กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เท่ากับ 120.7 สำหรับเดือนมกราคม 2551 คือ 119.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมกราคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 5.4
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) ปี 2550
สูงขึ้นร้อยละ 4.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เทียบกับเดือนมกราคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 เป็นการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยสาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะเนื้อสุกร สูงขึ้นตามราคาหน้าฟาร์มซึ่งสูงขึ้นตามราคาอาหารสัตว์ รวมถึงราคาไข่ไก่ และไก่สด สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ในเดือนนี้โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ถึงแม้เดือนนี้จะปรับขึ้น 2 ครั้ง แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงเนื่องจากเป็นการลดลงในช่วงปลายเดือน ขณะที่ค่ากระแสไฟฟ้าปรับค่า Ft สูงขึ้นเล็กน้อย
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.0 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 15.5 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกรร้อยละ 23.9 ตามราคาหน้าฟาร์มเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ราคาไข่สูงขึ้นร้อยละ 5.8 ไก่สดร้อยละ 1.0 สำหรับเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันพืชร้อยละ 7.2 เป็นหลัก ประกอบกับอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าหลายชนิด ถึงแม้จะมีการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ 2 ครั้ง แต่เป็นช่วงปลายเดือน ดังนั้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 และการรถไฟได้ปรับค่าธรรมเนียมลดลง สำหรับรถเร็วที่วิ่งไม่เกิน 300 กม. รวมถึงเครื่องรับโทรศัพท์มือถือลดลงร้อยละ 0.3 เครื่องเล่นเทปดิสก์ ลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่ค่ากระแสไฟฟ้าปรับค่า Ft สูงขึ้นเล็กน้อย 2.75 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ดัชนีค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ก๊าซหุงต้มสูงขึ้นร้อยละ 1.7 และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ บุหรี่ เบียร์ ไวน์ และสุรา
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 5.4 สูงขึ้นกว่าเดือนเดียวกันปี 2550 ค่อนข้างมาก (กุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.3) ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2550 มีสินค้าลดลงหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักสดและผลไม้ ค่ากระแสไฟฟ้า ส่งผลให้ดัชนีรวมลดลง และทำให้ดัชนีราคาช่วงเดือนเดียวกันของปีนี้สูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.9 และดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.0
หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารทุกหมวดที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ร้อยละ 25.0 ผักและผลไม้ร้อยละ 15.1 ไข่และผลิตภัณฑ์นม และเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 10.7
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.0 ที่สำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 27.1 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 2.2 นอกจากนี้หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.7
5. ถ้าเทียบกับเฉลี่ยช่วงระยะเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2550 ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 4.8
โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.4 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ร้อยละ 14.2 ผักและผลไม้ร้อยละ 12.3 เครื่องปรุงอาหารร้อยละ 16.3
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 27.6 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.3
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เท่ากับ 106.7 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนมกราคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.3
6.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.5
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) ปี 2550
สูงขึ้นร้อยละ 1.4
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร วัสดุก่อสร้าง ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เท่ากับ 120.7 สำหรับเดือนมกราคม 2551 คือ 119.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมกราคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.7
2.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 5.4
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) ปี 2550
สูงขึ้นร้อยละ 4.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เทียบกับเดือนมกราคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.7 เป็นการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยสาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะเนื้อสุกร สูงขึ้นตามราคาหน้าฟาร์มซึ่งสูงขึ้นตามราคาอาหารสัตว์ รวมถึงราคาไข่ไก่ และไก่สด สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ในเดือนนี้โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ถึงแม้เดือนนี้จะปรับขึ้น 2 ครั้ง แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงเนื่องจากเป็นการลดลงในช่วงปลายเดือน ขณะที่ค่ากระแสไฟฟ้าปรับค่า Ft สูงขึ้นเล็กน้อย
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.0 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 15.5 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกรร้อยละ 23.9 ตามราคาหน้าฟาร์มเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ราคาไข่สูงขึ้นร้อยละ 5.8 ไก่สดร้อยละ 1.0 สำหรับเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันพืชร้อยละ 7.2 เป็นหลัก ประกอบกับอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าหลายชนิด ถึงแม้จะมีการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ 2 ครั้ง แต่เป็นช่วงปลายเดือน ดังนั้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 และการรถไฟได้ปรับค่าธรรมเนียมลดลง สำหรับรถเร็วที่วิ่งไม่เกิน 300 กม. รวมถึงเครื่องรับโทรศัพท์มือถือลดลงร้อยละ 0.3 เครื่องเล่นเทปดิสก์ ลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่ค่ากระแสไฟฟ้าปรับค่า Ft สูงขึ้นเล็กน้อย 2.75 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ดัชนีค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ก๊าซหุงต้มสูงขึ้นร้อยละ 1.7 และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ บุหรี่ เบียร์ ไวน์ และสุรา
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 5.4 สูงขึ้นกว่าเดือนเดียวกันปี 2550 ค่อนข้างมาก (กุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.3) ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2550 มีสินค้าลดลงหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักสดและผลไม้ ค่ากระแสไฟฟ้า ส่งผลให้ดัชนีรวมลดลง และทำให้ดัชนีราคาช่วงเดือนเดียวกันของปีนี้สูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.9 และดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.0
หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาอาหารทุกหมวดที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ร้อยละ 25.0 ผักและผลไม้ร้อยละ 15.1 ไข่และผลิตภัณฑ์นม และเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 10.7
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.0 ที่สำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 27.1 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 2.2 นอกจากนี้หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.7
5. ถ้าเทียบกับเฉลี่ยช่วงระยะเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2550 ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 4.8
โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.4 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ร้อยละ 14.2 ผักและผลไม้ร้อยละ 12.3 เครื่องปรุงอาหารร้อยละ 16.3
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 27.6 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 3.3
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เท่ากับ 106.7 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนมกราคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.3
6.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 สูงขึ้นร้อยละ 1.5
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) ปี 2550
สูงขึ้นร้อยละ 1.4
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร วัสดุก่อสร้าง ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--