วันนี้(30 มิ.ย.51) เวลา 10.00 น. ที่องค์การยูเนสโก เอกมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ เดินทางเข้ายื่นหนังสือคัดค้านแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อนายเชลดอน เชฟเฟอร์ ผู้อำนวยการยูเนสโกประจำประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้ายื่นหนังสือว่า เรื่องนี้เราต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำได้ แต่ก็รู้ว่าไม่ง่าย เพราะเวลาที่คณะกรรมการพิจารณาก็คงยึดถือเอาจุดยืนของรัฐบาลเป็นหลัก แต่คิดว่าในส่วนของภาคประชาชน ส.ว. หรือฝ่ายค้านที่มายื่นหนังสือให้กับองค์การยูเนสโกนั้น ทุกคำร้องที่ยื่นไปทางยูเนสโกก็ได้ส่งต่อให้คณะกรรมการมรดกโลก เราย้ำแต่เพียงว่า การที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และอนุรักษ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบดีที่สุดคือการขึ้นทะเบียนภายใต้บรรยากาศที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและสนับสนุน ซึ่งเราเห็นว่าบรรยากาศขณะนี้ไม่เป็นอย่างนั้น สืบเนื่องจากความไม่โปร่งใสในการดำเนินการของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราสนับสนุนในลักษณะที่ทุกฝ่ายสามารถที่จะสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง ดีที่สุดคือการขึ้นบริเวณต่างๆ ร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า อยากให้ครม.ได้ทบทวนว่าประโยชน์ของประเทศชาติอยู่ตรงไหน อย่าไปนึกว่าจุดยืนของรัฐบาลเคยเป็นอย่างไรแล้วไม่ยอมรับฟังคำทักท้วง คำคัดค้าน เพราะถ้าฟังจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีกว่า และสิ่งที่ดีที่สุดคือ ครม.ต้องไปดูคำตัดสินของศาลปกครองที่ห้ามเอามติครม.ที่ลงนามแถลงการณ์ร่วมไปอ้างอิง และทราบว่าการประชุมของครม.มีรัฐมนตรีหลายคนไม่ทราบละเอียด และหลายคนเมื่อทราบรายละเอียดแล้วก็ไม่สบายใจ และคิดว่าอย่างน้อยที่สุดน่าจะมีการไปปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจในแง่ข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเห็นว่าควรเร่งเดินในเส้นทางนั้นมากกว่า เพราะเวลาเหลือไม่มากแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะมีความเคลื่อนไหวในประเทศ แต่ในส่วนของกัมพูชาอาจยึดมติครม.แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่าฝ่ายกัมพูชาคงพยายามจะยึดแถลงการณ์รร่วม เรพาะรมว.การต่างประเทศของไทยไปลงนามไว้แล้ว แต่เราก็ต้องพยายามสร้างควมเข้าใจว่าจริงๆ แล้วการที่จะอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างดีที่สุดคือ ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายให้ความสนับสนุนบนบรรยากาศของความร่วมมือกัน และชัดเจนว่าวันนี้ขาดสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือมาช่วยกันทบทวนว่าแนวทางที่จะเดินไปข้างหน้าคืออะไร ทั้งนี้เป็นไปได้ที่กัมพูชาจะแถลงการณ์ร่วมไปโต้แย้งในคณะกรรมการมรดกโลกได้ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาแต่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข เมื่อถามว่า ถ้ากระทรวงการต่างประเทศตอบตกลงว่า ถ้ายิ่งไปอุธรณ์จะยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับศาล และคิดว่าศาลคงไม่ช้าแม้จะมีการอุธรณ์ก็คงต้องเร่งวินิจฉัยอย่างน้อยให้มีการคุ้มครองชั่วคราว ถ้าสามารถวินิจฉัยในตัวคดีหลักเลยก็จะยิ่งเป็นประโยชน์
