเทศที่รัฐบาลมีบทบาทไม่สูงเท่ากับประเทศญี่ปุ่น และไม่มีกลไกที่ดูแลอย่างทั่วถึง
- นโยบายการพัฒนา SME เป็นแบบ top-down โดยกระทรวงเศรษฐกิจจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการพัฒนาพร้อมจัดสรรเงินให้
- แนวทางการพัฒนา SME ของไต้หวันจะให้ความสำคัญกับ SMEsที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย กับการ upgrade ประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการ SME ในอุตสาหกรรมทั่วไป
- การให้ความช่วยเหลือของรัฐ เช่นมาตรการทางการเงินและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของกลไกตลาด (market failure) สำหรับการจัดตั้ง SMEs หรือ SME ซึ่งมีศักยภาพในอนาคต
- การดำเนินนโยบายทางการคลัง เช่นการลดหย่อนภาษีต่างๆ ทั้ง SME และวิสาหกิจขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน
- มีกฎหมายส่งเสริม SME น้อยมาก เช่น สถาบันประกันสินเชื่อ ซึ่งการประกันสินชื่อเป็นมาตรการที่ประเทศไต้หวันประสบความสำเร็จ
- หน่วยงานและสถาบันเกี่ยวกับการนำกฎหมายไปปฏิบัติให้เกิดผลจำนวนไม่มาก กรมส่งเสริม SMEs มีหน้าที่วางนโยบายและใช้เงินอุดหนุนเป็นเครื่องมือ สมาคมหอการค้ามีส่วนในการกำหนดนโยบาย โดยมีผู้แทนเข้ามาในคณะกรรมการพิจารณาข้อหารือเกี่ยวกับนโยบาย ? กรอบนโยบายและมาตรการในการสนับสนุนและพัฒนา SMEs ดังนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ SMEs ได้แก่ ? เสริมสร้างและรักษาการแข่งขันอย่างมีเหตุผลและเป็นธรรม ? ให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างง่าย ? ให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ ? ช่วยเหลือ SMEs ให้เข้ามีส่วนร่วมในการประมูลซื้อสินค้า ? ช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานของ SMEs นโยบายในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทใน SMEs ได้แก่ ? ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนของ SMEs ในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรม ? ส่งเสริมการปฏิบัติงานร่วมกันในโครงการต่างๆ ? ช่วยเหลือการพัฒนาองค์กรความร่วมมือกันของ SMEs ? สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ SMEs จัดตั้ง ? อำนวยความสะดวกสำหรับความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมของ SMEs ในระดับภูมิภาค การเสริมสร้างการพัฒนาและเติบโตของ SMEs ได้แก่ ? ให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการ ? ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ? การเสริมสร้างระบบการให้บริการอย่างครบวงจรของ SMEs การพัฒนา SMEs ของประเทศอิตาลี ? สำหรับในส่วนของประเทศอิตาลีนั้น บทบาทของการพัฒนานั้นมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคเหนือของประเทศเป็นหลัก รัฐบาลมีบทบาทน้อยในการพัฒนา SMEs และเป็นเพียงผู้ตอบสนองความต้องการของ SMEs เท่านั้น ซึ่ง SMEs ของอิตาลีก็มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า Cluster ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตสินค้าในระดับต่างๆ จุดเด่นของการพัฒนา SMEs ของประเทศนี้อยู่ที่ภาคเอกชนซึ่งสามารถรวมตัวกันได้ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นไปเป็นระดับภูมิภาคและระดับชาติ ซึ่งมีส่วนในการผลักดันนโยบายรัฐบาลในด้านต่างๆ ซึ่งในส่วนของประเทศอิตาลีนั้นไม่มีกฎหมายเฉพาะในการพัฒนา SMEs มีเพียงกฎหมายทั่วๆไปเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนา SMEs ของอิตาลีจึงเป็นการพัฒนาที่ผลักดันโดยเอกชนซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญเพราะมีการดำเนินการที่เป็น Cluster และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตซึ่งสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ? ระบบ Cluster นั้นเลียนแบบได้ยากเพราะมีส่วนของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ คุณสมบัติเฉพาะของแรงงาน และทักษะด้านต่างๆ (skill) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ระบบ Cluster ก็ไม่ได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีทั้งหมดแต่จะมีอยู่เฉพาะในเขตอุตสาหกรรมในภาคเหนือเท่านั้น ? จุดเด่นของการพัฒนา SMEs ของอิตาลี คือการเกิด Industrial Cluster ซึ่งหน่วยผลิตต่างๆ มีการพึ่งพากันและการแข่งขันสินค้าพร้อมๆ กัน ซึ่งการพึ่งพากันเพราะผลิตสินค้าที่เชื่อมโยงกันและใช้แรงงานประเภทใกล้เคียงกันที่มีอยู่ในพื้นที่ มีสถาบันท้องถิ่น เช่นสมาคมท้องถิ่น และธนาคารท้อถิ่นที่ทำหน้าที่ Self-regulating เพื่อให้มีหน่วยผลิตที่ดีมีแรงจูงใจที่จะอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ? Industrial Cluster ที่มีความยืดหยุ่นมาก สามารถปรับตัวเข้าหับความเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก หรือสร้าง network กับต่างประเทศ ? การแข่งขันในตลาดโลกในเรื่องคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคต่างประเทศ ทำให้การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของกิจกรรมหนึ่งๆ (Production chain) จะต้องมีการเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลความต้องการของลูกค้าในเรื่องความต้องการและคุณภาพไปถึงหน่วยผลิตแต่ละชิ้นส่วน โดยแต่ละชิ้นส่วนก็ต้องแข่งขันกันเองด้วย ? นโยบายการพัฒนา SMEs ของอิตาลีนั้นรัฐบาลไม่มีบทบาทในการคุ้มครอง SMEs มากนัก เนื่องจากอิตาลีเป็นส่วนหนึ่งของ EU จึงไม่สามารถใช้ Tariff barrier ในการกีดกันการค้าระหว่างประเทศในหมู่ EU ด้วยกันได้ ทำให้ตัวแปรเรื่องการแข่งขันเสรีมีบทบทได้โดยไม่ถูกจำกัด โดยการเมืองหรือต้องถูกบีบจากมหาอำนาจเหมือนในประเทศพัฒนา ซึ่งเป็นผลดีกับ Clusters เอง เพราะรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปอุ้มผู้ประกอบการที่ขาดประสิทธิภาพได้นาน ? การรวมตัวเป็น Clusters ทำให้ราคาสินค้ท้องถิ่นบางอย่างมความได้เปรียบคู่แข่งขันต่างชาติที่จะมาลงทุนผลิตแข่ง Clusters จึงเป็นเสมือน Non-tariff measure ประเภทหนึ่ง ? ความเข้มแข็งของสถาบันเฉพาะทางในแต่ละท้องถิ่นของ SMEs ในประเทศอิตาลีซึ่งมีระบบการรวมตัวของสถาบันท้องถิ่นตั้งแต่ระดับล่างเป็นระดับภาคและระดับต่างประเทศทำให้ SMEs ในอิตาลีมีความเข้มแข็งและสามารถที่จะผลักดันนโยบายต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์กับ SMEs มากกว่าการที่รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มในการพัฒนา SMEs เอง ? มาตรการในการส่งเสริม SMEs ของอิตาลี ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมการส่งออก : โดยมี SIMEST เป็นสถาบันการเงินในอิตาลีที่สนับสนุนให้ธุรกิจของอิตาลีมีความเชื่อมโยงการผลิตเพื่อส่งออก และเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การลงทุนในต่างประเทศ ประกอบด้วย - Financial or participation in International Tenders - Concession Financing for Market Penetration Programs - Foreign Direct Investment Incentive - Export Incentives มาตรการส่งเสริมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ โดยภาครัฐและเอกชน - การวิจัยค้นคว้าและถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยการ Diffusion of Technological Innovation และการออกแบบองค์กรหน่วยงานที่ชัดเจนในการนำนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ASTER ซึ่งตั้งขึ้นโดย Regional Industrial Developmwn Board ในปี 1985 ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับการออกแบบองค์กรหน่วยงานที่ชัดเจนในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับ SMEs ซึ่งยุ่งยากและซับซ้อนมาก เนื่องจาก SMEs มีข้อจำกัดและต้นทุนที่มากกว่ากิจการขนาดใหญ่ในการเข้าถึงบริการเหล่านี้ มาตรการแทรกแซงเพื่อนวัตกรมและการพัฒนา SMEs (Innovation Cluster) - ส่งเสริมและพัฒนา SMEs โดยผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ - นโยบายส่งเสริมเงินทุน SMEs ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ EU ที่เน้นการแข่งขันระหว่างอุตสาหกรรม - สนับสนุนให้เงินอุดหนุนในการซื้อและเช่าเครื่องจักร Hign-Technology สำหรับ SMEs ใน Inovation Cluster - นโยบายการเงินของ SIMEST ที่ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มระหว่างกันและสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อการส่งออกของ SMEs และส่งเสริมการส่งอก โดยให้ข้อมูลสำหรับการส่งออกในรูปแบบของ export consortium สำหรับ SMEs มาตรการส่งเสริมการรับช่วงและการเชื่อมโยงการผลิต - ตัวอย่างในระดับท้องถิ่นในกรณีของรัฐ จะมี The Regional Authority for Economic Development เป็นตัวเชื่อมโยง center ของสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เชื่อมโยงกัน เช่น Agency for Technology Development, Ceramic Industrial Research and Testing Service, Footwear Industrial Center, Textile Information Center เป็นต้น การพัฒนา SMEs ของประเทศออสเตรเลีย - รัฐบาลของออสเตรเลียมีแนวนโยบายทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปแบบเสรีนิยม ดังนั้นนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมในออสเตรเลียจึงไม่มีนโยบายในการส่งเสริม อุตสาหกรรม ที่มุ่งเจาะจงคุ้มครองหรือให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือการเงินแก่อุตสาหกรรมและวิสาหกิจเฉพาะราย แต่พยายามสร้างเวทีทางเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายสามารถแข่งขันได้อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม - การพัฒนา SMEs เริ่มต้นในช่วงก่อนปี 2530 ซึ่งระบบเศรษฐกิจของออสเตรเลียมีการกีดกันการค้าต่างประเทศในรูปของกำแพงภาษีสูง ตลาดภายในประเทศจึงมีการแข่งขันน้อย วิสาหกิจที่ครอบงำมีขนาดใหญ่ ตลาดแรงงานมีสหภาพแรงงานที่มีอิทธิพล - มาตรการส่งเสริม SMEs เน้นการวิจัยและพัฒนา (R&D) การใช้ประโยชนเชิงพาณิชย์จากเทคโนโลยีใหม่ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและชีวภาพ และวิสาหกิจที่เน้นการส่งออก - วิธีการส่งเสริม SMEs คือการเพิ่มช่องทางเข้าถึงสารสนเทศและโครงการสนับสนุน ของรัฐบาลให้มีนวัตกรรมภายในวิสาหกิจ พัฒนาทักษะการจัดการ สร้างเครือข่าย SMEs เพิ่มแหล่งเงินทุน เพิ่มช่องทางให้ร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล และลดขั้นตอนความยุ่งยากในระเบียบราชการ - วิธีการสนับสนุน SMEs โดยบริการสารสนเทศให้รู้ถึงแหล่งข้อมูลและโครงการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาทางธุรกิจโยผ่านหน่วยงานของรัฐและให้เงินอุดหนุนแก่วิสาหกิจเพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจในภาคเอกชน โดยองค์กรที่สำคัญ ได้แก่ AusIndustry และ Austrade - ออสเตรเลียไม่มีการช่วยเหลือทางด้านการเงินในรูปของธนาคาร SMEs จะมีเพียงการลงทุนในรูปของ Venture Capital และรัฐบาลเข้ามามีบทบาทเพียงการไปเข้าร่วมทุนกับ Venture Capital ของเอกชนแล้วปล่อยให้เอกชนดำเนินการโดยอิสระ ซึ่งการเข้าร่วมใน Venture Capital ของรัฐบาลนั้นเป็นเพียงเพื่อลด Capital Cost บางส่วนให้กับเอกชนเท่านั้น - รัฐบาลออสเตรเลียเข้ามามีบทบาทสูงในส่วนของการพัฒนาการวิจัยต่างๆ การเข้าไปร่วมทุนในส่วนของการทำการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี และการค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของ SMEs แล้วปล่อยให้ระบบตลาดเข้ามามีบทบาท - จุดเด่นของการดำเนินนโยบายของออสเตรเลียคือ การใช้นโยบายการค้าเสรีโดยให้กลไกตลาดเป็นเครื่องมือ การมีนโยบายอุตสาหกรรมที่เป็นกลางทำให้ไม่ต้องมีนโยบายใดๆ เข้ามาเสริมเพื่อลดความเสียเปรียบเชิงนโยบายให้กับ SMEs ทำให้ออสเตรเลียไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างใหม่หรือมีแผนพัฒนา SMEs รวมทั้งมีพระราชบัญญัติพัฒนา SMEs โดยเฉพาะ จุดเด่นคือออสเตรเลียนั้นอยู่ที่นโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี R&D และการส่งเสริมให้มีการค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และการร่วมมือระหว่าง รัฐบาล เอกชน และสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
หน่วยงานวิจัยที่ได้รับคัดเลือกให้ศึกษาคือ มูลนิธิสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนา SMEs โดยศึกษาเจาะลึกถึงตัวบทกฎหมาย หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และโครงข่ายหน่วยงานที่นำนโยบายและมาตรการไปสู่ผลที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะมาตรการที่ยังค่อนข้างใหม่ สำหรับประเทศไทย
