กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 123.6 สำหรับเดือนมีนาคม 2551 คือ 121.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
2.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) ปี 2550
สูงขึ้นร้อยละ 5.3
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เทียบกับเดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาตลาดโลกซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสดประเภทต่าง ๆ
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาอาหารประเภทต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างปะเทศด้วย นอกจากนี้ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้น ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศ ที่ร้อนอบอ้าวมีผลต่อการเพาะปลูก การขึ้นราคาอาหารสดส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง โจ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื้อสุกรราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยบริษัทต่าง ๆ ปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.5 รวมถึงค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาเหตุมาจากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงและภาวะตลาดทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่ ข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ และเครื่องประกอบอาหาร
สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 24.8 เป็นสำคัญ
5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ข้าวสารเจ้า และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช)
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.3
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 107.6 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
6.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.1
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550
สูงขึ้นร้อยละ 1.6
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 123.6 สำหรับเดือนมีนาคม 2551 คือ 121.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
2.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) ปี 2550
สูงขึ้นร้อยละ 5.3
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เทียบกับเดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาตลาดโลกซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสดประเภทต่าง ๆ
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาอาหารประเภทต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างปะเทศด้วย นอกจากนี้ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้น ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศ ที่ร้อนอบอ้าวมีผลต่อการเพาะปลูก การขึ้นราคาอาหารสดส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง โจ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื้อสุกรราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยบริษัทต่าง ๆ ปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.5 รวมถึงค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาเหตุมาจากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงและภาวะตลาดทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่ ข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ และเครื่องประกอบอาหาร
สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 24.8 เป็นสำคัญ
5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ข้าวสารเจ้า และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช)
สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.3
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 107.6 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
6.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.1
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550
สูงขึ้นร้อยละ 1.6
โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--