บทบาทของ Sovereign Wealth Funds
กองทุนความมั่นคงแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds) ได้รับความสนใจจากทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปัจจัยจากการเพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันดิบ และการเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ มีรายได้ หรือมีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ในขณะที่ช่องทางการลงทุนเท่าเดิม ทำให้มีเงินในระบบมากเกินความจำเป็น จึงต้องหาช่องทางการลงทุน ใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่ดีขึ้นและรักษาอัตราผลตอบแทนของการลงทุนให้อยู่ในระดับที่ดี
ณ สิ้นปี 2550 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกมีประมาณ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงปี 2540 ที่เงินทุนสำรอง ระหว่างประเทศทั่วโลกมีประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 18 % ของงินทุนสำรองฯ ของโลก ณ สิ้นปี 2550 ได้ถูกนำมาจัดตั้ง Sovereign Wealth Funds ในขณะที่เมื่อสิ้นปี 2547 มีการนำทุนสำรองฯ มาจัดตั้งเพืยง 4 % ทั้งนี้เงินทุนสำรองฯ ของประเทศในเอเชียเพิ่มสูงขึ้น มาก เมื่อเทียบกับในภูมิภาคอื่น ๆ โดยมีมูลค่ารวมเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 65 % ของเงินทุนสำรองฯ ของโลก ในขณะที่ช่วงหลัง วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ประเทศในแถบเอเชียมีเงินทุนสำรองฯ ไม่ถึง 0.8 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 45% ของเงินสำรองฯ ทั่วโลก ชี้ให้ เห็นว่าถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Sovereign Wealth Funds มากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
ตัวอย่าง กองทุนความมั่นคงแห่งชาติ 2007
ประเทศ ชื่อกองทุน ปีที่ก่อตั้ง สินทรัพย์(ล้าน$) สาธารณรัฐอาหรับ Abu Dhabi Investment Authority 1976 875,000 เอมิเรส นอร์เวย์ Norway Government Pension Fund Global 1996 373,000 สิงคโปร์ 1. Government of Singapore Investment Corporation (GIC) 1981 330,000 2. Temasek Holding 1974 159,210
GIG บริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ
Temasek บริหารสินทรัพย์ของรัฐบาล
ซาอุดิอาราเบีย Saudi Arabian funds of various types na 300,000 คูเวต Reserve Fund for Future Generations 1953 250,000 จีน China Investment Corporation (CIC) 2007 200,000 รัสเซีย Stabilization Fund 2003 133,000 ลิเบีย Oil Reserve Fund 2005 50,000 อัลกีเลีย Fonds de regulation des recettes 2000 42,600 กาตาร์ Qatar Investment Authority na 40,000 บรูไน Brunei Investment Authority, 1983 1983 30,000 มาเลเซีย Khazanah National BHD 1993 25,700 เกาหลีใต้ Korean Investment Corporation (KIC) 2006 20,000 ชิลี The Copper Fund 1985 17,820 คาซัคสถาน Kazakhstan National Fund 2000 17,600 ไต้หวัน National Stabilization Fund na 15,000
ที่มา : Stephen , Jen (2007) and IMF (2008)
ประโยชน์ของกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ Sovereign Wealth Funds
1) สร้างโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงและลดความเสี่ยงได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปแบบดั้งเดิมที่ ธนาคารชาติเป็นผู้จัดการ การบริหารในรูปของกองทุนความมั่นคงแห่งชาติสามารถกระจายการถือครองสินทรัพย์ได้หลากหลายมากขึ้น จึงช่วยกระจาย ความเสี่ยงได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันแนวทางหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยลดความเสี่ยงจากการเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งเป็นสินทรัพย์ ส่วนใหญ่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยถือครองอยู่) โดยการกระจายไปถือเงินตราสกุลอื่น เช่น ยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือเยน เป็นต้น การกระจายถือ ครองดังกล่าวก็ยังต้องเผชิญกับการผันผวนของเงินสกุลเหล่านี้ แต่การกระจายการลงทุนของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติสามารถกระจายไปลงทุนใน สินทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้น พันธบัตร จึงกระจายความเสี่ยงได้มากกว่าและโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่า
2) เป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารระบบเศรษฐกิจ สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และ นโยบายการคลัง การบริหารเงินทุนของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติอาจใช้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา เพื่อสร้าง เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน หรือช่วยบริหารงบประมาณแผ่นดิน เช่น บริหารรายได้จากสินทรัพย์ของรัฐบาลที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติที่อาจหมด ไปได้ในอนาคต เพื่อคนในอนาคต (ตัวอย่างประเทศรัสเซีย นอร์เวย์ ประเทศในกลุ่ม OPEC ชิลี นำรายได้จากน้ำมัน ก๊าซ และทองแดง มาสร้างเป็น กองทุนเพื่อสร้างรายได้ในอนาคตให้กับลูกหลาน)
3) ช่วยรักษาเสถียรภาพการเงินของโลก กองทุนความมั่นคงแห่งชาติมักจะลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ จึงเป็นกลไกที่ช่วยทำให้มีการ เคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินให้กับประเทศที่ประสบปัญหา เช่น ในช่วงปี 2007 กองทุนความมั่นคงแห่ง ชาติในกลุ่มประเทศเอเชียได้เพิ่มเงินทุนให้กับสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ขาดทุนจากกรณีปัญหาวิกฤต subprime ซึ่งนอกเหนือจากจะช่วยสถาบันการเงินให้อยู่ได้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลาม ทำลายเสถียรภาพทางการเงินของเศรษฐกิจของโลกได้ นอกจากนี้ การลงทุนของกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ มักจะเป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่สร้างแรงกดดันทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนและการผันผวนของ ระบบการเงินของประเทศที่ได้รับเงินทุน ซึ่งแตกต่างจากกองทุนภาคเอกชนหรือกองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge funds) ซึ่งมักจะเป็นการลงทุน ระยะสั้น ส่งผลให้เกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ Sovereign Wealth Funds จำเป็นจะต้องศึกษาความเหมาะและความเป็น ไปได้ อย่างละเอียด ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ Sovereign Wealth Funds เพื่อบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ การ วางกลยุทธ์ ให้สามารถใช้ประโยชน์จาก Sovereign Wealth Funds ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดดจนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความ รู้ความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุน ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมั่นคง ประการต่อมาจะต้องคำนึงถึง จำนวนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศว่ามีเพียงพอสำหรับจัดตั้งกองทุน Sovereign Wealth Funds โดยไม่กระทบต่อการชำระหนี้ต่างประเทศทั้ง ระยะสั้นและระยะยาว ท้ายที่สุดซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งโดยจะต้องคำนึงในเรื่องการบริหารจัดการกองทุนด้วยธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ตรวจสอบ ได้ และปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
เอกสารอ้างอิง
เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 : ความพร้อมในการจัดตั้ง Sovereign Wealth Funds ความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds : SWF) : รศ.ดร. ถวิล นิลใบ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยมิอาจรับรองความถูกต้องสมบูรณ์เพื่อใช้ประโยชน์ใด ๆ และอาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ ตลอดเวลา โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจแต่อย่างใด และความเห็นดังกล่าวไม่ จำเป็นต้องสอดคล้องกับนโยบายของสภาอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--