บทความ: บทความพิเศษ....สายงานโลจิสติกส์ ส.อ.ท.เรื่อง รายงานสภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 16, 2009 15:17 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

เป็นที่ทราบถึงผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุด IMF ได้ปรับตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจของโลก ในปี 2009 ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 จากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ซึ่งนับว่าต่ำสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก IMF คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไปจนถึงปลายปีนี้ โดยการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับมาตรการของประเทศคู่ค้าของไทยว่าจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วหรือช้าเพียงใด โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ,สหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจมีการถดถอยไปที่ร้อยละ -1.6 , -2.0 , -2.6 ตามลำดับ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 34.7 นอกจากนี้ ประเทศคู่ค้าของไทย เช่น จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศเศรษฐกิจใหม่ ล้วนเศรษฐกิจก็อยู่ในสภาวะชะลอตัวทัง้สิ้น

สัญญาณครึ่งปีแรกของปี 2552 เศรษฐกิจของไทยจะเข้าสู่ยุคชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ปีที่แล้ว การส่งออกติดลบถึงเฉลี่ยร้อยละ -16.35 และการส่งออกในเดือนมกราคม 2552 คาดว่าอาจจะติดลบมากกว่าร้อยละ 18 (ช่วงเวลาที่เขียนตัวเลขจริงยังไม่ทราบ) การที่ตัวเลขภาคการส่งออกมีการถดถอยรุนแรง ส่งผลต่อภาคการนำเข้าและภาคการผลิตในประเทศ โดยในเดือนธันวาคม พบว่าคำสัง่ซื้อลดลงเหลือเพียงร้อยละ 50 และอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเกือบทุกสาขา โดยดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต หรือ MPI เดือนธันวาคม เหลือเพียงร้อยละ 53.02 ทำให้อัตราการขยายตัวเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนติดลบ -19.63 นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมัน่ ผู้บริโภค (CPI) มีการหดตัว -0.4 ถือว่าต่ำสุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นสัญญาณความเสี่ยงที่ไม่ดี ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย ทัง้นี้ เมื่อบวกกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งคาดว่าจะติดลบ หากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ผลเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะโตได้เพียงร้อยละ 0.5 จากที่เคยเติบโตในปี 2551 ที่อัตราร้อยละ 2.9 โดยการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวติดลบที่ -12.5 มูลค่า 153.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เคยขยายตัวในปี 2551 ที่ร้อยละ 16.8 มูลค่า 175.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (ที่มา : กระทรวงการคลัง วันที่ 17 กพ.2552) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่ลดลง 1% มีผลต่อจำนวนคนว่างงานประมาณ 1.12 แสนคน ดังนั้น อัตราว่างงานของปี 2552 อาจอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.5 จากอัตราต้นปี 2551 ที่ร้อยละ 1.2 โดยปริมาณจำนวนคนว่างงานอาจทะลุเกินหลัก 1 ล้านคน นอกจากนี้ สัญญาณเงินตึงตัวทัง้ภาครัฐและเอกชนเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น เห็นได้จากการขาดดุลงบประมาณปี 2552 อาจสูงถึง 350,000 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการเก็บภาษีไม่เข้าเป้ากว่าร้อยละ 10 ทำให้รัฐบาลต้องมีการกู้ยืมเงินจาก ADB และ World Bank 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะต้องออกพันธบัตรอีกกว่า 200,000 ล้านบาท เป็นการแยกสภาพคล่องในตลาดการเงินของภาคเอกชน ซึ่งมีปญั หาที่ภาคธนาคารเพิ่มมาตรการระมัดระวังและเลือกลูกค้าในการปล่อยสินเชื่อ อีกทัง้ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจอาจไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในง่อย เนื่องจากรัฐบาลขาดสภาพคล่องและมีเม็ดเงินไม่เพียงพอที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

