แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
ศาลรัฐธรรมนูญ
ไทยรักไทย
ยุบพรรค
ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 24 เห็นว่าควรจะยุบพรรคไทยรักไทย แต่มีเพียงร้อยละ 21 เท่านั้นที่คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญจะยุบพรรคดังกล่าว
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “คิดอย่างไรกับข่าวการ
ยุบพรรค” โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,703 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา และเพศ ระหว่างวันที่ 2 — 3
กรกฎาคม 2549 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. การที่อัยการสูงสุดมีมติให้ส่งเรื่องการยุบพรรคทั้ง 5 ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 38.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 32.3 เห็นด้วย และ
ร้อยละ 28.8 ไม่มีความเห็น
2. ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับทราบว่าอัยการสูงสุดมีมติให้ส่งเรื่องการยุบพรรคให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ร้อยละ 40.0 รู้สึกเป็นห่วง
การลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกระทบต่อการทำมาหากินของตนเอง ร้อยละ 33.0 รู้สึกเป็นกังวลว่าอาจจะเกิดการประท้วง (ม็อบ) ขึ้นอีก
ร้อยละ 14.7 รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรมต่อพรรคเก่าแก่พรรคหนึ่ง ร้อยละ 10.0 รู้สึกเฉยๆ และร้อยละ 2.3 ดีใจ/สะใจเพราะจะได้เริ่มต้น
กันใหม่
3. สำหรับความเห็นที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินเรื่องนี้อย่างไรนั้น ร้อยละ 24.7 เห็นว่าจะไม่ยุบทั้ง 5 พรรค ร้อยละ 23.4 เห็นว่าจะ
ไม่รับเรื่องวินิจฉัย ร้อยละ 21.1 เห็นว่าจะยุบพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.8 เห็นวาจะยุบ 3 พรรคเล็ก และร้อยละ 14.0 เห็นว่าจะยุบพรรคประ
ชาธิปัตย์
4. เมื่อถามต่อไปถึงความเห็นส่วนตัวว่าควรจะยุบพรรคใดหรือไม่นั้น ร้อยละ 46.1 เห็นว่าไม่สมควรยุบพรรคใดเลย ร้อยละ 23.7 เห็น
ว่าควรยุบพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 13.2 เห็นว่าควรยุบพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 9.1 เห็นว่าควรยุบทั้ง 5 พรรค และร้อยละ 7.9 เห็นว่าควรยุบ
เฉพาะ 2 พรรคใหญ่เท่านั้น
5. สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม ภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของ กกต. ชุดปัจจุบันที่มีเพียง 3 คน
ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 52.6 ตอบว่าจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 21.7 จะไม่ไปเลือกตั้ง ที่เหลืออีกร้อยละ 25.7 ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่
6. เมื่อสอบถามชาวกรุงเทพฯ ว่าถึงเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันควรจะลาออกได้แล้วหรือยัง ร้อยละ 66.6
ตอบว่าถึงเวลาแล้ว และร้อยละ 33.4 คิดว่ายังไม่ถึงเวลา
7. ส่วนความน่าเชื่อถือขององค์กร/หน่วยงานที่ชาวกรุงเทพฯ พิจารณาจากผลงานที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ พบว่าชาวกรุงเทพฯ เชื่อถือศาล
ต่างๆ ค่อนข้างมาก ส่วนหน่วยงานที่ชาวกรุงเทพฯ เชื่อถือน้อยที่สุด คือ กกต. ซึ่งมีรายละเอียดความน่าเชื่อถือเป็นดังนี้
องค์กร/หน่วยงาน ความน่าเชื่อถือ
เชื่อถือได้มาก เชื่อถือได้น้อย ไม่น่าเชื่อถือเลย
ศาลปกครองสูงสุด 67.7 28.9 3.4
ศาลฎีกา 62.4 34.1 3.5
ศาลรัฐธรรมนูญ 61.2 35.1 3.7
ศาลปกครอง 61.2 34.9 3.9
ศาลอาญา 59.9 36.7 3.4
