อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมกราคม ปี 2560 เท่ากับร้อยละ 1.55 (YoY) เร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบเป็นหลัก ในขณะที่ สินค้าอาหารราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากผักและผลไม้สด รวมถึงสัตว์น้ำบางประเภทเนื่องจากเป็นช่วงมรสุมในภาคใต้ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อขยายตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวของรายได้เกษตรกรที่แท้จริงในปีก่อนหน้า และการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ระดับราคาสินค้าและบริการ ในเดือนมกราคม 2560 สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่อัตราร้อยละ 0.16 (MoM) ผลจากน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารสำเร็จรูปผักและผลไม้สด และสัตว์น้ำเป็นหลัก โดยมีภาวะความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าดังนี้
น้ำมันเชื้อเพลิง ราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.57 (MoM) โดยเป็นการสูงขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศทุกประเภท
อาหารสำเร็จรูป ราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.21 (MoM) อาทิ อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง)
ผลไม้สด ราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.16 อาทิ ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า ปรับขึ้นเล็กน้อยจากในช่วงฤดูกาลผลผลิตในเดือนที่ผ่านมา
สัตว์น้ำ ราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.45 (MoM) โดยเฉพาะกุ้งขาว และปลาหมึกกล้วย เนื่องจากหน้ามรสุมและอุทกภัยในภาคใต้ทำให้ไม่สามารถออกเรือได้ในเดือนที่ผ่านมา
ผักสด ราคาลดลงร้อยละ -3.41 ต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะต้นหอมและผักชี เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อผลผลิต
ไข่ไก่และเนื้อสุกร ราคาลดลงร้อยละ -2.86 และ -0.88 ตามลำดับ ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า จากอุปทานส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่มาก
อัตราเงินเฟ้อในรอบ 12 เดือน เร่งตัวขึ้นร้อยละ 1.55 (YoY) อันเนื่องมาจากการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศเป็นสำคัญตามแรงกดดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เช่นเดียวกันกับราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาทิ อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) ถั่วฝักยาว พริกสด กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน กุ้งขาว ไข่ไก่ ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ค่ากระแสไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มยังคงส่งผลกระทบในทางลบต่ออัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องจากปี 2559 โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) เพิ่มเติมในช่วงมกราคม - เมษายน 2560 เท่ากับ -37.29 สตางค์/หน่วย
กระทรวงพาณิชย์ ประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 - 2.0 โดยมีสมมติฐานหลักคือ
1) GDP ขยายตัวร้อยละ 3.0 - 3.5 โดยการผลิต รายได้เกษตรกรการส่งออกสินค้าและบริการสูงขึ้นที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจในภาพรวม
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ในช่วง 45 - 55 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานน้ำมันในตลาดโลกมีเสถียรภาพมากขึ้นจากการควบคุมกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปค
3) อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ในช่วง 35.5-37.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเล็กน้อย
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2560
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีจำนวนรายการสินค้าปีฐาน 2558 ทั้งหมด 422 รายการ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2560 (ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100) มีค่าเท่ากับ 100.75 (เดือนธันวาคม 2559 เท่ากับ 100.59)
2.การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2560 เมื่อเทียบกับ
ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ
2.1 เดือนธันวาคม 2559 (MoM) สูงขึ้น +0.16
2.2 เดือนมกราคม 2559 (YoY) สูงขึ้น +1.55
2.1 เทียบเดือนธันวาคม 2559 (MoM) สูงขึ้น ร้อยละ 0.16 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวดแสดงได้ ดังภาพที่ 1
อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2560 สูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2559 (MoM) ร้อยละ +0.16 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 0.82 (ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท สูงขึ้นร้อยละ2.57) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ราคาปรับสูงขึ้น ร้อยละ 0.04 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (อาหารสำเร็จรูป ถั่วฝักยาว ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กุ้งขาว ปลาหมึกกล้วย)ราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.01 ในขณะที่ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา ราคาลดลงเล็กน้อย ร้อยละ -0.01 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ครีมนวดผม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว ยาสีฟัน ยาลดกรดในกระเพาะ ยาแก้ปวดลดไข้) ราคาลดลง ร้อยละ -0.03 และหมวดเคหสถานราคาลดลง ร้อยละ -0.17 (ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาขจัดคราบสกปรกของเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน)
2.2 เทียบเดือนมกราคม 2559 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ 1.55 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวดแสดงได้ดังภาพที่ 2
อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2560 สูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2559 (YoY) ร้อยละ 1.55 ได้รับผลกระทบจากหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 12.97 อาทิ บุหรี่ (สูงขึ้นร้อยละ 28.12) ) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 4.76 (น้ำมันเชื้อเพลิง อาทิ น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์91 95 แก๊สโซฮอล์E20 และน้ำมันเบนซิน 95) หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.53 (อาหารสำเร็จรูป ผลไม้สด อาทิ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน ผักสด อาทิ ถั่วฝักยาว พริกสด และสัตว์น้ำ อาทิ ปลาหมึกกล้วย และกุ้งขาว) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.50 (ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมประถมศึกษาภาคเอกชน ค่าลงทะเบียน-ค่าธรรมเนียมอุดมศึกษาเอกชน) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.32 (แชมพู ใบมีดโกน ยาสีฟัน ค่าแต่งผมชาย- สตรี) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.22 ในขณะที่ ราคาสินค้าและบริการในหมวดเคหสถานลดลงร้อยละ -1.26 (ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม)
3. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2560 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.0 ต่อปี ในปี 2560 โดยมีสมมติฐานหลักคือ
1. การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทย (%) 3.25 (3.0 - 3.5) เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2559 การขยายตัวเศรษฐกิจมี ปัจจัยสนับสนุน อาทิ การใช้จ่ายครัวเรือน การผลิตและรายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนโครงการภาครัฐ การส่งออกสินค้าและบริการสูงขึ้นและมีทิศทางเป็นบวกสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจในภาพรวม
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบ (USD/Barrel) 50.0 (45.0 - 55.0) ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2560 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2559 โดยคาดว่าความต้องการน้ำมันทั่วโลกจะสูงขึ้นประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ อุปสงค์และอุปทานน้ำมันในตลาดโลกมีความสมดุลมากขึ้นจากการควบคุมกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปค ทำให้ความผันผวนของราคาลดลง
3. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ USD) 36.5 (35.5 - 37.5) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่า จากแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในหลายประเทศ
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2560 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 35.43 บาทต่อดอลลาร์ และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมกราคม 2560 อยู่ที่ 53.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 27 มกราคม 2560)
4. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสี่ยง
อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการการผลิตและรายได้เกษตรกร เศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก รายได้จากการส่งออกมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กระทบราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ มาตรการภาครัฐสนับสนุนกำลังซื้อสำหรับครัวเรือนรายได้น้อยและการลดหน่อยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2017 เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันของภาคการส่งออก และต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ
---สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5850 โทรสาร. 0 2507 5825---