โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 498,753 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นที่ร้อยละ 13.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของธุรกิจประกันชีวิตซึ่งมีการพัฒนาช่องทางการขายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มช่องทางการขายผ่านร้านสะดวกซื้อต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อยใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยการประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด คือ การประกันชีวิตประเภทสามัญ จำนวน 429,257 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 15.56 รองลงมาประเภทกลุ่ม จำนวน 55,978 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.77 และประเภทอุตสาหกรรม จำนวน 7,718 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.46 และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 205,247 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 117,903 ล้านบาท หดตัวเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.74 โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากการประกันภัยรถภาคสมัครใจ 102,515 ล้านบาท และจากการประกันภัยรถภาคบังคับ 15,388 ล้านบาท รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 70,992 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.12 และการประกันอัคคีภัย จำนวน 11,059 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 6.42
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาศที่ 4 ปี 2557 มีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนๆ เป็นผลให้ภาพรวมธุรกิจประกันภัยมีความเข้มแข็ง และยังคงรักษาอัตราการเติบโตที่น่าพอใจ สะท้อนได้จากตัวเลขธุรกิจประกันภัยในภาพรวมปี 2557 มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 9.23 โดยแบ่งเป็นการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตร้อยละ 13.00 และธุรกิจประกันวินาศภัยร้อยละ 1.05 ซึ่งจากนี้ไปแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจประกันวินาศภัยน่าจะปรับตัวสูงขึ้นทั้งตามอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงค่าสินไหมค้างจ่ายที่ลดต่ำลงจากการจ่ายค่าสินไหมทดแทนมหาอุทกภัยปี 2554 แล้วเสร็จ โดยในปี 2558 สำนักงาน คปภ. คาดว่าธุรกิจประกันวินาศภัยจะขยายตัวร้อยละ 9 ในขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตจะขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปี 2557 ที่ร้อยละ 13 ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยจะมุ่งเน้นประสานความร่วมมือในการผลักดันให้ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกันภัยสำหรับรายย่อย ที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ำ มีความคุ้มครองที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือสังคม ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา: http://www.oic.or.th