กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2551 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2551 เท่ากับ 119.9 สำหรับเดือนธันวาคม 2550 คือ 119.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เดือนมกราคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 4.3
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2551 เทียบกับเดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 0.8 (ธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1) สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.6 โดยการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกชนิด จากการที่อากาศแปรปรวนทำให้ผักสดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายประกอบกับต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นส่งผลให้ อาหารประเภทแปรรูปต่าง ๆ และอาหารสำเร็จรูปปรับราคาสูงขึ้นซึ่งเป็นแรงกดดันทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.2 ปัจจัยหลักยังคงเป็นการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ถึงแม้จะมีการปรับราคาขึ้นและลงในเดือนนี้ แต่โดยเฉลี่ยยังคงสูงขึ้นตามการผันผวนของภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.6 เป็นอัตราที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก (ธันวาคม 2550 ลดลงร้อยละ 0.2) สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกชนิดยกเว้นข้าวสารเหนียวและไข่ โดยเฉพาะราคาผักสดเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ผักเสียหาย ที่สำคัญได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักชี ถั่วฝักยาว ขึ้นฉ่าย ต้นหอม และมะนาว เป็นต้น นอกจากนี้ราคาเนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ ราคาสูงขึ้นเช่นกัน และเนื่องจากความต้องการบริโภคสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ทำให้กระทรวงพาณิชย์อนุมัติให้มีการปรับราคาสูงขึ้น รวมถึงน้ำมันถั่วเหลือง นอกจากนี้มีอาหารอื่น ๆ ปรับราคาสูงขึ้นด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลทราย เนยสด กาแฟ และอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ (ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ถึงแม้ในเดือนนี้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศจะปรับราคาขึ้นลงตามภาวะตลาดโลก แต่โดยเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการปรับราคาน้ำมันเบนซิน ขึ้น 3 ครั้ง ลง 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซล ขึ้น 2 ครั้งลง 2 ครั้ง นอกจากนี้ค่าบริการบำรุงรักษารถยนต์ปรับสูงขึ้นด้วย รวมถึงอุปกรณ์ยานพาหนะ (ยางรถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์) ส่วนสินค้าที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลราคาสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับค่าโดยสารสาธารณะ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการปรับราคาค่าโดยสารเรือร้อยละ 11.0 ขณะที่ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 - 2 ปรับราคาลดลง นอกจากนี้รถยนต์ราคาลดลงตามการปรับภาษีสรรพสามิต
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมกราคม 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 4.3 สูงขึ้นกว่าเดือนเดียวกันปี 2550 (มกราคม 2550 ราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.0) โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.8 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.9
โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.8 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้ร้อยละ 9.6 เป็ด ไก่ ร้อยละ 11.2 และเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 8.4
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 28.0 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 2.3 นอกจากนี้หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 1.4 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.0
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2551 เท่ากับ 106.4 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
5.2 เดือนมกราคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.2
โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ปัจจัยหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร ค่าโดยสารเรือ อุปกรณ์รถยนต์ และค่าบริการบำรุงรักษารถยนต์ เป็นต้น
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2551 เท่ากับ 119.9 สำหรับเดือนธันวาคม 2550 คือ 119.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เดือนมกราคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 4.3
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2551 เทียบกับเดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 0.8 (ธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1) สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.6 โดยการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกชนิด จากการที่อากาศแปรปรวนทำให้ผักสดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายประกอบกับต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นส่งผลให้ อาหารประเภทแปรรูปต่าง ๆ และอาหารสำเร็จรูปปรับราคาสูงขึ้นซึ่งเป็นแรงกดดันทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.2 ปัจจัยหลักยังคงเป็นการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ถึงแม้จะมีการปรับราคาขึ้นและลงในเดือนนี้ แต่โดยเฉลี่ยยังคงสูงขึ้นตามการผันผวนของภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.6 เป็นอัตราที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก (ธันวาคม 2550 ลดลงร้อยละ 0.2) สาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกชนิดยกเว้นข้าวสารเหนียวและไข่ โดยเฉพาะราคาผักสดเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ผักเสียหาย ที่สำคัญได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักชี ถั่วฝักยาว ขึ้นฉ่าย ต้นหอม และมะนาว เป็นต้น นอกจากนี้ราคาเนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ ราคาสูงขึ้นเช่นกัน และเนื่องจากความต้องการบริโภคสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ทำให้กระทรวงพาณิชย์อนุมัติให้มีการปรับราคาสูงขึ้น รวมถึงน้ำมันถั่วเหลือง นอกจากนี้มีอาหารอื่น ๆ ปรับราคาสูงขึ้นด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลทราย เนยสด กาแฟ และอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ (ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ถึงแม้ในเดือนนี้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศจะปรับราคาขึ้นลงตามภาวะตลาดโลก แต่โดยเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากการปรับราคาน้ำมันเบนซิน ขึ้น 3 ครั้ง ลง 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซล ขึ้น 2 ครั้งลง 2 ครั้ง นอกจากนี้ค่าบริการบำรุงรักษารถยนต์ปรับสูงขึ้นด้วย รวมถึงอุปกรณ์ยานพาหนะ (ยางรถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์) ส่วนสินค้าที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลราคาสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับค่าโดยสารสาธารณะ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการปรับราคาค่าโดยสารเรือร้อยละ 11.0 ขณะที่ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 - 2 ปรับราคาลดลง นอกจากนี้รถยนต์ราคาลดลงตามการปรับภาษีสรรพสามิต
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนมกราคม 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 4.3 สูงขึ้นกว่าเดือนเดียวกันปี 2550 (มกราคม 2550 ราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.0) โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.8 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.9
โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.8 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาผักและผลไม้ร้อยละ 9.6 เป็ด ไก่ ร้อยละ 11.2 และเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 8.4
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 28.0 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 2.3 นอกจากนี้หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 1.4 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.0
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2551 เท่ากับ 106.4 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
5.2 เดือนมกราคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.2
โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนมกราคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ปัจจัยหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร ค่าโดยสารเรือ อุปกรณ์รถยนต์ และค่าบริการบำรุงรักษารถยนต์ เป็นต้น
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--