วิเคราะห์แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

1. มาตรการทางคลังของรัฐบาลอาจมีข้อจำกัดจากประมาณการเก็บภาษีไม่เข้าเป้าและงบประมาณจะติดลบ 10-15% ประมาณ 230,000 ล้านบาท รวมถึงตัวเลขการเก็บภาษี VAT เริ่มมีสัญญาณโตเพียง 0.1 (Q4/2251) จากที่เคยขยายตัว 10.1%

2. การเก็บภาษี 3 เดือนแรก -16% เป็นสัญญาณทางลบจากภาคอุตสาหกรรมหดตัวเกือบทุกสาขา มาตรการทางภาษีทุก 10,000 ล้าน บาท มีผลต่อ GDP 0.06%

3. งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 350,000 ล้าน ไม่พอเพียงที่จะกู้วิกฤติและอาจมีปญั หาและข้อจำกัดด้านการหาเงินแหล่งเงิน และต้องใช้เวลาทัง้จากการออกพันธบัตรและกู้เงินต่างประเทศ

4. มาตรการทางการเงินขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ต่ำกว่าที่ประมาณการ โดยมาตรการลดดอกเบี้ย ธนาคารแห่งประเทศไทยเหลือ 2.0% ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยมาก เนื่องจากสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ และช่วงต่างดอกเบี้ย(Spread Gap) ห่าง 4-5% อาจไม่มากพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ

5. ทางธนาคารของรัฐมีปญั หาในเชิงปฏิบัติการในการพิจารณาหลักประกันและเงื่อนไขขัน้ ตอนการปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SME ทำให้เงินช่วยเหลือ ดอกเบี้ยต่ำทัง้จาก คปส. และของรัฐบาล อาจไม่ถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเสี่ยงในการเลิกจ้างแรงงาน

6. รัฐบาลขาดสภาพคล่อง การเบิกจ่ายงบประมาณใช้เพียง 7.9% โดยมีเงินคงคลัง 52,000 ล้านบาทใช้ได้เพียงเดือนครึ่ง

7. หากกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้า เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกโอกาสจะติดลบ 3-4% และการว่างงานในช่วงปลายไตรมาส 2 อาจไปถึงหลักล้านคน (เศรษฐกิจ Q4/2551 โต -3.5)

โดยภาพรวมแล้วภาคธุรกิจของไทยจะต้องเตรียมรับมือต่อวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยและซึมยาวอย่างน้อยไปถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 โดยผลการสำรวจผู้ประกอบการไทยร้อยละ 96.4 พบว่าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว สอดคล้องกับการสำรวจผู้ประกอบการธุรกิจญี่ปุ่นในไทยที่พบว่าร้อยละ 64 ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นกัน โดยความวิตกกังวลของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยให้ความสำคัญต่อปัจจัยความเสี่ยงการเมืองในประเทศ ถึงร้อยละ 28.68 ใกล้เคียงกับปัจจัยเศรษฐกิจโลกชะลอตัวที่ให้น้ำหนักร้อยละ 27.80 และปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศไทยร้อยละ 24.3 ที่เหลือเป็นการให้น้ำหนักกับความเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยนและปจั จัยอื่นๆร้อยละ 19.10 ทัง้นี้ การวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจของไทยจะฟื้นตัวเมื่อใด คงเป็นเรื่องที่ยากที่จะพยากรณ์เพราะไม่สามารถนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีการเงินในอดีตมาใช้ในการพยากรณ์ อีกทั้ง เศรษฐกิจของไทยไปอิงและพึ่งพิงกับเศรษฐกิจของโลก โดยประเทศไทยพึ่งพิงภาคการส่งออกและนำเข้ากว่าร้อยละ 133 ของ GDP โดยสถานะภาพวิกฤติเศรษฐกิจครัง้นี้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการผลิตและภาคบริการ (Real Sector) ขณะที่มีผลกระทบต่อภาคการเงินค่อนข้างน้อย การกู้วิกฤติครัง้นี้ เป็นเรื่องที่จะให้ต่างชาติเข้ามาช่วยอย่างที่รัฐบาลพยายามที่จะ Road Show คงเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละประเทศก็ล้วนมีปญั หาภายในหนักกว่าประเทศไทยและใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน , ลดการนำเข้า , มีการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เช่น ในสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการ “Buy America” รวมถึงมาตรการสุขอนามัย , มาตรการ Anti Dumping และมาตรการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ความหวังของการแก้เศรษฐกิจครัง้นี้จึงขึ้นอยู่กับมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งลด แลก แจก แถม ใช้งบประมาณไปกว่า 3.5- 4.5 แสนล้าน คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของ GDP ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เงินเฉลี่ยประเทศละ 5-8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยคงจะต้องรอให้เศรษฐกิจและอุปสงค์โลกฟื้นตัวก่อน ซึ่งคาดว่าจะยืดเยื้อไปถึงกลางปี 2010 ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งสร้างงานประคองภาคการผลิตและภาคการส่งออกและการอัดฉีดงบประมาณกระตุ้นการบริโภคภายใน เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติด้านแรงงานที่ใหญ่โตเกินกว่าจะรับได้ โดยจะต้องมีมาตรการบูรณาการกับภาคเอกชนเพื่อหามาตรการเตรียมความพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจขาลงแบบซึมและลากยาว

แนวทางรับมือวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยของภาคธุรกิจ

1. เตรียมสถานการณ์รับมือธุรกิจซึม-ยาว ถึงสิ้นปี 2552 (หากธุรกิจอยู่ในกลุ่มเสี่ยง)

2. รักษาสภาพคล่องรับมือเงินจะตึงหนี้จะเสียมากขึ้น เศรษฐกิจชะลอตัวลาวยากไปจนถึงปลายปี 2552 (เป็นอย่างน้อย)

3. จัดให้มีแผนบริหารความเสี่ยงระยะยาว (Long Plan Risk Management) โดยใช้สมมุติฐาน ตัวเลขของธุรกิจในทางลบให้มากที่สุด

4. ให้มีระบบเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลิตผลจากทุนและทรัพยากรในการผลิต (Resources Productivity)

5. จัดให้มียุทธศาสตร์ด้านการตลาดและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ให้มียุทธศาสตร์ขยายฐานลูกค้าใหม่และขายตรงลดพึ่งพิงคนกลาง

6. เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่และ Product Line หรือ New Business เพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่และรองรับต้นทุนค่าแรง

7. สร้างทีมแบบ “One Team” และค้นหานวัตกรรมด้านการบริหาร เพื่อความอยู่รอด มีความเบ็ดเสร็จแต่ต้องยืดหยุ่น

8. Change Management บริหารความเปลี่ยนแปลงใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ รื้อโครงสร้างการบริหารให้กะทัดรัด จะไปควบรวมกิจการหรือจะไปซื้อกิจการเป็นทัง้วิกฤติและโอกาส (รวมถึงการเตรียมหางานสำรอง)