ผลการศึกษา การพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่น
นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเป็นแบบ Pick up Winners ซึ่งรัฐบาลมีบทบาทสูงในลักษณะ Active State แนวนโยบายการพัฒนา SMEs จะให้ความช่วยเหลือ SMEs ทุกด้าน และเน้นที่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีนโยบายในการพัฒนา SMEs อย่างชัดเจนในปี 1963 โดยการมี SMEs Basic Law ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนา SMEs อย่างมาก และเป็นแม่แบบในการพัฒนา SMEs ของประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเซีย และยุโรป การพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่นมุ่งเน้นในด้านบทบาทของรัฐบาลที่เข้มแข็ง สามารถควบคุมดูแลได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง มีการส่งถ่ายนโยบายที่ดีจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัฐบาลกลาง และหน่วยงานที่ดูแล SME (SME Agency) ไปยังรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ (Perfecture Government) โดยใช้ระบบงบประมาณเข้าไปกำกับให้รัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลกลาง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีระบบการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่น รัฐบาลกลาง และภาคอุตสาหกรรมที่ดี โดยผ่านองค์กรทางธุรกิจต่างๆ (Business Associations) ในขณะที่ SMEs เองก็มีการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ ทั้งสหกรณ์ และสมาคมการค้า ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนความต้องการและสะท้อนถึงผลของนโยบายต่างๆ ในทางปฏิบัติให้ทางรัฐบาลและส่วนกลางได้ทราบเพื่อทำการปรับปรุงให้นโยบายต่างๆมีประสิทธิผลในทางปฏิบัติมากขึ้น
ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการให้การช่วยเหลือ SMEs ทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านเทคโนโลยี ทางด้านการเงิน การพัฒนาทักษะต่างๆ การให้คำปรึกษา การส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการให้ความช่วยเหลือ SMEs ในช่วงที่มีภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้งในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยี ข่าวสารข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยรัฐบาล ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ รองรับ แต่หากจะศึกษาในรายละเอียด จะพบว่ามาตรการทางการเงินเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมต่างๆ หรือการพัฒนาประสิทธิภาพSMEs ทุกหน่วยงานจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกันทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการประกันสินเชื่อ
นโยบายที่เกี่ยวกับความช่วยเหลือทางการเงินที่สำคัญจะมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นการประกันสินเชื่อ (Credit Guarantee) และการใช้สิ่งที่เรียกว่า Agency Loan ซึ่งเป็นการนำเงินของรัฐบาลมาปล่อยกู้โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ และการมีธนาคาร SMEs ซึ่งประกอบไปด้วย Small Business Finance Corporation, Shoko Chukin Bank และ National Life Finance Corporation เป็นต้น
สถาบันการเงินที่รัฐบาลจัดตั้งจะมีบทบาทสูง ในเวลาที่ประสบกับภาวะ Credit Crunch หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs ถ้าไม่ใช่สถาบันการเงินแล้วจะร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการค้ำประกันเงินกู้ (Credit Guarantee) หากหน่วยงานนั้นๆรู้จักกับ SMEs ได้ดีพอ แต่ในภาวะปกตินั้นบทบาทในเรื่องทางการเงินจะมีน้อยลงเนื่องจาก SMEs จะไปกู้เงินจากระบบปกติคือธนาคารพาณิชย์ และบทบาทของการประกันสินเชื่อและ Agency Loan จะลดลง
การที่รัฐบาลมีบทบาทสูงในการพัฒนาประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การพัฒนา SMEs ของประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นกัน แต่เงื่อนไขสำคัญก็คือ โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล และภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเป็นโครงสร้างพิเศษซึ่งเป็นการยากที่ประเทศไทยจะเลียนแบบได้