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 44.8 46.4 8.8
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 30.9 48.6 20.5
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “คิดอย่างไรกับข่าวการ
ยุบพรรค” โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,703 คน จากทุกระดับอาชีพ การศึกษา และเพศ ระหว่างวันที่ 2 — 3
กรกฎาคม 2549 ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
1. การที่อัยการสูงสุดมีมติให้ส่งเรื่องการยุบพรรคทั้ง 5 ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 38.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 32.3 เห็นด้วย และ
ร้อยละ 28.8 ไม่มีความเห็น
2. ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับทราบว่าอัยการสูงสุดมีมติให้ส่งเรื่องการยุบพรรคให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ร้อยละ 40.0 รู้สึกเป็นห่วง
การลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกระทบต่อการทำมาหากินของตนเอง ร้อยละ 33.0 รู้สึกเป็นกังวลว่าอาจจะเกิดการประท้วง (ม็อบ) ขึ้นอีก
ร้อยละ 14.7 รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรมต่อพรรคเก่าแก่พรรคหนึ่ง ร้อยละ 10.0 รู้สึกเฉยๆ และร้อยละ 2.3 ดีใจ/สะใจเพราะจะได้เริ่มต้น
กันใหม่
3. สำหรับความเห็นที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินเรื่องนี้อย่างไรนั้น ร้อยละ 24.7 เห็นว่าจะไม่ยุบทั้ง 5 พรรค ร้อยละ 23.4 เห็นว่าจะ
ไม่รับเรื่องวินิจฉัย ร้อยละ 21.1 เห็นว่าจะยุบพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 16.8 เห็นวาจะยุบ 3 พรรคเล็ก และร้อยละ 14.0 เห็นว่าจะยุบพรรคประ
ชาธิปัตย์
4. เมื่อถามต่อไปถึงความเห็นส่วนตัวว่าควรจะยุบพรรคใดหรือไม่นั้น ร้อยละ 46.1 เห็นว่าไม่สมควรยุบพรรคใดเลย ร้อยละ 23.7 เห็น
ว่าควรยุบพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 13.2 เห็นว่าควรยุบพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 9.1 เห็นว่าควรยุบทั้ง 5 พรรค และร้อยละ 7.9 เห็นว่าควรยุบ
เฉพาะ 2 พรรคใหญ่เท่านั้น
5. สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม ภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของ กกต. ชุดปัจจุบันที่มีเพียง 3 คน
ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 52.6 ตอบว่าจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 21.7 จะไม่ไปเลือกตั้ง ที่เหลืออีกร้อยละ 25.7 ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่
6. เมื่อสอบถามชาวกรุงเทพฯ ว่าถึงเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบันควรจะลาออกได้แล้วหรือยัง ร้อยละ 66.6
ตอบว่าถึงเวลาแล้ว และร้อยละ 33.4 คิดว่ายังไม่ถึงเวลา
7. ส่วนความน่าเชื่อถือขององค์กร/หน่วยงานที่ชาวกรุงเทพฯ พิจารณาจากผลงานที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ พบว่าชาวกรุงเทพฯ เชื่อถือศาล
ต่างๆ ค่อนข้างมาก ส่วนหน่วยงานที่ชาวกรุงเทพฯ เชื่อถือน้อยที่สุด คือ กกต. ซึ่งมีรายละเอียดความน่าเชื่อถือเป็นดังนี้
องค์กร/หน่วยงาน ความน่าเชื่อถือ
เชื่อถือได้มาก เชื่อถือได้น้อย ไม่น่าเชื่อถือเลย
ศาลปกครองสูงสุด 67.7 28.9 3.4
ศาลฎีกา 62.4 34.1 3.5
ศาลรัฐธรรมนูญ 61.2 35.1 3.7
ศาลปกครอง 61.2 34.9 3.9
ศาลอาญา 59.9 36.7 3.4
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 44.8 46.4 8.8
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 30.9 48.6 20.5
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-