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะปัจจัยเชิงบวกเศรษฐกิจของไทยก็อาจไม่เลวร้ายอย่างที่ประมาณการเนื่องจากประเทศไทยไม่มีปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงินก็ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซัพไพร์ม นอกจากนี้ โดยภาพรวมแล้วประเทศไทยยังมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากกว่า 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ไม่มีปญั หาด้านอัตราแลกเปลี่ยนและความเชื่อมัน่ ในค่าเงินบาทยังมีสูง สำหรับด้านภาคการเมืองอย่างน้อยรัฐบาลก็มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาแก้ปัญหาสภาพคล่องและมีมาตรการการป้องกันการว่างงานได้ในระดับหนึ่งอีกทั้งปัจจัยการเมืองและความวุ่นวายทางการเมืองค่อนข้างคลี่คลายไปในทางบวก และทิศทางราคาน้ำมันโลกที่ลดลงรวมถึงดอกเบี้ยก็อยู่ในทิศทางขาลง รวมถึง ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ ไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากนักอาจจะใกล้เคียงกับปี 2551 ทางภาครัฐบาลเองก็ออกมาแจ้งว่า อย่างไรเสีย เศรษฐกิจจะไม่ติดลบในภาคธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมอาหาร ยังแจ้งว่าไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ยังมีความต้องการแรงงานอีกมาก อีกทั้ง ตัวเลขการว่างงานที่อ้างถึงเป็นหลักล้านคน ก็เป็นเพียงสมมติฐานตัวเลขจากดัชนีทางเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจอาจไม่เลวร้ายเท่าที่คิด ซึ่งทัง้หมดนี้เป็นการวิเคราะห์ในเชิงบวก ซึ่งก็ยังไม่อยากให้ผู้ประกอบการขาดกำลังใจ เพราะในวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ทุกคนยังต้องช่วยกันประคับประคอง อย่าซ้ำเติมให้สถานการณ์..แย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่...

มาตรการรัฐบาลในการแก้ปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจกับการว่างงานของไทย

ปัญหาการเผชิญหน้าซึ่งท้าทายความอยู่รอดของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ก็คือปญั หาการว่างงานที่จะสูงขึ้น อันเป็นผลจากการหดตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยในปี 2552 ซึ่งคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะโตได้อย่างเก่งก็ประมาณ 1.0-1.5% ซึ่งตัวเลขนี้เป็นการคาดคะเนในทางบวก โอกาสที่เศรษฐกิจของไทยอาจถดถอยเฉียด 0.5 หรือติดลบ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง โดยเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา , ประเทศในกลุ่มประชากรยุโรป และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเฉพาะ 3 ประเทศนี้ เป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 34.7 ซึ่งทราบดีว่าประเทศเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบเศรษฐกิจติดลบที่เฉลี่ยร้อยละ 1.6-2.8 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมหลักของไทย ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ , อิเล็กทรอนิกส์ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , เฟอร์นิเจอร์ , อัญมณี , อุปกรณ์ก่อสร้าง ฯลฯ ทัง้นี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเหล่านี้ติดลบเฉลี่ยที่ร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิต ของเดือนธันวาคม 2551 ลดลงเกือบทุกสาขาอุตสาหกรรม โดยเฉลี่ยดัชนีการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ MPI อยู่ที่ร้อยละ 53-55 ติดลบไปแล้วถึงร้อยละ 19.63

อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้แรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อัตราว่างงานของไทยที่เคยเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 1.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.4 โดยหลายหน่วยงานของรัฐได้คาดการณ์ว่าในปี 2552 การว่างงานอาจไปถึงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับวิกฤติปี 2540 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดจากสภาพคล่องในประเทศ และการลดค่าเงินบาท อัตราการว่างงานร้อยละ 4.4 มีคนตกงานประมาณ 1.1 ล้านคน แต่ก็เป็นเพียงระยะสัน้ เพราะภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวมีการเติบโตสูง และมาช่วยค้ำยันเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดในปี 2009 จะเป็นวิกฤติด้านตลาดหดตัว ส่งผลต่อสภาพคล่องและการผลิตที่ชะงักงัน และภาคการส่งออกรวมถึงภาคการท่องเที่ยว และภาคการลงทุนมีการขยายตัวอาจถึงขั้นติดลบ เศรษฐกิจของไทยจึงจะซบเซาแบบลากยาว โดยตัวเลขการว่างงานจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจรายไตรมาส ดังนี้

ไตรมาสที่ 4 ปี 2008 GDP 1% การว่างงาน 1.4% จำนวน 525,000 คน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2009 GDP 0.5-1.0% การว่างงาน 1.8% จำนวน 630,000 คน