การที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีบทบาทสูงในการพัฒนา SMEs ทำให้การเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา SMEs ทำได้ยาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การพัฒนา SMEs ขาดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแตกต่างจากกรณีของประเทศไต้หวัน
สรุปมาตรการพัฒนา SMEs ของญี่ปุ่น ประกอบด้วยกลุ่มมาตรการ 5 กลุ่มคือ
1. มาตรการด้านการเงินและการลงทุน ประกอบด้วย มาตรการด้านสินเชื่อ : สินเชื่อระยะยาวเพื่อการปรับโครงสร้างกิจการ สินเชื่อเพื่อวิสาหกิจรายย่อย (Small Enterprises) และสินเชื่อเพื่อสร้างแรงจูงใจในการรวมกลุ่ม
2. มาตรการด้านการรวมกลุ่ม : เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจใหม่ โดยสนับสนุนการเงินโดยตรง โดยอ้อมผ่าย Venture Capital Companies และ Business Matching
3. มาตรการด้านการค้ำประกันสินเชื่อ : เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนไดง่ายขึ้น โดยมีระบบประกันสินเชื่อ (Credit Guarantee)
4. มาตรการด้านการคลังและภาษีมาตรการด้านการคลังและภาษี : เพื่อให้แรงจูงใจและลดภาระภาษีแก่ SMEs และสนับสนุนให้ SMEs ได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ
5. มาตรการด้านการรับช่วงการผลิต การเชื่อมโยงธุรกิจ : เน้นการให้ความช่วยเหลือและเป็นตัวกลางในการทำ Business Matching ดูแลสร้างความเป็นธรรมในระบบ sub-contract ให้บริการฐานข้อมูลแก่ SMEs ผู้ซื้อ-ผู้ขาย
มาตรการพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และการจัดการ
- ให้ความช่วยเหลือในด้านแหล่งเงินทุน ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากร Technology Center ในระดับท้องถิ่น Patent Center และ Business Incubation Center
- สนับสนุนบทบาทของเอกชน สนับสนุนการใช้ IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มาตรการด้านการรวมกลุ่ม
- ให้แรงจูงในด้วยสินเชื่อ การค้ำประกันสินเชื่อ ส่งเสริมการรวมเป็นเขตการค้าของ SMEs ส่งเสริมบทบาทของสมาคม สหกรณ์ มาตรการด้านการตลาด
การส่งออก
- ส่งเสริมให้ SMEs ใช้ IT ในระบบการค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการจัดจำหน่าย และกระจายสินค้า ในระดับ Perfecture มีการสร้าง facility center ให้บริการแก่ SMEs ในราคาถูกกว่าเอกชน สร้างโอกาสให้ผู้ซื้อพบผู้ขาย สำรวจ วิจัย และให้บริการข้อมูล ส่งเสริมเขตการค้าของ SMEs
1 มาตรการบรรเทาผลกระทบ (Safety Net) เพื่อคุ้มครองโอกาสทางธุรกิจเพื่อช่วยเหลือให้ SMEs มีระยะเวลาปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย Mutual Relief System สำหรับ Small Enterprises (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) และระบบป้องกนการล้มละลายเป็นลูกโซ่ของ SMEs
การพัฒนา SMEs ของประเทศไต้หวัน
ในส่วนของประเทศไต้หวันนั้นได้พัฒนา SMEs โดยเอาแบบอย่างมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาดำเนินการในการพัฒนา SMEs โดยบทบาทรัฐบาลจะมีมากในช่วงเริ่มแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งในระยะหลังนั้นได้เปลี่ยนเป็นการตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้เอกชนทำการประมูลโครงการช่วยเหลือ SMEs ในด้านต่างๆ โดยที่รัฐบาลเป็นผู้ติดตามประเมินผล ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบ่มเพาะอุตสาหกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลในการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆลงได้มาก และสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ติดตามและประเมินผลเท่านั้น
- การพัฒนา SMEs ของไต้หวันมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัต (Dynamic) ทั้งนี้เพราะการใช้ระบบให้เอกชนเข้าดำเนินการจะสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้นโยบายประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
- ส่วนในเรื่องทางด้านการเงินนั้น ไต้หวันใช้การประกันสินเชื่อเป็นหลัก แล้วให้ธนาคารเอกชนเป็นผู้ปล่อยกู้โดยไม่มีการตั้งสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา SMEs โดยเฉพาะ
