1. ประสานบริษัทประกันภัยพัฒนารูปแบบกรมธรรม์ฯ ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยเบี้ยประกันภัยไม่เกิน 1,000 บาท ปรับอัตราเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสม ปรับปรุงสถานีวัดน้ำฝนให้สอดคล้องในแต่ละพื้นที่ และเพิ่มจำนวนจังหวัดที่รับประกันภัยให้มากขึ้น
2. ให้บริษัทประกันชีวิต ซึ่งมีตัวแทนของบริษัทอยู่ทั่วประเทศเร่งประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ประกันภัย 200” และการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น
3. ปรับปรุงกระบวนการรับประกันภัย เช่นการออกใบรับรองการประกันภัยแทนการออกกรมธรรม์ หรือการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย
4. ประสานความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเห็นความสำคัญของการทำประกันภัยสำหรับรายย่อย หรือไมโครอินชัวรันส์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์
5. ร่วมหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อปรับปรุงโครงการประกันภัยข้าวนาปี 2558 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การเริ่มโครงการให้ทันเวลาเพาะปลูกข้าว การประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าถึงการประกันภัยข้าวนาปี และการขายกรมธรรม์ฯ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการเริ่มเพาะปลูกข้าวของเกษตรกร
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า การหาแนวทางในการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันภัยเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันบริษัทประกันภัยก็ได้มีการพัฒนารูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อยประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุรายย่อย การประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัด การประกันภัยท่องเที่ยวสุขใจ สำหรับรายย่อย และการประกันภัยโรคมะเร็งใจป้ำ สำหรับรายย่อย เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ และพัฒนาผ่านช่องทางการจำหน่าย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย หรือไมโครอินชัวรันส์ได้สะดวกยิ่งขึ้น.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186 และเว็บไซต์ www.oic.or.th
ที่มา: http://www.oic.or.th