ความวิตกกังวลใจของคนกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาในเรื่องสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และการจราจรในกรุงเทพฯ
ท่ามกลางกระแสข่าวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ก่อให้เกิดความวิตกกังวลใจกับคนกรุงเทพฯ ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์โดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความวิตกกังวลใจของคนกรุงเทพฯ ทุก ๆ เดือน ซึ่งครั้งนี้เป็นการสำรวจความวิตกกังวลใจของคนกรุงเทพฯ เดือนเมษายน 2547 โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 1,015 คน ทุกระดับอายุ เพศ การศึกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ผู้แสดงความคิดเห็นเป็นเพศชายร้อยละ 50.8 และเพศหญิงร้อยละ 49.2 มีอาชีพเป็นลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 27.1 ทำงานส่วนตัวร้อยละ 26.9 นักศึกษา ร้อยละ 17.06 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.6 และอื่น ๆ ร้อยละ 12.34 โดยมีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 32.9 อายุ 26-40 ปี ร้อยละ 44.7 อายุ 41-60 ปี ร้อยละ 19.8 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.3
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2547 ก่อให้เกิดความวิตกกังวลใจในระดับค่อนข้างมากถึงมากอันดับหนึ่ง ได้แก่ การจราจรที่กำลังจลาจล (ร้อยละ 25.4) อันดับสองได้แก่ เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 69.8) ส่วนอันดับรองลงมาได้แก่ ความประพฤติของวัยรุ่น (ร้อยละ 62.8) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 56.1) การก่อการร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย (ร้อยละ 41.6) และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน หรือตัวเองในช่วงเปิดเทอม (ร้อยละ 37.9)
ส่วนระดับความกังวลใจเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่าเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 52.8 และเท่าเดิม ร้อยละ 64.5 ส่วนสถานการณ์การจราจรมีความกังวลใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.5 และเท่าเดิม ร้อยละ 42.8
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ท่ามกลางกระแสข่าวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ก่อให้เกิดความวิตกกังวลใจกับคนกรุงเทพฯ ดังนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์โดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการสำรวจความวิตกกังวลใจของคนกรุงเทพฯ ทุก ๆ เดือน ซึ่งครั้งนี้เป็นการสำรวจความวิตกกังวลใจของคนกรุงเทพฯ เดือนเมษายน 2547 โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 1,015 คน ทุกระดับอายุ เพศ การศึกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ผู้แสดงความคิดเห็นเป็นเพศชายร้อยละ 50.8 และเพศหญิงร้อยละ 49.2 มีอาชีพเป็นลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 27.1 ทำงานส่วนตัวร้อยละ 26.9 นักศึกษา ร้อยละ 17.06 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.6 และอื่น ๆ ร้อยละ 12.34 โดยมีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 32.9 อายุ 26-40 ปี ร้อยละ 44.7 อายุ 41-60 ปี ร้อยละ 19.8 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.3
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2547 ก่อให้เกิดความวิตกกังวลใจในระดับค่อนข้างมากถึงมากอันดับหนึ่ง ได้แก่ การจราจรที่กำลังจลาจล (ร้อยละ 25.4) อันดับสองได้แก่ เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 69.8) ส่วนอันดับรองลงมาได้แก่ ความประพฤติของวัยรุ่น (ร้อยละ 62.8) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 56.1) การก่อการร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย (ร้อยละ 41.6) และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน หรือตัวเองในช่วงเปิดเทอม (ร้อยละ 37.9)
ส่วนระดับความกังวลใจเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่าเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 52.8 และเท่าเดิม ร้อยละ 64.5 ส่วนสถานการณ์การจราจรมีความกังวลใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.5 และเท่าเดิม ร้อยละ 42.8
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-