กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ตัวแทนภาคธุรกิจยุโรป (Business Europe) ได้จัดทำข้อคิดเห็นต่อร่างแนวทางการปฏิบัติการจัดซื้อของรัฐบาล EU ที่ให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Social-Responsible Public Procurement) เพื่อยื่นให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณา
มีสาระสำคัญดังนี้
1. กรอบกฎหมายการจัดซื้อโดยรัฐของ EU (EU Directives on Public Procurement ที่ 2004 /18/ EC และที่ 2004/17/EC) ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2547 นั้น มีประเด็นของเกณฑ์แนวทางการจัดซื้อระหว่างภาครัฐและสังคมอย่างเพียงพอแล้ว คณะกรรมาธิการฯ ควรมุ่งจัดทำแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าภาคธุรกิจมีความร่วมมืออย่างจริงจังกับ Suppliers ของตนสำหรับการยื่นข้อเสนอที่สามารถปฏิบัติให้บรรลุผลตามข้อเสนอได้มากกว่าการอธิบายเชิงนโยบาย
2. ประเด็นความไม่ชัดเจนว่าหน่วยงานจัดซื้อได้จัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์ทางสังคมอย่างไร มีการติดต่อกับ suppliers ได้ดีเพียงใด เพื่อให้แน่ใจวว่ามีการจัดทำข้อเสนอสำหรับยื่นประมูลอย่างเหมาะสม คณะกรรมาธิการฯ ควรปรึกษาหารือกับหน่วยงานจัดซื้อภาครัฐในระดับชาติของประเทศสมาชิก EU ที่รับผิดชอบนโยบายจัดซื้อและยังมีข้อมูลในการติดต่อกับ Suppliers อยู่แล้ว เพื่อเสริมสร้างให้การจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์ทางสังคมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่มีความแตกต่างกันรวมทั้งความหลากหลายของความสามารถของผู้รับจ้าง
3. ข้อกังวลต่อประเด็นพื้นฐานทางกฎหมายของข้อพิจารณาทางสังคมสำหรับการจัดซื้อโดยรัฐตามคำสั่งที่เกี่ยวข้องและการอ้างอิง Case Law ตามผลตัดสินของศาลยุโรป จำเป็นต้องทำให้ข้อเสนอใหม่ๆ ที่จะออกมาชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผลการศึกษาโดยคณะกรรมาธิการฯ ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำแนวทางเรื่องข้างต้นได้รวมการตีความแนวคิดเรื่อง Decent work, fair / ethical trade และ corporate social responsibility (CSR) ที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิดคำถามด้านความชัดเจนและความแน่นอนทางกฎหมายได้ เช่น การปฏิบัติตามความตกลงองค์กรระหว่างประเทศ เป็นประเด็นระหว่าง International Labour Organization : ILO กับแต่ละประเทศที่ให้สัตยาบันจึงไม่จำเป็นต้องเรียกร้องการปฏิบัติภายใน EU ให้ซ้ำซ้อนอีก
4. Business Europe ได้แสดงความกังวลต่อคณะกรรมาธิการฯ ขาดความโปร่งใสโดยไม่ได้เผยแพร่ร่างเอกสารแนวทางปฏิบัติที่กำลังจัดทำอยู่ และเรียกร้องให้มีการเวียนร่างเอกสารดังกล่าว
5. Business Europe เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการล็อบบี้ประเด็นนโยบายการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีของ EU ดังนั้น ข้อคิดเห็นต่างๆ สามารถสะท้อนความต้องการภาคธุรกิจใน EU ต่อประเด็นการจัดจ้างของรัฐบาลที่เป็นหัวข้อหนึ่งในการเจรจา ASEAN-EU FTA ได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--