แท็ก
ดัชนีราคา
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 374 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 124.2 (เดือนกรกฎาคม 2551 คือ 128.1)
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2551 ลดลงร้อยละ 3.0
2.2 เดือนสิงหาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.4
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) ปี 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.7
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2551 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 ลดลงในอัตราที่ค่อนข้างมาก คือร้อยละ 3.0 (กรกฎาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.3) สาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ในส่วนของการลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล และในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ที่เริ่มปรับลดค่าน้ำประปา ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าโดยสารรถไฟ
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.7 (เดือนกรกฎาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.3) สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 5.6 ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักชี กะหล่ำปลี มะนาว พริกสด ส้มเขียวหวาน มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น เป็นผลมาจากมีความต้องการสูงในช่วงเทศกาลสารทจีน และเป็นช่วงปลายฤดูกาล นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 1.2 (อาหารบริโภคในบ้านและบริโภคนอกบ้าน) ปลาและสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 1.1 ขณะที่อาหารประเภทข้าวยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงในอัตราที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 6.2 (เดือนกรกฎาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.4) สาเหตุสำคัญ เนื่องมาจากการราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง และมาตรการปรับลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล เป็นผลให้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศลดลงร้อยละ 15.0 โดยน้ำมันเบนซินปรับลดลง 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลปรับลดลง 7 ครั้ง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากมาตรการปรับค่าสาธารณูปโภคและการขนส่งมวลชนของรัฐบาลทำให้ค่าน้ำประปาลดลงร้อยละ 59.2 ค่ากระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 37.8 ค่าโดยสารรถประจำทางลดลงร้อยละ 5.3 และค่าโดยสารรถไฟลดลงร้อยละ 23.7
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนสิงหาคม 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.4 เป็นอัตราที่ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 29.0 (เมื่อเปรียบเทียบกับราคาของปีก่อนหน้าซึ่งยังไม่ปรับตัวสูง) ทำให้ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.4
สำหรับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 14.3 จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 30.2 ผักและผลไม้ร้อยละ 19.0 เนื้อสัตว์ร้อยละ 17.8 และเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 16.2 เป็นสำคัญ
5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.7 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 32.5 เป็นสำคัญโดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 9.9 และดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 265 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 108 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 109.5 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนกรกฎาคม 2551 ลดลงร้อยละ 0.9
6.2 เดือนสิงหาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.4 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของค่าโดยสารสาธารณะ และค่าน้ำประปา
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2551
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 124.2 (เดือนกรกฎาคม 2551 คือ 128.1)
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2551 ลดลงร้อยละ 3.0
2.2 เดือนสิงหาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.4
2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) ปี 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.7
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2551 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 ลดลงในอัตราที่ค่อนข้างมาก คือร้อยละ 3.0 (กรกฎาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.3) สาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ในส่วนของการลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล และในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ที่เริ่มปรับลดค่าน้ำประปา ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าโดยสารรถไฟ
3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.7 (เดือนกรกฎาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.3) สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 5.6 ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักชี กะหล่ำปลี มะนาว พริกสด ส้มเขียวหวาน มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น เป็นผลมาจากมีความต้องการสูงในช่วงเทศกาลสารทจีน และเป็นช่วงปลายฤดูกาล นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 1.2 (อาหารบริโภคในบ้านและบริโภคนอกบ้าน) ปลาและสัตว์น้ำสูงขึ้นร้อยละ 1.1 ขณะที่อาหารประเภทข้าวยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงในอัตราที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 6.2 (เดือนกรกฎาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.4) สาเหตุสำคัญ เนื่องมาจากการราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง และมาตรการปรับลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล เป็นผลให้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศลดลงร้อยละ 15.0 โดยน้ำมันเบนซินปรับลดลง 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลปรับลดลง 7 ครั้ง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากมาตรการปรับค่าสาธารณูปโภคและการขนส่งมวลชนของรัฐบาลทำให้ค่าน้ำประปาลดลงร้อยละ 59.2 ค่ากระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 37.8 ค่าโดยสารรถประจำทางลดลงร้อยละ 5.3 และค่าโดยสารรถไฟลดลงร้อยละ 23.7
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนสิงหาคม 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.4 เป็นอัตราที่ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญยังคงเป็นการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 29.0 (เมื่อเปรียบเทียบกับราคาของปีก่อนหน้าซึ่งยังไม่ปรับตัวสูง) ทำให้ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.4
สำหรับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 14.3 จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 30.2 ผักและผลไม้ร้อยละ 19.0 เนื้อสัตว์ร้อยละ 17.8 และเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 16.2 เป็นสำคัญ
5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.7 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 32.5 เป็นสำคัญโดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 9.9 และดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.6
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 265 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 108 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 109.5 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนกรกฎาคม 2551 ลดลงร้อยละ 0.9
6.2 เดือนสิงหาคม 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 8 เดือนแรก (มกราคม - สิงหาคม) 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.4 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของค่าโดยสารสาธารณะ และค่าน้ำประปา
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--