คปภ. แนะผู้เอาประกันภัยเร่งสำรวจความเสียหายหลังน้ำลด

ข่าวทั่วไป Friday November 4, 2011 11:51 —คปภ.

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่เกิดเหตุอุทกภัยขึ้นในหลายพื้นที่ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลให้ประชาชนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน สำนักงาน คปภ. ในฐานะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย มีความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขอให้ผู้เอาประกันภัยที่มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองภัยน้ำท่วมได้แก่ กรมธรรม์ประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรมธรรม์ประกันสุขภาพ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย (เฉพาะที่รวมภัยน้ำท่วม) และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นต้น เมื่อน้ำลดแล้วให้รีบสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนและทรัพย์สินทันที และรีบแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบ เพื่อดำเนินการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน คปภ. ขอแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นเจ้าของรถที่ถูกน้ำท่วม เพื่อไม่ให้รถยนต์ได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น ดังนี้

1. อย่าสตาร์ทรถยนต์ในทันที เจ้าของรถควรเปิดฝากระโปรงรถ เพื่อสำรวจให้มั่นใจว่าไม่มีเศษอะไรมาติดอยู่ในตัวเครื่อง รวมถึงตรวจเช็คชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ในตัวถัง พร้อมทั้งสายไฟในบริเวณต่างๆ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ หากไม่มั่นใจให้นำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่คาดคิด

2. อย่าพ่วงไฟควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีระบบไฟฟ้าลัดวงจรที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบเครื่องยนต์ และระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 ทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ทำประกันภัยจะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

          ประเภทการประกันภัย                     ความคุ้มครอง
1.การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคล
  1.1 การประกันชีวิต                       1.1 เสียชีวิตทุกกรณี (รวมการเสียชีวิตจากภัยน้ำท่วม)
  1.2 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล           1.2 คุ้มครองกรณีเสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำ หรือถูกน้ำซัดจมหายไป
  1.3 การประกันสุขภาพ                     1.3 คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยจากเหตุการณ์ดังกล่าว

2. การประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์สิน
(บ้าน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ)
  2.1 การประกันอัคคีภัย                     2.1 ผู้ที่ได้ทำประกันอัคคีภัยและต้องซื้อภัยคุ้มครอง "ภัยน้ำท่วม " เพิ่มเติมไว้
  2.2 การประกันความเสี่ยงทรัพย์สิน            2.2 ผู้ที่ได้ทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ซึ่งให้ความคุ้มครองความเสียหาย

ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงภัยน้ำท่วมด้วย

  2.3 การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก             2.3 คุ้มครองกรณีผู้ประกอบการต้องปิดกิจการ และขาดรายได้จากภัยน้ำท่วมด้วย

3.การประกันภัยรถยนต์
  3.1 การประกันภัยรถยนต์                  3.1 คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น
  • หากเสียหายบางส่วนจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย

  • หากรถยนต์เสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้ หรือความเสียหายที่มีมูลค่าความเสียหาย

ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของมูลค่ารถ บริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็ม

ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

 3.2 การประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น           3.2 สำหรับรถที่ประกันภัยรถภาคสมัครใจและได้มีการซื้อประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
      (นอกจากประเภท 1)                     ไว้ด้วยก็จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มในส่วนนี้ตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้
3.3 การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ     3.3 กรณีที่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บขณะที่ขับขี่หรือโดยสารในรถนั้น ในเบื้องจะรับ
      (พ.ร.บ.)                             ความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น

กรณีค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท กรณีเสียชีวิตได้รับ 35,000 บาท

ฝ่ายสื่อสารองค์กร

โทร 0-2513-1680

ที่มา: http://www.oic.or.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