ไตรมาสที่ 2 ปี 2009 GDP 0% การว่างงาน 2.5% จำนวน 900,000 คน

จากสภาวะปจั จัยเสี่ยงของสถานการณ์การเลิกจ้างของภาคแรงงาน จากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจจะเริ่มมีความรุนแรงโดยจะเห็นได้จากในช่วงปี 2551 จากตัวเลขของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีการเลิกจ้างอย่างเป็นทางการไปแล้ว 60,105 คน และคาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2552 ลูกจ้างในสถานประกอบการมีแนวโน้มอาจถูกเลิกจ้างถึง 69,031 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งจากการลดค่าจ้างและล่วงเวลาอีกประมาณ 227,067 คน แบ่งเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 142,500 คน , เฟอร์นิเจอร์ 12,600 คน ,กลุ่มสิ่งทอ — เครื่องแต่งกาย-รองเท้า ประมาณ 13.200 คน , กลุ่มโลหะการ 24,800 คน , กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของไทย ซึ่งคาดว่า กำลังการผลิตในไตรมาสแรกจะลดลงถึง 40% กระทบลูกจ้างที่มีโอกาสถูกเลิกจ้างถึงประมาณ 40,000 คน โดยพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลิกจ้าง 5จังหวัดแรก ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 19,462 คน , จังหวัดนครราชสีมา 10,804 คน , จังหวัดปราจีนบุรี 9,612 คน , จังหวัดสมุทรปราการ 9,329 คน และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5,647 คน

ข้อบ่งชี้ของกิจการที่มีแนวโน้มที่จะเลิกจ้างประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้

1. คำสัง่ซื้อลดลง ทำให้ต้องลดการผลิต และหรือลดเวลาการทำงาน

2. โรงงานเริ่มมีปญั หาสภาพคล่อง ไม่สามารถนำเข้าหรือสัง่ซื้อวัตถุดิบให้พอเพียงในการผลิต

3. การผลิตของโรงงาน หยุดบ้าง ปิดบ้าง ไม่เป็นเวลา

4. ลดวันทำงานและลดค่าจ้าง

5. เริ่มมีสัญญาณค้างจ่ายค่าจ้าง หรือเริ่มจ่ายค่าจ้างไม่ตรงเวลา

6. เริ่มมีสัญญาณการเลิกจ้าง Outsource และหรือเลิกจ้างพนักงานบางแผนก

สถานการณ์การว่างงานของไทย จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มเป้าหมายส่งออกอาจลงสู่จุดต่ำสุด (Bottle line) ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกที่อาจจะยังคงชะลอตัว ซึ่งคาดว่าในไตรมาสแรก ตัวเลข GDP อาจติดลบมากกว่าร้อยละ 2 จากตัวเลขทางเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็นถึงการที่ภาครัฐจะต้องเตรียมการรองรับคนงานจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมที่จะมีนักศึกษาจบใหม่ประมาณ 525,940 คน และเด็กมัธยมออกจากระบบการศึกษามาหางานประมาณ 126,084 คน ที่จะกลายเป็นปัญหาความวุ่นวายของสังคมและเป็นปัจจัยเสี่ยงของรัฐบาล ดังนั้น รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อลดการว่างงาน ซึ่งภาคส่งออกและการลงทุนไม่อาจขับเคลื่อนเศรษฐกิจจริงในปี 2552 ทำให้ภาคการผลิตชะลอตัวส่งผลต่อการว่างงานในต้นไตรมาส 3 ทัง้การว่างงานสุทธิหลังหักการว่างงานตามธรรมชาติซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.0% โดยการเพิ่มของการว่างงานสุทธิจะทำให้เกิดช่องว่างของรายได้ผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงลดลง ทัง้นี้ การว่างงานสูงขึ้นจะยิ่งทำให้ การบริโภคจะลดลงส่งผลเป็นตัวทวีคูณ (Multiplier Effect) ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตหรือเลิกผลิต ส่งผลทำให้เป็นปัจจัยไปสู่สภาวะเงินฝืด อีกทัง้ งบประมาณจะติดลบประมาณ 150,000 ล้าน จะทำให้รัฐบาลจะขาดรายได้ไปใช้จ่าย และไปทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น และส่งผลต่อการหดตัวลงทางเศรษฐกิจ

