แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
มหาวิทยาลัยบูรพา
การเลือกตั้ง
กรมการปกครอง
ก่อน 7 วันของการเลือกตั้ง สว. ร้อยละ 80 ของคนกรุงเทพตั้งใจจะไปเลือกตั้งเพื่อทำหน้าที่ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพในเรื่อง “คิดอย่างไรกับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สว. ปี 49” โดยทำการสุ่มถามคนกรุงเทพ จำนวน 3,414 คน จากทุกระดับอาชีพ เพศ การศึกษา ทั่วทุกเขตของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9 และ 10 เมษายน 2549 ก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. คนกรุงเทพ ร้อยละ 82.7 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 12.1 ไม่ตั้งใจจะไป และร้อยละ 5.2 ไม่แน่ใจ โดยผู้ตอบว่าตั้งใจจะไปเลือกตั้งนั้นให้เหตุผลว่าเป็นหน้าที่ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 44.3) เพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้ง (ร้อยละ 43.3) ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบรัฐบาล (ร้อยละ 11.0) คนรู้จักหรือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ (ร้อยละ 1.4)
สำหรับผู้ไม่ไปเลือกตั้งนั้นให้เหตุผลว่าเบื่อการเมือง (ร้อยละ 40.5) ต้องทำงาน (ร้อยละ 27.4) มีธุระ (ร้อยละ 17.1) และเลือกไปก็ไม่เห็นว่า สว. จะทำอะไรได้ (ร้อยละ 15.0)
2. กรณีที่ผู้สมัคร สว. เป็นญาติหรือเกี่ยวข้องกับนักการเมืองที่ตนเองชื่นชอบนั้น ผู้ตอบ ร้อยละ 33.7 ไม่แน่ใจจะเลือก ร้อยละ 33.5 เลือก และร้อยละ 32.8 ไม่เลือก แต่ถ้าผู้สมัคร สว. คนนั้นมีความเกี่ยวโยงกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มที่ชื่นชอบ ผู้ตอบ ร้อยละ 35.9 จะเลือก ร้อยละ 33.6 ไม่เลือก และร้อยละ 30.6 ไม่แน่ใจ
3. สำหรับความลำบากใจของตนเองในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สว. นั้น ร้อยละ 30.7 ไม่เคยเห็นตัวจริงของผู้สมัคร ร้อยละ 20.7 ไม่เคยได้ยินการหาเสียง ร้อยละ 19.2 ต้องตัดสินใจเลือกเพียงคนเดียว และมีอีกร้อยละ 23.4 ที่ตอบว่าไม่มีความลำบากใจ
4. กรณีการแนะนำตัวผ่านป้ายชื่อประกาศตามข้างทางถนนจะมีโอกาสได้รับการพิจารณาจากประชาชนมากกว่าผู้ไม่มีป้ายชื่อหรือไม่นั้น ร้อยละ 47.4 คิดว่ามีโอกาสมากกว่า ร้อยละ 32.0 มีโอกาสเท่ากัน และร้อยละ 20.7 ไม่แน่ใจ
5. นอกนั้นร้อยละ 57.6 มีความเห็นว่าให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ร้อยละ 23.5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 18.8 ไม่ควรมี
อนึ่งจากผลการสำรวจที่พบว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง สว. ในครั้งนี้อยู่ในระดับที่สูงมากนั้น คณะทีมผู้วิจัยจากศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมาย แต่อาจจะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ต้องการจะให้ สว. เข้าไปทำงานถ่วงดุลอำนาจรัฐบาล และการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา และเมื่อดูจากคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่ประสงค์จะเลือกใครสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณของความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน ประกอบกับการที่ สว. ไม่สังกัดพรรคน่าจะทำให้ สว. มีอิสระในการทำงาน และการเมืองไทยที่ผ่านมามีความวุ่นวายก็เพราะส่วนหนึ่งมาจาก สว. ชุดที่แล้วจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะเลือกคนดีเข้าสภา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบรัฐบาล และวันเลือกตั้งที่กำหนดนั้นเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะประชาชนกลับมาทำงานหลังเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนี้ยังคาดหมายต่อไปว่าผู้ที่ได้คะแนนเกิน 2 หมื่นจะมีโอกาสได้เข้าไปนั่งในสภาอันทรงเกียรติเป็นลำดับสุดท้ายแน่นอน
