เนื่องในวันมาฆบูชา พ.ศ. 2546 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้
ทำการสำรวจความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนเชียงใหม่ เกี่ยวกับความเชื่อและพฤติกรรมของสังคมไทยในเรื่องการทำบุญ จาก
ตัวอย่างชาวกรุงเทพฯ 861 คน และชาวเชียงใหม่ 517 คน พบว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในหลายเรื่อง เช่น เรื่องบาปบุญคุณโทษ ความ
เลื่อมใสศรัทธาพระสงฆ์ และความกังวลใจในการถูกหลอกลวงเมื่อทำบุญ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในเรื่องรูปแบบของการทำบุญ พบว่า ร้อยละ 36 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 35 ของคนเชียงใหม่ นิยมทำบุญโดยการบริจาคเงิน
เป็นอันดับแรก (ร้อยละ 36 ของชาวกรุงเทพฯ และร้อยละ 31 ของคนเชียงใหม่) ใส่บาตรเป็นอันดับรอง ส่วนความถี่การ ใส่บาตรของตนเองหรือ
คนในครอบครัว ร้อยละ 60 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 67 ของคนเชียงใหม่ใส่บาตรนาน ๆ ครั้ง นอกจากนี้ ร้อยละ 37 ของคนกรุงเทพฯ และ
ร้อยละ 29 ของคนเชียงใหม่ใส่บาตรสม่ำเสมอ
วัตถุประสงค์ของการทำบุญ พบว่าร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 37 ของคนเชียงใหม่ ต้องการทำให้ จิตใจมีความสุข และ
ร้อยละ 34 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 33 ของคนเชียงใหม่ ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการทำบุญนั้น ร้อยละ 80 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 75 ของคนเชียงใหม่ เห็นว่า
ขณะนี้สังคมให้ความสำคัญต่อการทำบุญน้อยลง และเมื่อถามถึงความคิดเห็นที่ว่าคนทำบุญกันเพื่อหวังผลตอบแทนในชาตินี้ ร้อยละ 59 ของคนกรุงเทพฯ
และร้อยละ 56 ของคนเชียงใหม่ หวังผลตอบแทนในชาตินี้ และร้อยละ 62 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 71 ของคนเชียงใหม่หวังผลตอบแทนในชาติ
หน้า
ในเรื่องบาปบุญคุณโทษว่ามีจริงหรือไม่ในชีวิตนี้ ร้อยละ 90 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 89 ของคนเชียงใหม่ คิดว่ามีจริง สำหรับคำ
กล่าวที่ว่าการทำบุญเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น การประพฤติตนดีอย่างเดียวก็ เพียงพอแล้ว ร้อยละ 64 ของคนกรุงเทพฯ และ
ร้อยละ 70 ของคนเชียงใหม่ ไม่เห็นด้วยต่อคำกล่าวนี้
และเมื่อถามต่อไปถึงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระสงฆ์ ร้อยละ 72 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 75 ของคนเชียงใหม่ เห็นว่าความ
เลื่อมใสศรัทธาพระสงฆ์ลดน้อยลง ส่วนการทำบุญแล้วกังวลว่าจะถูกหลอกลวงหรือไม่นั้น ร้อยละ 32 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 32 ของคน
เชียงใหม่มีความกังวล ประมาณร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 40 ของคนเชียงใหม่ ไม่มีความกังวลใจว่าตนเองจะถูกหลอกลวง
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ทำการสำรวจความคิดเห็นเปรียบเทียบระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนเชียงใหม่ เกี่ยวกับความเชื่อและพฤติกรรมของสังคมไทยในเรื่องการทำบุญ จาก
ตัวอย่างชาวกรุงเทพฯ 861 คน และชาวเชียงใหม่ 517 คน พบว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในหลายเรื่อง เช่น เรื่องบาปบุญคุณโทษ ความ
เลื่อมใสศรัทธาพระสงฆ์ และความกังวลใจในการถูกหลอกลวงเมื่อทำบุญ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในเรื่องรูปแบบของการทำบุญ พบว่า ร้อยละ 36 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 35 ของคนเชียงใหม่ นิยมทำบุญโดยการบริจาคเงิน
เป็นอันดับแรก (ร้อยละ 36 ของชาวกรุงเทพฯ และร้อยละ 31 ของคนเชียงใหม่) ใส่บาตรเป็นอันดับรอง ส่วนความถี่การ ใส่บาตรของตนเองหรือ
คนในครอบครัว ร้อยละ 60 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 67 ของคนเชียงใหม่ใส่บาตรนาน ๆ ครั้ง นอกจากนี้ ร้อยละ 37 ของคนกรุงเทพฯ และ
ร้อยละ 29 ของคนเชียงใหม่ใส่บาตรสม่ำเสมอ
วัตถุประสงค์ของการทำบุญ พบว่าร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 37 ของคนเชียงใหม่ ต้องการทำให้ จิตใจมีความสุข และ
ร้อยละ 34 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 33 ของคนเชียงใหม่ ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการทำบุญนั้น ร้อยละ 80 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 75 ของคนเชียงใหม่ เห็นว่า
ขณะนี้สังคมให้ความสำคัญต่อการทำบุญน้อยลง และเมื่อถามถึงความคิดเห็นที่ว่าคนทำบุญกันเพื่อหวังผลตอบแทนในชาตินี้ ร้อยละ 59 ของคนกรุงเทพฯ
และร้อยละ 56 ของคนเชียงใหม่ หวังผลตอบแทนในชาตินี้ และร้อยละ 62 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 71 ของคนเชียงใหม่หวังผลตอบแทนในชาติ
หน้า
ในเรื่องบาปบุญคุณโทษว่ามีจริงหรือไม่ในชีวิตนี้ ร้อยละ 90 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 89 ของคนเชียงใหม่ คิดว่ามีจริง สำหรับคำ
กล่าวที่ว่าการทำบุญเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น การประพฤติตนดีอย่างเดียวก็ เพียงพอแล้ว ร้อยละ 64 ของคนกรุงเทพฯ และ
ร้อยละ 70 ของคนเชียงใหม่ ไม่เห็นด้วยต่อคำกล่าวนี้
และเมื่อถามต่อไปถึงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระสงฆ์ ร้อยละ 72 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 75 ของคนเชียงใหม่ เห็นว่าความ
เลื่อมใสศรัทธาพระสงฆ์ลดน้อยลง ส่วนการทำบุญแล้วกังวลว่าจะถูกหลอกลวงหรือไม่นั้น ร้อยละ 32 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 32 ของคน
เชียงใหม่มีความกังวล ประมาณร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 40 ของคนเชียงใหม่ ไม่มีความกังวลใจว่าตนเองจะถูกหลอกลวง
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-