- การพัฒนา SMEs ของประเทศไต้หวันนั้น เป็นแนวทางที่มีบทบาทของรัฐสูงในระยะแรก แต่ในระยะหลังรัฐบาลเป็นผู้กำกับดูแลและให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อทำโครงการพัฒนา SMEs ต่างๆซึ่งเป็นแนวทางที่น่าจะมีความเหมาะสมกับโครงสร้างของการบริหารประเทศที่รัฐบาลมีบทบาทไม่สูงเท่ากับประเทศญี่ปุ่น และไม่มีกลไกที่ดูแลอย่างทั่วถึง
- นโยบายการพัฒนา SME เป็นแบบ top-down โดยกระทรวงเศรษฐกิจจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการพัฒนาพร้อมจัดสรรเงินให้
- แนวทางการพัฒนา SME ของไต้หวันจะให้ความสำคัญกับ SMEsที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย กับการ upgrade ประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการ SME ในอุตสาหกรรมทั่วไป
- การให้ความช่วยเหลือของรัฐ เช่นมาตรการทางการเงินและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของกลไกตลาด (market failure) สำหรับการจัดตั้ง SMEs หรือ SME ซึ่งมีศักยภาพในอนาคต
- การดำเนินนโยบายทางการคลัง เช่นการลดหย่อนภาษีต่างๆ ทั้ง SME และวิสาหกิจขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน
- มีกฎหมายส่งเสริม SME น้อยมาก เช่น สถาบันประกันสินเชื่อ ซึ่งการประกันสินชื่อเป็นมาตรการที่ประเทศไต้หวันประสบความสำเร็จ
- หน่วยงานและสถาบันเกี่ยวกับการนำกฎหมายไปปฏิบัติให้เกิดผลจำนวนไม่มาก กรมส่งเสริม SMEs มีหน้าที่วางนโยบายและใช้เงินอุดหนุนเป็นเครื่องมือ สมาคมหอการค้ามีส่วนในการกำหนดนโยบาย โดยมีผู้แทนเข้ามาในคณะกรรมการพิจารณาข้อหารือเกี่ยวกับนโยบาย ? กรอบนโยบายและมาตรการในการสนับสนุนและพัฒนา SMEs ดังนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ SMEs ได้แก่ ? เสริมสร้างและรักษาการแข่งขันอย่างมีเหตุผลและเป็นธรรม ? ให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างง่าย ? ให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ ? ช่วยเหลือ SMEs ให้เข้ามีส่วนร่วมในการประมูลซื้อสินค้า ? ช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานของ SMEs นโยบายในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทใน SMEs ได้แก่ ? ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนของ SMEs ในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรม ? ส่งเสริมการปฏิบัติงานร่วมกันในโครงการต่างๆ ? ช่วยเหลือการพัฒนาองค์กรความร่วมมือกันของ SMEs ? สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ SMEs จัดตั้ง ? อำนวยความสะดวกสำหรับความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมของ SMEs ในระดับภูมิภาค การเสริมสร้างการพัฒนาและเติบโตของ SMEs ได้แก่ ? ให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการ ? ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ? การเสริมสร้างระบบการให้บริการอย่างครบวงจรของ SMEs การพัฒนา SMEs ของประเทศอิตาลี ? สำหรับในส่วนของประเทศอิตาลีนั้น บทบาทของการพัฒนานั้นมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคเหนือของประเทศเป็นหลัก รัฐบาลมีบทบาทน้อยในการพัฒนา SMEs และเป็นเพียงผู้ตอบสนองความต้องการของ SMEs เท่านั้น ซึ่ง SMEs ของอิตาลีก็มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า Cluster ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตสินค้าในระดับต่างๆ จุดเด่นของการพัฒนา SMEs ของประเทศนี้อยู่ที่ภาคเอกชนซึ่งสามารถรวมตัวกันได้ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นไปเป็นระดับภูมิภาคและระดับชาติ ซึ่งมีส่วนในการผลักดันนโยบายรัฐบาลในด้านต่างๆ ซึ่งในส่วนของประเทศอิตาลีนั้นไม่มีกฎหมายเฉพาะในการพัฒนา SMEs มีเพียงกฎหมายทั่วๆไปเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนา SMEs ของอิตาลีจึงเป็นการพัฒนาที่ผลักดันโดยเอกชนซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญเพราะมีการดำเนินการที่เป็น Cluster และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตซึ่งสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ? ระบบ Cluster นั้นเลียนแบบได้ยากเพราะมีส่วนของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ คุณสมบัติเฉพาะของแรงงาน และทักษะด้านต่างๆ (skill) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ระบบ Cluster ก็ไม่ได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีทั้งหมดแต่จะมีอยู่เฉพาะในเขตอุตสาหกรรมในภาคเหนือเท่านั้น ? จุดเด่นของการพัฒนา SMEs ของอิตาลี คือการเกิด Industrial Cluster ซึ่งหน่วยผลิตต่างๆ มีการพึ่งพากันและการแข่งขันสินค้าพร้อมๆ กัน ซึ่งการพึ่งพากันเพราะผลิตสินค้าที่เชื่อมโยงกันและใช้แรงงานประเภทใกล้เคียงกันที่มีอยู่ในพื้นที่ มีสถาบันท้องถิ่น เช่นสมาคมท้องถิ่น และธนาคารท้อถิ่นที่ทำหน้าที่ Self-regulating เพื่อให้มีหน่วยผลิตที่ดีมีแรงจูงใจที่จะอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ? Industrial Cluster ที่มีความยืดหยุ่นมาก สามารถปรับตัวเข้าหับความเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก หรือสร้าง network กับต่างประเทศ ? การแข่งขันในตลาดโลกในเรื่องคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคต่างประเทศ ทำให้การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของกิจกรรมหนึ่งๆ (Production chain) จะต้องมีการเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลความต้องการของลูกค้าในเรื่องความต้องการและคุณภาพไปถึงหน่วยผลิตแต่ละชิ้นส่วน โดยแต่ละชิ้นส่วนก็ต้องแข่งขันกันเองด้วย ? นโยบายการพัฒนา SMEs ของอิตาลีนั้นรัฐบาลไม่มีบทบาทในการคุ้มครอง SMEs มากนัก เนื่องจากอิตาลีเป็นส่วนหนึ่งของ EU จึงไม่สามารถใช้ Tariff barrier ในการกีดกันการค้าระหว่างประเทศในหมู่ EU ด้วยกันได้ ทำให้ตัวแปรเรื่องการแข่งขันเสรีมีบทบทได้โดยไม่ถูกจำกัด โดยการเมืองหรือต้องถูกบีบจากมหาอำนาจเหมือนในประเทศพัฒนา ซึ่งเป็นผลดีกับ Clusters เอง เพราะรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปอุ้มผู้ประกอบการที่ขาดประสิทธิภาพได้นาน ? การรวมตัวเป็น Clusters ทำให้ราคาสินค้ท้องถิ่นบางอย่างมความได้เปรียบคู่แข่งขันต่างชาติที่จะมาลงทุนผลิตแข่ง Clusters จึงเป็นเสมือน Non-tariff measure ประเภทหนึ่ง ? ความเข้มแข็งของสถาบันเฉพาะทางในแต่ละท้องถิ่นของ SMEs ในประเทศอิตาลีซึ่งมีระบบการรวมตัวของสถาบันท้องถิ่นตั้งแต่ระดับล่างเป็นระดับภาคและระดับต่างประเทศทำให้ SMEs ในอิตาลีมีความเข้มแข็งและสามารถที่จะผลักดันนโยบายต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์กับ SMEs มากกว่าการที่รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มในการพัฒนา SMEs เอง ? มาตรการในการส่งเสริม SMEs ของอิตาลี ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมการส่งออก : โดยมี SIMEST เป็นสถาบันการเงินในอิตาลีที่สนับสนุนให้ธุรกิจของอิตาลีมีความเชื่อมโยงการผลิตเพื่อส่งออก และเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การลงทุนในต่างประเทศ ประกอบด้วย - Financial or participation in International Tenders - Concession Financing for Market Penetration Programs - Foreign Direct Investment Incentive - Export Incentives มาตรการส่งเสริมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ โดยภาครัฐและเอกชน - การวิจัยค้นคว้าและถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยการ Diffusion of Technological Innovation และการออกแบบองค์กรหน่วยงานที่ชัดเจนในการนำนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ASTER ซึ่งตั้งขึ้นโดย Regional Industrial Developmwn Board ในปี 1985 ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับการออกแบบองค์กรหน่วยงานที่ชัดเจนในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับ SMEs ซึ่งยุ่งยากและซับซ้อนมาก เนื่องจาก SMEs มีข้อจำกัดและต้นทุนที่มากกว่ากิจการขนาดใหญ่ในการเข้าถึงบริการเหล่านี้ มาตรการแทรกแซงเพื่อนวัตกรมและการพัฒนา SMEs (Innovation Cluster) - ส่งเสริมและพัฒนา SMEs โดยผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ - นโยบายส่งเสริมเงินทุน SMEs ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ EU ที่เน้นการแข่งขันระหว่างอุตสาหกรรม - สนับสนุนให้เงินอุดหนุนในการซื้อและเช่าเครื่องจักร Hign-Technology สำหรับ SMEs ใน Inovation Cluster - นโยบายการเงินของ SIMEST ที่ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มระหว่างกันและสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อการส่งออกของ SMEs และส่งเสริมการส่งอก โดยให้ข้อมูลสำหรับการส่งออกในรูปแบบของ export consortium สำหรับ SMEs มาตรการส่งเสริมการรับช่วงและการเชื่อมโยงการผลิต - ตัวอย่างในระดับท้องถิ่นในกรณีของรัฐ จะมี The Regional Authority for Economic Development เป็นตัวเชื่อมโยง center ของสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เชื่อมโยงกัน เช่น Agency for Technology Development, Ceramic Industrial Research and Testing Service, Footwear Industrial Center, Textile Information Center เป็นต้น การพัฒนา SMEs ของประเทศออสเตรเลีย - รัฐบาลของออสเตรเลียมีแนวนโยบายทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปแบบเสรีนิยม ดังนั้นนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมในออสเตรเลียจึงไม่มีนโยบายในการส่งเสริม อุตสาหกรรม ที่มุ่งเจาะจงคุ้มครองหรือให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือการเงินแก่อุตสาหกรรมและวิสาหกิจเฉพาะราย แต่พยายามสร้างเวทีทางเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายสามารถแข่งขันได้อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม - การพัฒนา SMEs เริ่มต้นในช่วงก่อนปี 2530 ซึ่งระบบเศรษฐกิจของออสเตรเลียมีการกีดกันการค้าต่างประเทศในรูปของกำแพงภาษีสูง ตลาดภายในประเทศจึงมีการแข่งขันน้อย วิสาหกิจที่ครอบงำมีขนาดใหญ่ ตลาดแรงงานมีสหภาพแรงงานที่มีอิทธิพล - มาตรการส่งเสริม SMEs เน้นการวิจัยและพัฒนา (R&D) การใช้ประโยชนเชิงพาณิชย์จากเทคโนโลยีใหม่ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและชีวภาพ และวิสาหกิจที่เน้นการส่งออก - วิธีการส่งเสริม SMEs คือการเพิ่มช่องทางเข้าถึงสารสนเทศและโครงการสนับสนุน ของรัฐบาลให้มีนวัตกรรมภายในวิสาหกิจ พัฒนาทักษะการจัดการ สร้างเครือข่าย SMEs เพิ่มแหล่งเงินทุน เพิ่มช่องทางให้ร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล และลดขั้นตอนความยุ่งยากในระเบียบราชการ - วิธีการสนับสนุน SMEs โดยบริการสารสนเทศให้รู้ถึงแหล่งข้อมูลและโครงการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาทางธุรกิจโยผ่านหน่วยงานของรัฐและให้เงินอุดหนุนแก่วิสาหกิจเพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจในภาคเอกชน โดยองค์กรที่สำคัญ ได้แก่ AusIndustry และ Austrade - ออสเตรเลียไม่มีการช่วยเหลือทางด้านการเงินในรูปของธนาคาร SMEs จะมีเพียงการลงทุนในรูปของ Venture Capital และรัฐบาลเข้ามามีบทบาทเพียงการไปเข้าร่วมทุนกับ Venture Capital ของเอกชนแล้วปล่อยให้เอกชนดำเนินการโดยอิสระ ซึ่งการเข้าร่วมใน Venture Capital ของรัฐบาลนั้นเป็นเพียงเพื่อลด Capital Cost บางส่วนให้กับเอกชนเท่านั้น - รัฐบาลออสเตรเลียเข้ามามีบทบาทสูงในส่วนของการพัฒนาการวิจัยต่างๆ การเข้าไปร่วมทุนในส่วนของการทำการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี และการค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของ SMEs แล้วปล่อยให้ระบบตลาดเข้ามามีบทบาท - จุดเด่นของการดำเนินนโยบายของออสเตรเลียคือ การใช้นโยบายการค้าเสรีโดยให้กลไกตลาดเป็นเครื่องมือ การมีนโยบายอุตสาหกรรมที่เป็นกลางทำให้ไม่ต้องมีนโยบายใดๆ เข้ามาเสริมเพื่อลดความเสียเปรียบเชิงนโยบายให้กับ SMEs ทำให้ออสเตรเลียไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างใหม่หรือมีแผนพัฒนา SMEs รวมทั้งมีพระราชบัญญัติพัฒนา SMEs โดยเฉพาะ จุดเด่นคือออสเตรเลียนั้นอยู่ที่นโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี R&D และการส่งเสริมให้มีการค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และการร่วมมือระหว่าง รัฐบาล เอกชน และสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-