ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์เก๋ง ทะเบียนป้ายแดง ฬ-1091 กรุงเทพมหานคร รถยนต์กระบะ ทะเบียน 1 ฒย-344 กรุงเทพมหานคร และ รถบรรทุกพ่วง 22 ล้อ ทะเบียนตัวแม่ 71-1881 ฉะเชิงเทรา ตัวพ่วงทะเบียน 71-1882 ฉะเชิงเทรา เฉี่ยวชนกันที่บริเวณถนนสาย 3038 ศรีประจันต์-ดอนเจดีย์ หมู่ 1 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย บาดเจ็บ 2 ราย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมาโดยเบื้องต้นตนได้สั่งการสำนักงาน คปภ. จังหวัดสุพรรณบุรี ตรวจสอบและลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างใกล้ชิด ตลอดจนติดตามเร่งรัดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาความสูญเสียโดยเร็ว
เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยผู้บาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตเป็นอย่างยิ่ง โดยได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับ สำนักงาน คปภ. ภาค 7 (นครปฐม) และ สำนักงาน คปภ. จังหวัดสุพรรณบุรี ติดตามบริษัทประกันภัยเพื่อเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตมีการทำประกันชีวิตหรืออุบัติเหตุส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ ไว้ด้วยหรือไม่ เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ทั้ง 5 ราย และผู้บาดเจ็บอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
ทั้งนี้ ได้รับรายงานเบื้องต้นจาก สำนักงาน คปภ. จังหวัดสุพรรณบุรี ว่า รถยนต์เก๋ง ทะเบียนป้ายแดง ฬ-1091 กรุงเทพมหานคร ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 98078705 เริ่มความคุ้มครอง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 26 สิงหาคม 2562 และได้ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ไว้กับบริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ M5571207-18NBK เริ่มความคุ้มครองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 26 สิงหาคม 2562 โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ความเสียหายต่อชีวิต ร่ายกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. จำนวน 1,000,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาทต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน จำนวน 5,000,000 บาทต่อครั้ง) กรณีเกิดความเสียหายต่อรถยนต์ 2,600,000 บาทต่อครั้ง และในกรณีที่รถยนต์สูญหายหรือไฟไหม้ 2,600,000 บาทต่อครั้ง สำหรับความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ผู้ขับขี่ 1 คน จำนวน 100,000 บาท ผู้โดยสาร 6 คน จำนวน 100,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 100,000 บาทต่อคน การประกันตัวผู้ขับขี่ 300,000 บาทต่อครั้ง)
ในส่วนของรถยนต์กระบะ ทะเบียน 1 ฒย-344 กรุงเทพมหานคร ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท เอเชียประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 14991ACO/6107/00004 เริ่มความคุ้มครองเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 และได้ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ประเภท 2+ ไว้กับบริษัท เอเชียประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 149912MO/6103/00002 เริ่มความคุ้มครอง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 17 มีนาคม 2562 โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ความเสียหายต่อชีวิต ร่ายกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. จำนวน 500,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาทต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน จำนวน 1,000,000 บาทต่อครั้ง) กรณีเกิดความเสียหายต่อรถยนต์สูญหายหรือไฟไหม้ 100,000 บาท สำหรับความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ผู้ขับขี่ 1 คน จำนวน 100,000 บาท ผู้โดยสาร 3 คน จำนวน 100,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 100,000 บาทต่อคน การประกันตัวผู้ขับขี่ 300,000 บาทต่อครั้ง) ในส่วนของรถบรรทุกพ่วง 22 ล้อ ทะเบียนตัวแม่ 71-1881 ฉะเชิงเทรา ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 03342-60504/กธ/0790080 เริ่มความคุ้มครองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2560 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 31 ธันวาคม 2561 และได้ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ประเภท 1 ไว้กับบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 03357-61504/กธ/E09902-10 เริ่มความคุ้มครอง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ความเสียหายต่อชีวิต ร่ายกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. จำนวน 300,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาทต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน จำนวน 600,000 บาทต่อครั้ง) กรณีเกิดความเสียหายต่อรถยนต์สูญหายหรือไฟไหม้ 1,900,000 บาท สำหรับความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ผู้ขับขี่ 1 คน จำนวน 50,000 บาท ผู้โดยสาร 2 คน จำนวน 50,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 50,000 บาทต่อคน การประกันตัวผู้ขับขี่ 200,000 บาทต่อครั้ง) ตัวพ่วงทะเบียน 71-1882 ฉะเชิงเทรา ได้ทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 03342-60504/กธ/1341181 เริ่มความคุ้มครองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2560 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 31 ธันวาคม 2561 และได้ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ประเภท 3 ไว้กับบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 03357-61504/กธ/E09915-30 เริ่มความคุ้มครอง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ความเสียหายต่อชีวิต ร่ายกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. จำนวน 300,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาทต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน จำนวน 600,000 บาทต่อครั้ง) ความรับผิดชอบต่อผู้โดยสาร 300,000 บาทต่อคน
สำหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 5 ราย และผู้บาดเจ็บ นั้น สำนักงาน คปภ. จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานความคืบหน้าว่า บริษัทประกันภัยได้ติดต่อทายาทของผู้เสียชีวิต ทั้ง 5 รายแล้ว และจะเร่งดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนภายใน 7 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดทำเอกสารประกอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่อไป
"สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ อุบัติเหตุนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงควรให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย และขอฝากเตือนประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลลอยกระทงและเทศกาลปีใหม่นี้ ควรเพิ่มความระมัดระวังต่อการขับขี่ยวดยานทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ให้มากยิ่งขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการดื่มผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจสอบวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัยพ.ร.บ.) ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจ และกรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องประกันภัยสามารถติดต่อได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
ที่มา: http://www.oic.or.th