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพในเรื่อง “คิดอย่างไรกับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สว. ปี 49” โดยทำการสุ่มถามคนกรุงเทพ จำนวน 3,414 คน จากทุกระดับอาชีพ เพศ การศึกษา ทั่วทุกเขตของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9 และ 10 เมษายน 2549 ก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. คนกรุงเทพ ร้อยละ 82.7 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 12.1 ไม่ตั้งใจจะไป และร้อยละ 5.2 ไม่แน่ใจ โดยผู้ตอบว่าตั้งใจจะไปเลือกตั้งนั้นให้เหตุผลว่าเป็นหน้าที่ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 44.3) เพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้ง (ร้อยละ 43.3) ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบรัฐบาล (ร้อยละ 11.0) คนรู้จักหรือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ (ร้อยละ 1.4)
สำหรับผู้ไม่ไปเลือกตั้งนั้นให้เหตุผลว่าเบื่อการเมือง (ร้อยละ 40.5) ต้องทำงาน (ร้อยละ 27.4) มีธุระ (ร้อยละ 17.1) และเลือกไปก็ไม่เห็นว่า สว. จะทำอะไรได้ (ร้อยละ 15.0)
2. กรณีที่ผู้สมัคร สว. เป็นญาติหรือเกี่ยวข้องกับนักการเมืองที่ตนเองชื่นชอบนั้น ผู้ตอบ ร้อยละ 33.7 ไม่แน่ใจจะเลือก ร้อยละ 33.5 เลือก และร้อยละ 32.8 ไม่เลือก แต่ถ้าผู้สมัคร สว. คนนั้นมีความเกี่ยวโยงกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มที่ชื่นชอบ ผู้ตอบ ร้อยละ 35.9 จะเลือก ร้อยละ 33.6 ไม่เลือก และร้อยละ 30.6 ไม่แน่ใจ
3. สำหรับความลำบากใจของตนเองในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สว. นั้น ร้อยละ 30.7 ไม่เคยเห็นตัวจริงของผู้สมัคร ร้อยละ 20.7 ไม่เคยได้ยินการหาเสียง ร้อยละ 19.2 ต้องตัดสินใจเลือกเพียงคนเดียว และมีอีกร้อยละ 23.4 ที่ตอบว่าไม่มีความลำบากใจ
4. กรณีการแนะนำตัวผ่านป้ายชื่อประกาศตามข้างทางถนนจะมีโอกาสได้รับการพิจารณาจากประชาชนมากกว่าผู้ไม่มีป้ายชื่อหรือไม่นั้น ร้อยละ 47.4 คิดว่ามีโอกาสมากกว่า ร้อยละ 32.0 มีโอกาสเท่ากัน และร้อยละ 20.7 ไม่แน่ใจ
5. นอกนั้นร้อยละ 57.6 มีความเห็นว่าให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ร้อยละ 23.5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 18.8 ไม่ควรมี
อนึ่งจากผลการสำรวจที่พบว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง สว. ในครั้งนี้อยู่ในระดับที่สูงมากนั้น คณะทีมผู้วิจัยจากศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมาย แต่อาจจะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ต้องการจะให้ สว. เข้าไปทำงานถ่วงดุลอำนาจรัฐบาล และการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา และเมื่อดูจากคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่ประสงค์จะเลือกใครสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณของความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน ประกอบกับการที่ สว. ไม่สังกัดพรรคน่าจะทำให้ สว. มีอิสระในการทำงาน และการเมืองไทยที่ผ่านมามีความวุ่นวายก็เพราะส่วนหนึ่งมาจาก สว. ชุดที่แล้วจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะเลือกคนดีเข้าสภา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการตรวจสอบรัฐบาล และวันเลือกตั้งที่กำหนดนั้นเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะประชาชนกลับมาทำงานหลังเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนี้ยังคาดหมายต่อไปว่าผู้ที่ได้คะแนนเกิน 2 หมื่นจะมีโอกาสได้เข้าไปนั่งในสภาอันทรงเกียรติเป็นลำดับสุดท้ายแน่นอน
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-