อัตราการว่างงานต่อการเติบโตของ GDP

           GDP        อัตราว่างงาน     จำนวนคน (ล้าน)
           -4%           4.1%           1.64
           -3%           3.7%           1.528
           -2%           3.4%           1.416
           -1%           3.1%           1.304
            0%           2.8            1.192
            1%           2.5            1.080
          1.5%           2.35           1.024
          2.0%           2.20           0.968
          2.5%           2.05           0.912
          3.0%           1.90           0.856
          3.5%           1.40           0.750
          4.0%           1.20           0.620

ทั้งนี้ ซึ่งจำนวนการว่างงานอาจมากถึง 900,000 หรือเกิน 1,000,000 คน จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการพยุงภาคเศรษฐกิจ ด้วยการอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาด้วยข้อจำกัดของงบประมาณและกฎหมายอาจทำให้มาตรการต่างๆของรัฐบาลเป็นง่อย เพราะเม็ดเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจมีเพียงงบประมาณกลางปีประมาณแสนกว่าล้านบาท และดึงเงินบางส่วนของประกันสังคม ซึ่งก็ไม่ได้มากพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้สามารถอุ้มคนว่างงานได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องไม่สับสนกับงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณช่วยค่าครองชีพคนละ 2,000 บาท , งบโครงการเปลี่ยนอาชีพ (Re-Train) หรือโครงการอบรมคนว่างงาน 6,900 ล้านบาท ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงานจะต้องทำกันเป็นแบบแพ็คเกจและบูรณาการกันไม่ว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน , สำนักงานประกันสังคม รวมถึง การปล่อยสินเชื่อด้วยเงินประกันสังคม 6,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารของรัฐ ซึ่งอาจมีปัญหาในเชิงปฏิบัติในด้านหลักประกันสินเชื่อ ซึ่งมองว่ารัฐบาลอาจจะมีเจตนาที่ดี แต่ที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานของรัฐไม่มีการบูรณาการกันและดูเหมือนจะแก่งแย่งกันทำงานด้วยซ้ำไป หลายโครงการภาพยังไม่ชัด รัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีออกมาพูดกันคนละอย่าง ทำให้เกิดการสับสนทัง้นายจ้าง ลูกจ้าง และคนที่ตกงาน เช่น โครงการอบรมคนว่างงาน ว่าจะอบรมกันอย่างไร การจ่ายเงินจะทำกันอย่างไร ด้วยวิธีไหน หากให้นายจ้างอบรมกันเองจะมีวิธีควบคุมกันอย่างไรไม่ให้นายจ้างนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือไม่ให้เงินตกไปอยู่กับนายจ้างซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย เอาเป็นว่าเงินค่าครองชีพ 2,000 บาท ซึ่งควรจะเป็นเรื่องง่ายๆ ก็ยังกำหนดวิธีการไม่ชัดเจน ว่าจะจ่ายเป็นเช็คหรือจะจ่ายเงินผ่านธนาคาร ทำให้เม็ดเงินที่ควรจะลงไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและหรือลดการว่างงานต้องล่าช้า และไม่ทันการณ์ซึ่งงบประมาณที่มีจำกัดรัฐบาลควรจะใช้ให้คุ้มค่าไม่ให้รัว่ ไหล ใช้ให้คุ้มประโยชน์และมีประสิทธิภาพถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ซึ่งวิกฤติแรงงานจะเป็นความท้าทายความสามารถของรัฐบาลควบคู่กับการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องลากและซึมยาวไปถึงปีหน้าอย่างแน่นอน..

--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