1. ทบทวนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนโดยคำนึงถึงความมั่นคง สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจ และภาระหนี้สินของบริษัทประกันภัย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล อาทิ หลักการพิจารณาสัดส่วนการลงทุนในลักษณะ Counterparty limit, Product limit และ Issuer limit
2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นให้มีความชัดเจน เข้าใจง่ายขึ้น และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงิน ตลาดทุน เช่น การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)
3. เพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น หลักธรรมาภิบาล และข้อกำหนดเกี่ยวกับความสามารถและความเหมาะสมของบุคคลากร เช่น บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท การแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดูแลการลงทุนของบริษัท และให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ให้สอดคล้องเพียงพอกับสำรองประกันภัยและภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัย บริษัทที่ประสงค์หรือมีการลงทุนเกินสัดส่วนที่กำหนดต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน แสดงความพร้อมและขอความเห็นชอบจากสำนักงาน โดยสำนักงาน จะพิจารณาการลงทุนเกินสัดส่วนที่กำหนด ในลักษณะการลงทุนในพอร์ตการลงทุนเพื่อตนเอง (Proprietary Investment Portfolio) โดยใช้กระแสเงินลงทุนของตนเอง
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า การปรับปรุงประกาศ คปภ. ฉบับนี้ เป็นการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์เงื่อนไขการลงทุนใหม่ทั้งฉบับ เพื่อให้เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับพัฒนาการในตลาดเงิน และตลาดทุน ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังคงยึดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการรักษาระดับความเสี่ยงไว้เหมือนเดิม เพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากร โดยก่อนหน้านี้สำนักงาน คปภ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางกำกับการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัย อันประกอบด้วยผู้แทนจาก ก.ล.ต. ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา เพื่อให้แนวทางกำกับการลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และแนวทางการกำกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องในภาคการเงิน นอกจากนี้ ยังได้นำความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาเพื่อให้บริษัทมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง
ที่มา: http://www.oic.or.th