ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมประกันภัยไทย ได้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงรูปแบบใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเห็นได้จากระบบเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่บริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ (New Normal) นอกจากนี้ ยังเผชิญกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงอื่นที่สำคัญ อาทิ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และการพัฒนาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบก้าวหน้า ประกอบกับเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง
สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย จึงบูรณาการร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อก้าวข้ามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ การออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยจัดทำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อ COVID-19 โดยเฉพาะ การสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตามภูมิภาคหรือพื้นที่เฉพาะ เช่น การประกันภัยทุเรียนภูเขาไฟ การประกันภัยประมง เป็นต้น การดำเนินการ Guillotine regulator ปรับปรุงกฎ กติกา ให้ทันสมัย และพัฒนากฎหมายใหม่ๆ เช่น ประกันภัยทางทะเล ประกันภัยพืชผลการเกษตร และประกันภัยสุขภาพภาคสมัครใจ การเพิ่มหลักเกณฑ์เรื่อง Digital Face to Face ให้ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายโดยใช้เสียง หรือเสียงและภาพ โดยให้ถือเสมือนเป็นการพบลูกค้า ในระหว่างสถานการณ์จำเป็น และได้รับความยินยอมจากลูกค้ามาใช้เป็นการถาวร การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย โดยจัดทำโครงการฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย จัดตั้ง Center of InsurTech (CIT) และผลักดันให้ประเทศไทยเป็น InsurTech Startup Hub พัฒนาระบบ OIC Gateway เพื่อเป็นแพทฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลทั้งอุตสาหกรรมประกันภัย รวมถึงจัดทำโครงการ Insurance Regulatory SandBox การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร การตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยการเชื่อมโยงโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับธุรกิจประกันภัย ด้วยการร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เพื่อประเมินโอกาสและศักยภาพของอุตสาหกรรมประกันภัย และปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการลงทุนของบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้สามารถลงทุนในหน่วยลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้พัฒนากรมธรรม์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกย่องบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีฐานะการเงินมั่นคง รวมทั้งดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เป็นแบบอย่างที่ดี และก่อให้เกิดแรงจูงใจให้บริษัทประกันภัยแข่งขันกันพัฒนาการบริหารจัดการและคุณภาพการให้บริการให้เป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน สามารถขยายบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้มากขึ้น รวมทั้งครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทที่สำคัญทั้งหมด ได้แก่ ตัวแทนประกันภัย และนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชนผู้เอาประกันภัย อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันภัย สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร Prime Minister?s Insurance Awards ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยปีนี้ได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร Prime Minister?s Insurance Awards ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อนุญาตให้ใช้ลายมือชื่อสลักลงบนโล่เกียรติยศเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติองค์กร หน่วยงาน สถาบัน บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตัวอย่างดีเด่นในด้านการเป็นผู้ประกอบการ การประกอบวิชาชีพ การให้บริการด้านการประกันภัย โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 11 ประเภท จำนวน 52 รางวัล อาทิ รางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2562 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลเกียรติยศบริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2562 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสำนักงาน คปภ. และระบบประกันภัย ประจำปี 2562 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และนายวิทยา แจ่มกระจ่าง ประธานสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
ผู้ได้รับรางวัลและปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่า ขอชื่นชมคณะกรรมการ คปภ. ผู้บริหาร บุคคลากรสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในเป็นวงกว้าง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ก็เป็นอีกความท้าทายที่มีผลกระทบกับทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดความสูญเสียมูลค่ามหาศาล รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่นำพาเราไปสู่วิถีปกติแบบใหม่ ที่เรียกว่า New normal นับเป็นอีกความท้าทายสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาของภาครัฐที่ผ่านมา เป็นการลดผลกระทบในทันที แต่การพัฒนาให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเข้มแข็ง และลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน คือ โจทย์สำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน
ซึ่งในจุดนี้เอง ธุรกิจประกันภัยถือเป็นภาคส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงที่ช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคง รวมถึงมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐ สามารถเป็น Financial Backup ให้กับประเทศ และช่วยบรรเทาความทุกข์ยากและสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรกรรรมที่ผ่านการประกันภัยข้าวนาปีและการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การยกระดับการประกันสุขภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถรับมือกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น การออกผลิตภัณฑ์ประกันภัย COVID-19 และการออกกฎระเบียบส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี อาทิ การเสนอขายแบบ Digital Face to Face การประกันภัยยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย และการเชื่อมโยงระหว่างโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยนำการประกันภัยไปบริหารความเสี่ยงของภาครัฐ และการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่และโครงสร้างพื้นฐาน
บูรณาการความร่วมมือกัน เพื่อนำระบบประกันภัยรองรับมาตรการสำคัญของรัฐบาล อาทิ การขยายผลการประกันภัยพืชผล เพื่อให้ครอบคลุมพืชชนิดอื่น ๆ ให้กับเกษตรกรของประเทศ การยกระดับการประกันสุขภาพ ให้เข้ามาต่อยอดระบบสวัสดิการในปัจจุบัน เพื่อให้การประกันสุขภาพมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับฐานราก การกำกับดูแลให้มีการจัดทำประกันภัยรถ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงการนำระบบประกันภัยเข้าไปสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน โครงการรถไฟความเร็วสูงพื้นที่ EEC เชื่อม 3 สนามบิน รวมถึงโครงการรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชน การเปิดช่องทางการขายสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติตามโครงการ Travel Bubble ทางออนไลน์ เช่น ผ่านทางแอปพลิเคชัน ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยได้เพิ่มขึ้น อีกเรื่องที่สำคัญคือ การส่งเสริมการประกันภัยสำหรับคนทำงานทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคแรงงาน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่เป็นแรงงานนอกระบบ ให้สามารถใช้การประกันภัยเครื่องมือในการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดี
?สำนักงาน คปภ. จะบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรองรับมาตรการสำคัญของรัฐบาล และขับเคลื่อนนโยบายที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายความสำเร็จอยู่บนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบประกันภัยเป็นสำคัญ? เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
ที่มา: http://www.oic.or.th