ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมิถุนายน 2558 เท่ากับ 106.64 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.10 (MoM) ( เดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 0.17 ) เป็นการปรับตัวสูงขึ้นตามราคา เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผักสด อาหารสำเร็จรูป ปลาและสัตว์น้ำบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร ค่าเช่าบ้าน ยาสูบ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ขณะที่ ไก่สด น้ำมันพืช และน้ำตาลทราย มีราคาลดลง เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2557 อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 1.07 (YoY) ( เดือนพฤษภาคม 2558 ลดลงร้อยละ 1.27 ) และเทียบเฉลี่ย 6 เดือน ( มกราคม - มิถุนายน ) 2558 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.81 (AoA)
ทั้งนี้ เงินเฟ้อที่ปรับลดลงร้อยละ 1.07 (YoY) ยังไม่เป็นสัญญาณสะท้อนภาวะเงินฝืด เป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งนโยบายการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศลดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ฟื้นตัวช้า ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภท อาหารสด อาหารสำเร็จรูป ค่าทัศนาจร และค่ารักษาพยาบาล ยังคงมีทิศทางที่สูงขึ้น สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ( ไม่รวมกลุ่มราคาอาหารสดและพลังงาน ) ที่มีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.94 โดยกระทรวงพาณิชย์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับมาขยายตัวในระดับปกติช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2558
การเคลื่อนไหวของดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2558 โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.10 (MoM) ตามการสูงขึ้นของราคาผักสด ที่สำคัญ ได้แก่ ผักคะน้าผักกาดขาว และผักชี จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและแห้งแล้ง ทำให้ผักบางชนิดได้รับความเสียหาย รวมทั้ง เนื้อสุกร ไข่ไก่ ปลาและสัตว์น้ำ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารกลางวัน ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ไก่สด ผลไม้และผักสดบางชนิด เช่น เงาะ ส้มเขียวหวาน แก้วมังกร มะนาว และต้นหอม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลของผลไม้บางชนิด และสินค้าหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
สำหรับหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.11 (MoM) จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 รวมทั้ง ค่าเช่าบ้าน นอกจากนี้ ค่าเล่าเรียน - ค่าธรรมเนียมประถมศึกษาภาคเอกชน ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาสูงขึ้นเช่นกัน ขณะที่ราคาสินค้าที่ลดลง ได้แก่ น้ำมันดีเซล ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทำความสะอาดและของใช้ส่วนบุคคลบางชนิด เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ถูตัว และผงซักฟอก ตามการส่งเสริมการจำหน่าย
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมิถุนายน 2558
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 450 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2558
ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2558 เท่ากับ 106.64 ( เดือนพฤษภาคม 2558 เท่ากับ 106.53)
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤษภาคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.10
2.2 เดือนมิถุนายน 2557 ลดลงร้อยละ 1.07
2.3 เทียบเฉลี่ย 6 เดือน ( มกราคม - มิถุนายน ) 2558 กับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.81
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมิถุนายน 2558 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.10 ( เดือนพฤษภาคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.17 ) ตามการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.10 และดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.11
เนื้อสุกร 0.94 ผักกาดขาว 12.78 ผักคะน้า 15.47 ผักชี 24.65 ถั่วฝักยาว 9.23 ผักกาดหอม 9.76 หัวหอมแดง 12.53 มะม่วง 3.88 กับข้าวสำเร็จรูป 0.10 อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) 0.35 หมวดเนื้อสัตว์สด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.69 ( เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู เนื้อโค เครื่องในหมู เครื่องในวัว ) หมวดผักสด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.15 ( ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักชี ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม มะเขือเจ้าพระยา หัวผักกาดขาว พริกสด ฟักเขียว แตงกวา กะหล่ำปลี บวบ มะละกอดิบ ขึ้นฉ่าย ข้าวโพดฝักอ่อน กะหล่ำดอก มะระจีน ถั่วงอก ตำลึง ) หมวดผักแปรรูปและอื่นๆ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.43 ( หัวหอมแดง กระเทียม ผักกระป๋อง ผักกาดดอง ) หมวดปลาน้ำจืดสด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.22 ( ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ) หมวดอาหารบริโภค-ในบ้าน ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.09 ( กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ) หมวดอาหารบริโภค-นอกบ้าน ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.23 ( อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) ) หมวดเครื่องประกอบอาหาร ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.20 ( ขนมหวาน เครื่องปรุงรส น้ำปลา ซอสหอยนางรม ) สำหรับผลไม้สดบางชนิดที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ มะม่วง มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ทุเรียน มะละกอสุก สับปะรด ฝรั่ง ลองกอง แอ๊ปเปิ้ล ส้มโอ ลำไย ชมพู่ และกล้วยหอม สำหรับรายการสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ราคาปรับลดลง มีดังนี้ รายการสินค้า ร้อยละ (มิ.