เมื่อถามว่า ความบกพร่องที่รีบพิจารณาจนออกมาเป็นมติครม. ควรจะมีผู้รับผิดชอบอย่างไร หัวหน้าพรรคปชป.กล่าวว่า เรายืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดว่าควรจะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งหลายฝ่ายได้พูดถึงการปรับครม.ด้วย แต่ตนก็แปลกใจว่านายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีในลักษณะที่ทำให้คนเห็นว่ารัฐบาลของท่านฟังเสียงสะท้อนต่างๆ และเร่งแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่น ในการแก้ปัญหา กลับท้าทายว่าเป็นอำนาจเป็นสิทธิของท่าน เพราะฉะนั้นจะทำหรือไม่ทำก็เป็นเรื่องท่านแล้วใครจะทำไม ซึ่งตนคิดว่าสิ่งที่เราอภิปรายไม่ไว้วางใจมา และที่เกี่ยวกับตัวนายกฯ ก็คือเรื่องนี้ ว่าทุกครั้งที่มีโอกาสความสมานฉันท์ และทุกครั้งที่มีโอกาสทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน นายกฯ กลับปฏิเสธเพียงเพื่อต้องการที่จะได้พูดคุยว่าท่านเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องไปเชื่อใครฟังใคร ซึ่งมันไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศ
ต่อข้อถามว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ ควรมีบทบาทให้มากกว่านี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าอย่างน้อยที่สุดในการประชุมครม.วันที่ 1 ก.ค.นี้ ที่ประชุมจะเอาเรื่องนี้มาพิจารณา และควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะทบทวน แก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้ ส่วนที่มีการเตรียมดำเนินคดีอาญากับครม.ทั้งคณะนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในส่วนตัวขณะนี้ยังไม่มองไปถึงการมุ่งต่อตัวบุคคล ตราบเท่าที่คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่พิจจารณา จะพยายามมุ่งไปที่ทำอย่างไรไม่ให้ความเสียเกิดขึ้น ส่วนใครทำอะไรผิดค่อยมาว่ากันทีหลัง
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สำหรับหนังสือของฝ่ายค้านที่ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาฯคนที่ 1 ว่าการลงนามแถลงการณ์ร่วมผิดมาตรา 190 นั้น นายสมศักดิ์บอกว่าจะนำเสนอนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ทันที ซึ่งคาดว่าวันนี้ (30 มิ.ย.) นายชัยจะส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิของส.ส.ที่จะทำได้ และขอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างเร่งด่วน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2551--จบ--
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้ายื่นหนังสือว่า เรื่องนี้เราต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำได้ แต่ก็รู้ว่าไม่ง่าย เพราะเวลาที่คณะกรรมการพิจารณาก็คงยึดถือเอาจุดยืนของรัฐบาลเป็นหลัก แต่คิดว่าในส่วนของภาคประชาชน ส.ว. หรือฝ่ายค้านที่มายื่นหนังสือให้กับองค์การยูเนสโกนั้น ทุกคำร้องที่ยื่นไปทางยูเนสโกก็ได้ส่งต่อให้คณะกรรมการมรดกโลก เราย้ำแต่เพียงว่า การที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และอนุรักษ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบดีที่สุดคือการขึ้นทะเบียนภายใต้บรรยากาศที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและสนับสนุน ซึ่งเราเห็นว่าบรรยากาศขณะนี้ไม่เป็นอย่างนั้น สืบเนื่องจากความไม่โปร่งใสในการดำเนินการของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราสนับสนุนในลักษณะที่ทุกฝ่ายสามารถที่จะสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง ดีที่สุดคือการขึ้นบริเวณต่างๆ ร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า อยากให้ครม.ได้ทบทวนว่าประโยชน์ของประเทศชาติอยู่ตรงไหน อย่าไปนึกว่าจุดยืนของรัฐบาลเคยเป็นอย่างไรแล้วไม่ยอมรับฟังคำทักท้วง คำคัดค้าน เพราะถ้าฟังจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีกว่า และสิ่งที่ดีที่สุดคือ ครม.ต้องไปดูคำตัดสินของศาลปกครองที่ห้ามเอามติครม.ที่ลงนามแถลงการณ์ร่วมไปอ้างอิง และทราบว่าการประชุมของครม.มีรัฐมนตรีหลายคนไม่ทราบละเอียด และหลายคนเมื่อทราบรายละเอียดแล้วก็ไม่สบายใจ และคิดว่าอย่างน้อยที่สุดน่าจะมีการไปปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจในแง่ข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเห็นว่าควรเร่งเดินในเส้นทางนั้นมากกว่า เพราะเวลาเหลือไม่มากแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะมีความเคลื่อนไหวในประเทศ แต่ในส่วนของกัมพูชาอาจยึดมติครม.แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่าฝ่ายกัมพูชาคงพยายามจะยึดแถลงการณ์รร่วม เรพาะรมว.การต่างประเทศของไทยไปลงนามไว้แล้ว แต่เราก็ต้องพยายามสร้างควมเข้าใจว่าจริงๆ แล้วการที่จะอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างดีที่สุดคือ ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายให้ความสนับสนุนบนบรรยากาศของความร่วมมือกัน และชัดเจนว่าวันนี้ขาดสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือมาช่วยกันทบทวนว่าแนวทางที่จะเดินไปข้างหน้าคืออะไร ทั้งนี้เป็นไปได้ที่กัมพูชาจะแถลงการณ์ร่วมไปโต้แย้งในคณะกรรมการมรดกโลกได้ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาแต่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข เมื่อถามว่า ถ้ากระทรวงการต่างประเทศตอบตกลงว่า ถ้ายิ่งไปอุธรณ์จะยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับศาล และคิดว่าศาลคงไม่ช้าแม้จะมีการอุธรณ์ก็คงต้องเร่งวินิจฉัยอย่างน้อยให้มีการคุ้มครองชั่วคราว ถ้าสามารถวินิจฉัยในตัวคดีหลักเลยก็จะยิ่งเป็นประโยชน์
เมื่อถามว่า ความบกพร่องที่รีบพิจารณาจนออกมาเป็นมติครม. ควรจะมีผู้รับผิดชอบอย่างไร หัวหน้าพรรคปชป.กล่าวว่า เรายืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดว่าควรจะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งหลายฝ่ายได้พูดถึงการปรับครม.ด้วย แต่ตนก็แปลกใจว่านายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีในลักษณะที่ทำให้คนเห็นว่ารัฐบาลของท่านฟังเสียงสะท้อนต่างๆ และเร่งแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่น ในการแก้ปัญหา กลับท้าทายว่าเป็นอำนาจเป็นสิทธิของท่าน เพราะฉะนั้นจะทำหรือไม่ทำก็เป็นเรื่องท่านแล้วใครจะทำไม ซึ่งตนคิดว่าสิ่งที่เราอภิปรายไม่ไว้วางใจมา และที่เกี่ยวกับตัวนายกฯ ก็คือเรื่องนี้ ว่าทุกครั้งที่มีโอกาสความสมานฉันท์ และทุกครั้งที่มีโอกาสทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน นายกฯ กลับปฏิเสธเพียงเพื่อต้องการที่จะได้พูดคุยว่าท่านเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องไปเชื่อใครฟังใคร ซึ่งมันไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศ
ต่อข้อถามว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ ควรมีบทบาทให้มากกว่านี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าอย่างน้อยที่สุดในการประชุมครม.วันที่ 1 ก.ค.นี้ ที่ประชุมจะเอาเรื่องนี้มาพิจารณา และควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะทบทวน แก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้ ส่วนที่มีการเตรียมดำเนินคดีอาญากับครม.ทั้งคณะนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในส่วนตัวขณะนี้ยังไม่มองไปถึงการมุ่งต่อตัวบุคคล ตราบเท่าที่คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่พิจจารณา จะพยายามมุ่งไปที่ทำอย่างไรไม่ให้ความเสียเกิดขึ้น ส่วนใครทำอะไรผิดค่อยมาว่ากันทีหลัง
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สำหรับหนังสือของฝ่ายค้านที่ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาฯคนที่ 1 ว่าการลงนามแถลงการณ์ร่วมผิดมาตรา 190 นั้น นายสมศักดิ์บอกว่าจะนำเสนอนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ทันที ซึ่งคาดว่าวันนี้ (30 มิ.ย.) นายชัยจะส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิของส.ส.ที่จะทำได้ และขอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างเร่งด่วน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2551--จบ--