ชาวนนท์ร้อยละ 89 จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. 14 มี.ค. 47 และอยากให้แก้ไขปัญหาการจราจรสภาพถนน และขยะโดยด่วน
สถานภาพของตัวอย่าง
เพศชาย ร้อยละ 46.9 และเพศหญิง ร้อยละ 53.1 สมรส ร้อยละ 62.3 โสด ร้อยละ 3.6 อื่นๆ ร้อยละ 1.6 อายุระหว่าง 18-20 ปี ร้อยละ 7.1 อายุ 21-25 ปี ร้อยละ 12.6 อายุ 26-30 ปี ร้อยละ 19.5 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 19.3 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 24.8 อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 11.5 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.3
การรับทราบและการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและปัญหาของชาวนนทบุรี
การทราบบทบาทและหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ชาวนนทบุรี ร้อยละ 42.4 ทราบเล็กน้อย ร้อยละ 31.6 ไม่ทราบ และร้อยละ 26 ทราบเป็นอย่างดี ส่วนการทราบวันเลือกตั้งนายก อบจ.นั้น ร้อยละ 66.4 ตอบว่าทราบโดยระบุวันที่ 14 มีนาคม 2547 ถูกต้อง ตอบผิดร้อยละ 16.3 และไม่ทราบ ร้อยละ 17.2
สื่อที่เป็นตัวกลางถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น พบว่าป้ายหาเสียงมีผลต่อการรับทราบมากที่สุดถึงร้อยละ 42.6 รองลงมาได้แก่ รถหาเสียง ร้อยละ 28.8 แผ่นใบปลิวประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 7.8 เอกสารราชการ ร้อยละ 5.7 โทรทัศน์ ร้อยละ 4.8 วิทยุ/หอกระจายข่าว ร้อยละ 4.6
การไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.ในวันดังกล่าว พบว่าร้อยละ 89.1 จะไปใช้สิทธิ ร้อยละ 6.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.5 ไม่ไป
ส่วนปัญหาที่ชาวนนทบุรีอยากจะให้ผู้มีอำนาจหรือนายก อบจ.เข้าไปดูแลแก้ไขนั้น แต่ละอำเภอจะมีปัญหาที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมของจังหวัด ปัญหาที่เกิดขึ้นเรียงลำดับได้ดังนี้ ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 21.0) ปัญหาสภาพของถนนที่พังควรปรับปรุงขยาย (ร้อยละ 14.1) ปัญหาขยะ/ความสะอาด (ร้อยละ 13.5) ปัญหาไฟฟ้า (6.2)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
สถานภาพของตัวอย่าง
เพศชาย ร้อยละ 46.9 และเพศหญิง ร้อยละ 53.1 สมรส ร้อยละ 62.3 โสด ร้อยละ 3.6 อื่นๆ ร้อยละ 1.6 อายุระหว่าง 18-20 ปี ร้อยละ 7.1 อายุ 21-25 ปี ร้อยละ 12.6 อายุ 26-30 ปี ร้อยละ 19.5 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 19.3 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 24.8 อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 11.5 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.3
การรับทราบและการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและปัญหาของชาวนนทบุรี
การทราบบทบาทและหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ชาวนนทบุรี ร้อยละ 42.4 ทราบเล็กน้อย ร้อยละ 31.6 ไม่ทราบ และร้อยละ 26 ทราบเป็นอย่างดี ส่วนการทราบวันเลือกตั้งนายก อบจ.นั้น ร้อยละ 66.4 ตอบว่าทราบโดยระบุวันที่ 14 มีนาคม 2547 ถูกต้อง ตอบผิดร้อยละ 16.3 และไม่ทราบ ร้อยละ 17.2
สื่อที่เป็นตัวกลางถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น พบว่าป้ายหาเสียงมีผลต่อการรับทราบมากที่สุดถึงร้อยละ 42.6 รองลงมาได้แก่ รถหาเสียง ร้อยละ 28.8 แผ่นใบปลิวประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 7.8 เอกสารราชการ ร้อยละ 5.7 โทรทัศน์ ร้อยละ 4.8 วิทยุ/หอกระจายข่าว ร้อยละ 4.6
การไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.ในวันดังกล่าว พบว่าร้อยละ 89.1 จะไปใช้สิทธิ ร้อยละ 6.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.5 ไม่ไป
ส่วนปัญหาที่ชาวนนทบุรีอยากจะให้ผู้มีอำนาจหรือนายก อบจ.เข้าไปดูแลแก้ไขนั้น แต่ละอำเภอจะมีปัญหาที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมของจังหวัด ปัญหาที่เกิดขึ้นเรียงลำดับได้ดังนี้ ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 21.0) ปัญหาสภาพของถนนที่พังควรปรับปรุงขยาย (ร้อยละ 14.1) ปัญหาขยะ/ความสะอาด (ร้อยละ 13.5) ปัญหาไฟฟ้า (6.2)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-