ข้าราชการและพนักงานเอกชนที่มีระดับการศึกษาสูง ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ข้าราชการการเมืองรับบำเหน็จบำนาญ
จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีบทบัญญัติให้ข้าราชการการเมืองได้รับเงินบำเหน็จบำนาญหรือผลประโยชน์อย่าง
อื่น และได้มีร่างพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญข้าราชการการเมืองออกมาแล้วนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการ
สำรวจความคิดเห็นของ ข้าราชการประจำ ทหาร ตำรวจ และลูกจ้างเอกชนที่มีระดับการศึกษาสูง จำนวน 1,173 คน เมื่อวันที่ 7-8 สิงหาคม
2548 ทุกระดับอายุ และเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
พบว่า ร้อยละ 82.0 ของตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการให้เงินบำเหน็จบำนาญแก่ข้าราชการการเมือง โดยจำแนกผู้ไม่เห็นด้วยตามอาชีพ
แล้ว พบว่า ร้อยละ 87.7 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 82.5 เป็นทหาร ตำรวจ ร้อยละ 74.7 เป็นพนักงานลูกจ้างเอกชน และร้อยละ 66.7 ประกอบ
ธุรกิจส่วนตัว
เหตุผลสำคัญที่ไม่เห็นด้วยนั้นเป็นเพราะข้าราชการการเมืองได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการประจำอยู่แล้ว (ร้อยละ 22.6) ได้รับ
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นอกเหนือจากเงินเดือนดีกว่าข้าราชการประจำอยู่แล้ว (ร้อยละ 22.1) เข้ามาทำงานเพียงระยะเวลาสั้น ๆ
(ร้อยละ 21.1) เป็นผู้อาสาเข้ามาบริหารประเทศ (ร้อยละ 18.8) และไม่มีการประเมินคุณภาพผลงานในช่วงเวลาทำงาน (ร้อยละ 15.4)
อย่างไรก็ตามมีถึงร้อยละ 18 ที่เห็นด้วย ต่อการให้เงินบำเหน็จบำนาญ หรือผลตอบแทนอย่างอื่นแก่ ข้าราชการการเมืองโดยร้อยละ
34.9 ของผู้เห็นด้วย คิดว่าควรจะให้ทั้งเงินบำเหน็จบำนาญ ร้อยละ 23.9 ควรให้เงินบำนาญอย่างเดียว ร้อยละ 20.6 ควรให้เงินบำเหน็จอย่าง
เดียว และร้อยละ 20.1 คิดว่า ควรให้ผลตอบแทนอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินบำเหน็จบำนาญ เช่น จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือข้าราชการการเมือง สำหรับเวลา
เริ่มต้นการให้เงินบำเหน็จบำนาญนั้น ร้อยละ 59.8 เห็นว่าควรเริ่มต้นตั้งแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎร์พิจารณา ยืนยันตามที่กฤษฎีกาแก้ไข ร้อยละ 40.2
เห็นว่าให้ย้อนหลังถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรในฉบับปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังให้ความเห็นถึงสิทธิที่จะ
ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ โดยร้อยละ 48.0 เห็นว่าควรจะเริ่มต้นเมื่อเป็นข้าราชการการเมืองมาแล้ว 4 ปี เป็นต้นไป ร้อยละ 17.0 เห็นว่า ควร
เป็นข้าราชการการเมือง 8 ปีขึ้นไป ร้อยละ 13.5 เป็นข้าราชการการเมืองมาแล้วหนึ่งปีขึ้นไป และร้อยละ 13.0 เป็น 2 ปีขึ้นไป
ตารางสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการการเมือง
คุณลักษณะของผู้ตอบ
คุณลักษณะของผู้ตอบ ร้อยละ
เพศ
ชาย 44.6
หญิง 55.4
อายุ (ปี)
15 — 19 ปี 0.3
20 — 24 ปี 10.7
25 — 29 ปี 22.5
30 — 39 ปี 30.1
40 — 49 ปี 25.3
50 — 59 ปี 10.7
60 ปีขึ้นไป 0.3
สภานภาพการสมรส
สมรส 49.4
โสด 50.6
การศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 2.9
มัธยมศึกษา / ปวช. 15.3
อนุปริญญา / ปวส. 13.4
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 68.5
อาชีพ
ข้าราชการประจำ 50.7
ทหาร / ตำรวจ 12.2
พนักงาน / ลูกจ้างเอกชน 34
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 3.1
ความคิดเห็นต่อการให้เงินบำเหน็จบำนาญ จำแนกข้าราชการการเมืองตามอาชีพ
อาชีพ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ข้าราชการประจำ 12.3 87.7
ทหาร / ตำรวจ 17.5 82.5
พนักงาน / ลูกจ้างเอกชน 25.3 74.7
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 33.3 66.7
รวม 18 82
ความคิดเห็นต่อการให้เงินบำเหน็จบำนาญ จำแนกข้าราชการการเมืองตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 38.2 61.8
มัธยมศึกษา / ปวช. 24 76
อนุปริญญา / ปวส. 17.2 82.8
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 15.9 84.1
รวม 18 82
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีบทบัญญัติให้ข้าราชการการเมืองได้รับเงินบำเหน็จบำนาญหรือผลประโยชน์อย่าง
อื่น และได้มีร่างพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญข้าราชการการเมืองออกมาแล้วนั้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงทำการ
สำรวจความคิดเห็นของ ข้าราชการประจำ ทหาร ตำรวจ และลูกจ้างเอกชนที่มีระดับการศึกษาสูง จำนวน 1,173 คน เมื่อวันที่ 7-8 สิงหาคม
2548 ทุกระดับอายุ และเพศ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
พบว่า ร้อยละ 82.0 ของตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการให้เงินบำเหน็จบำนาญแก่ข้าราชการการเมือง โดยจำแนกผู้ไม่เห็นด้วยตามอาชีพ
แล้ว พบว่า ร้อยละ 87.7 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 82.5 เป็นทหาร ตำรวจ ร้อยละ 74.7 เป็นพนักงานลูกจ้างเอกชน และร้อยละ 66.7 ประกอบ
ธุรกิจส่วนตัว
เหตุผลสำคัญที่ไม่เห็นด้วยนั้นเป็นเพราะข้าราชการการเมืองได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการประจำอยู่แล้ว (ร้อยละ 22.6) ได้รับ
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นอกเหนือจากเงินเดือนดีกว่าข้าราชการประจำอยู่แล้ว (ร้อยละ 22.1) เข้ามาทำงานเพียงระยะเวลาสั้น ๆ
(ร้อยละ 21.1) เป็นผู้อาสาเข้ามาบริหารประเทศ (ร้อยละ 18.8) และไม่มีการประเมินคุณภาพผลงานในช่วงเวลาทำงาน (ร้อยละ 15.4)
อย่างไรก็ตามมีถึงร้อยละ 18 ที่เห็นด้วย ต่อการให้เงินบำเหน็จบำนาญ หรือผลตอบแทนอย่างอื่นแก่ ข้าราชการการเมืองโดยร้อยละ
34.9 ของผู้เห็นด้วย คิดว่าควรจะให้ทั้งเงินบำเหน็จบำนาญ ร้อยละ 23.9 ควรให้เงินบำนาญอย่างเดียว ร้อยละ 20.6 ควรให้เงินบำเหน็จอย่าง
เดียว และร้อยละ 20.1 คิดว่า ควรให้ผลตอบแทนอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินบำเหน็จบำนาญ เช่น จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือข้าราชการการเมือง สำหรับเวลา
เริ่มต้นการให้เงินบำเหน็จบำนาญนั้น ร้อยละ 59.8 เห็นว่าควรเริ่มต้นตั้งแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎร์พิจารณา ยืนยันตามที่กฤษฎีกาแก้ไข ร้อยละ 40.2
เห็นว่าให้ย้อนหลังถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรในฉบับปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังให้ความเห็นถึงสิทธิที่จะ
ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ โดยร้อยละ 48.0 เห็นว่าควรจะเริ่มต้นเมื่อเป็นข้าราชการการเมืองมาแล้ว 4 ปี เป็นต้นไป ร้อยละ 17.0 เห็นว่า ควร
เป็นข้าราชการการเมือง 8 ปีขึ้นไป ร้อยละ 13.5 เป็นข้าราชการการเมืองมาแล้วหนึ่งปีขึ้นไป และร้อยละ 13.0 เป็น 2 ปีขึ้นไป
ตารางสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการการเมือง
คุณลักษณะของผู้ตอบ
คุณลักษณะของผู้ตอบ ร้อยละ
เพศ
ชาย 44.6
หญิง 55.4
อายุ (ปี)
15 — 19 ปี 0.3
20 — 24 ปี 10.7
25 — 29 ปี 22.5
30 — 39 ปี 30.1
40 — 49 ปี 25.3
50 — 59 ปี 10.7
60 ปีขึ้นไป 0.3
สภานภาพการสมรส
สมรส 49.4
โสด 50.6
การศึกษา
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 2.9
มัธยมศึกษา / ปวช. 15.3
อนุปริญญา / ปวส. 13.4
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 68.5
อาชีพ
ข้าราชการประจำ 50.7
ทหาร / ตำรวจ 12.2
พนักงาน / ลูกจ้างเอกชน 34
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 3.1
ความคิดเห็นต่อการให้เงินบำเหน็จบำนาญ จำแนกข้าราชการการเมืองตามอาชีพ
อาชีพ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ข้าราชการประจำ 12.3 87.7
ทหาร / ตำรวจ 17.5 82.5
พนักงาน / ลูกจ้างเอกชน 25.3 74.7
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 33.3 66.7
รวม 18 82
ความคิดเห็นต่อการให้เงินบำเหน็จบำนาญ จำแนกข้าราชการการเมืองตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 38.2 61.8
มัธยมศึกษา / ปวช. 24 76
อนุปริญญา / ปวส. 17.2 82.8
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 15.9 84.1
รวม 18 82
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-