ย.58/พ.ค.58) ข้าวสารเจ้า -0.09 ไก่สด -0.37 ปลาทู -1.74 มะนาว -28.22 ต้นหอม -15.52 ส้มเขียวหวาน -2.07 เงาะ -20.81 มังคุด -9.27 แก้วมังกร -5.25 น้ำอัดลม -0.45 หมวดข้าว ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.08 ( ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ) หมวดเป็ด ไก่ สด ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.37 ( ไก่สด ) หมวดปลาน้ำทะเลสด ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.67 ( ปลาทู ปลาสีกุน ) หมวดผลไม้สด ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.91 ( เงาะ ส้มเขียวหวาน แก้วมังกร มังคุด แตงโม องุ่น) สำหรับผักสดบางชนิด ที่ราคาปรับลดลง ได้แก่ มะนาว ต้นหอม มะเขือเทศ ขิง ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง และใบกะเพรา 3.2 ดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.11 ( เดือนพฤษภาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.18 ) โดยมีสินค้าและบริการสำคัญๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ดังนี้ รายการสินค้า ร้อยละ (มิ.ย.58/พ.ค.58) ค่าเช่าบ้าน 0.10 ยาสีฟัน 0.25 ค่ารถรับส่งนักเรียน 0.35 น้ำมันเบนซิน 95 2.03 แก๊สโซฮอล์ 91 1.74 แก๊สโซฮอล์ 95 1.70 แก๊สโซฮอล์ E20 1.82 ค่าเล่าเรียน - ค่าธรรมเนียมประถมศึกษาภาคเอกชน 1.82 ค่าเล่าเรียน - ค่าธรรมเนียมมัธยมศึกษา สายสามัญภาคเอกชน 2.76 เครื่องถวายพระ 0.12 หมวดค่าเช่า ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.10 ( ค่าเช่าบ้าน ) หมวดค่าโดยสารในท้องถิ่น ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.09 ( ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก 1/รถสองแถว ) หมวดน้ำมันเชื้อเพลิง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.76 ( แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 E85 น้ำมันเบนซิน 95 ) หมวดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.66 ( ค่าเล่าเรียน - ค่าธรรมเนียม ระดับประถมศึกษาภาคเอกชน มัธยมศึกษาสายสามัญภาคเอกชนและรัฐบาล ค่าลงทะเบียนมัธยมศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวะภาคเอกชนและรัฐบาล อุดมศึกษาภาครัฐบาลและเอกชน ) และหมวดเครื่องถวายพระ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.12 ( เครื่องถวายพระ ) รวมทั้งการสูงขึ้นของใช้ส่วนบุคคลประเภท ยาสีฟัน น้ำหอม และผ้าอนามัย สำหรับรายการสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ราคาปรับลดลง มีดังนี้ รายการสินค้า ร้อยละ (มิ.ย.58/พ.ค.58) ผงซักฟอก -0.38 น้ำยาปรับผ้านุ่ม -2.32 น้ำยาล้างห้องน้ำ -0.61 สบู่ถูตัว -1.01 แชมพูสระผม -0.17 ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว -0.22 กระดาษชำระ -0.29 น้ำยาระงับกลิ่นกาย -0.22 น้ำมันดีเซล -0.65 แผ่นดิสก์ -0.29 หมวดสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.52 ( น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ ) หมวดค่าของใช้ส่วนบุคคล ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.13 ( สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว แชมพูสระผม กระดาษชำระ น้ำยาระงับกลิ่นกาย ครีมนวดผม ใบมีดโกน ) สำหรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาลดลง ได้แก่ น้ำมันดีเซล และก๊าชยานพาหนะ (LPG) 4. พิจารณาเทียบกับดัชนีราคาเดือนมิถุนายน 2557 ลดลงร้อยละ 1.07 จากการลดลงของดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.90 ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 6.07 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.48 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.49 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.93 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.73 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.10 สำหรับ ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.51 ตามการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 0.03 หมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.07 หมวดเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 0.83 หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.56 และหมวดอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.12 ( อาหารบริโภค-ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.65 อาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.92 ) ขณะที่หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ 1.29 และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 3.40 5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 6 เดือนของปี 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.81 จากการลดลงของดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.82 ตามการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 6.46 ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.70 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.07 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 1.09 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.67 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.18 สำหรับ ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.08 ตามการสูงขึ้นของหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 0.39 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 0.14 หมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.40 หมวดเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 1.91 หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.90 และหมวดอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.21 ( อาหารบริโภค-ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.85 อาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 2.79 ) ขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 2.72
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--