กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหว ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยสรุป
จากการสำรวจและประมวลราคาสินค้าที่เกษตรกรและผู้ประกอบการจำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 506 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายน 2550
ปี 2543 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2550 เท่ากับ 145.1
2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนตุลาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.4
2.2 เดือนพฤศจิกายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 7.9
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยเฉลี่ยสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามแต่ในอัตราลดลง จากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 2.4 ทั้งนี้จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร้อยละ 2.2 และ 2.5 ตามลำดับ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลง ร้อยละ 0.1
3.1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากการสูงขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตร ที่สำคัญ คือ ยางพารา (น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบ เศษยาง) จากมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักในแหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ ประกอบกับความต้องการซื้อจากจีนและญี่ปุ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมัน ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงสกัดฯ สัตว์มีชีวิต (สุกร ไก่) ปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
3.2 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาเดือนพฤศจิกายน 2550 สูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ร้อยละ 2.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก คือ น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง) และสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ อาหารสัตว์สำเร็จรูป น้ำมันพืช นม
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2549 ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง คือ ร้อยละ 7.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ร้อยละ 8.4 โดยผลผลิตการเกษตรหลายรายการมีราคาสูงขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด และยางพารา หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 8.0 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง) ผลิตภัณฑ์อาหาร (ไก่สด น้ำมันพืช นม) เหล็กชนิดต่าง ๆ และทองรูปพรรณ
และ ทองคำ
3.3 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาเดือนพฤศจิกายน 2550 ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของราคาสังกะสี และตะกั่ว เป็นสำคัญ
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจและประมวลราคาสินค้าที่เกษตรกรและผู้ประกอบการจำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 506 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายน 2550
ปี 2543 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2550 เท่ากับ 145.1
2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนตุลาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.4
2.2 เดือนพฤศจิกายน 2549 สูงขึ้นร้อยละ 7.9
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยเฉลี่ยสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามแต่ในอัตราลดลง จากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 2.4 ทั้งนี้จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร้อยละ 2.2 และ 2.5 ตามลำดับ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลง ร้อยละ 0.1
3.1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากการสูงขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตร ที่สำคัญ คือ ยางพารา (น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบ เศษยาง) จากมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักในแหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ ประกอบกับความต้องการซื้อจากจีนและญี่ปุ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมัน ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงสกัดฯ สัตว์มีชีวิต (สุกร ไก่) ปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
3.2 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาเดือนพฤศจิกายน 2550 สูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ร้อยละ 2.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก คือ น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง) และสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ อาหารสัตว์สำเร็จรูป น้ำมันพืช นม
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2550 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2549 ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง คือ ร้อยละ 7.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ร้อยละ 8.4 โดยผลผลิตการเกษตรหลายรายการมีราคาสูงขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด และยางพารา หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 8.0 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง) ผลิตภัณฑ์อาหาร (ไก่สด น้ำมันพืช นม) เหล็กชนิดต่าง ๆ และทองรูปพรรณ
และ ทองคำ
3.3 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาเดือนพฤศจิกายน 2550 ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของราคาสังกะสี และตะกั่ว เป็นสำคัญ
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--