1. กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติที่ยังมีความคุ้มครองอยู่จำนวนทั้งสิ้น 1,410,305 ฉบับ
2. ทุนประกันภัยพิบัติที่ยังมีความคุ้มครองอยู่ 64,923 ล้านบาท
3. เบี้ยประกันภัยพิบัติสะสม 1,319 ล้านบาท
4. ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ที่ยังมีความคุ้มครองอยู่19,037 ล้านบาท
5. เบี้ยประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ สะสม 742 ล้านบาท
ปัจจุบันกองทุนฯ ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว โดยทำหน้าที่รับประกันภัยพิบัติต่อจากบริษัทประกันวินาศไทย ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงภัยพิบัติสามารถหาซื้อความคุ้มครองได้ในอัตราเบี้ยประกันและเงื่อนไขความคุ้มครองที่เหมาะสม อีกทั้ง ยังทำให้ตลาดประกันภัยโดยรวมสามารถกลับเข้าสู่การดำเนินธุรกิจเป็นปกติได้เป็นลำดับ ซึ่งมีผลทำให้บริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศเกิดความเชื่อมั่น และเข้ามารับประกันภัยต่อในตลาดประกันภัยไทยเพิ่มขึ้น บริษัทประกันภัยสามารถรับเสี่ยงภัยไว้เองสูงขึ้น ทั้งภาคครัวเรือน ธุรกิจ SME และภาคอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการด้านประกันภัย เห็นควรปรับบทบาท และวิสัยทัศน์ของกองทุนฯ ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานต่อไปในอนาคต โดยจะพิจารณาความเสี่ยงภัยโดยรวมของทั้งประเทศ และวางกรอบการศึกษาในเชิงลึกและครอบคลุม เพื่อพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของกองทุนฯ ในระยะถัดไป
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า การปรับบทบาทของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ จะศึกษารูปแบบการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติของประเทศต่างๆ ที่มีประสบการณ์การเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไต้หวัน ประเทศตุรกี และประเทศนิวซีแลนด์ เป็นต้น โดยพิจารณา รูปแบบกรมธรรม์ ความคุ้มครอง แหล่งเงินทุน การจ่ายค่าสินไหมทดแทน และการมีส่วนร่วมของรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทย และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 และเว็บไซต์ www.oic.or.th
ที่มา: http://www.oic.or.th