ความเป็นมาของโพลล์
ประชาชนให้ความสำคัญแก่ปัญหาคอรัปชั่นค่อนข้างสูง เพราะตระหนักดีว่าเป็นผลเสียต่อ
ประเทศ อย่างไรก็ดียังไม่มีความชัดเจนนักว่าประชาชนเข้าใจผลเสียของคอรัปชั่นมากน้อยเพียงใด และตระหนักถึงความลึกซึ้งในการ
แก้ไขปัญหาคอรัปชั่นหรือไม่เพียงใด
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้เห็นความสำคัญของประเด็นเหล่านี้จึงได้ออกสำรวจ
ความเห็นของประชาชนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง อันอาจนำไปสู่การประชาสัมพันธ์ต่อสู้คอรัปชั่นและการแก้ไขคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากร เพื่อให้ทราบความเข้าใจของประชาชนในเรื่องผลเสียของคอรัปชั่นตลอดจนการแก้ไข
ปัญหาคอรัปชั่น
เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในเรื่องคอรัปชั่นต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การสำรวจภาคสนามของโพลล์นี้ ทำในระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม 2544 ถึง 2 สิงหาคม 2544
โดยมีกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาต่างๆ กันรวมจำนวนทั้งสิ้น
732 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้นักศึกษาออกไปสัมภาษณ์ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
ผลการสำรวจ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 59 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดระบุเป็นหญิง
ร้อยละ 41 ระบุเป็นชาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46 ระบุอายุระหว่าง 25-44 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 27 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 15 ระบุอายุระหว่าง 20-24 ปี
ในขณะที่ ร้อยละ 12 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 48 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมตอนปลาย
รองลงมาคือร้อยละ 26 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย / ปวช.
ร้อยละ 17 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
และร้อยละ 9 สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา / ปวส.
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 37 ระบุเป็นลูกจ้างเอกชน
รองลงมาคือร้อยละ 28 ระบุเป็นนักศึกษาและแม่บ้าน
ร้อยละ 20 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว
ในขณะที่ร้อยละ 11 ระบุเป็นข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 6 ระบุเป็นผู้ว่างงาน ตามลำดับ
ในเรื่องผลเสียของคอรัปชั่น เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มตัวอย่างนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯมีความเข้าใจพอควรในเรื่องผลเสียของ
คอรัปชั่น อย่างไรก็ดีมีความเชื่อบางประการที่น่าหวาดหวั่นว่าการปราบปรามคอรัปชั่นอาจทำได้ไม่ง่าย เช่น ร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ เชื่อ
ว่า “หากนักการเมืองและข้าราชการโกงบ้างไม่เป็นไร แต่ต้องมีผลงานที่เป็นประโยชน์” และร้อยละ 32 เชื่อว่า “ตามน้ำ” ไม่ทำให้ชาติเสียหาย
นอกจากนี้ร้อยละ 30 ยังเชื่อว่าบางครั้งคอรัปชั่นอาจส่งผลดี เช่นช่วยเร่งรัดการก่อสร้างด้วยซ้ำ และร้อยละ 25 เชื่อว่าคอรัปชั่นเพียงทำให้สังคมเสีย
หายจากการไม่ได้ใช้ภาษีอากรเต็มที่
อย่างไรก็ดีโดยสรุป คนกรุงเทพฯ เชื่อว่าส่วนใหญ่คอรัปชั่นทำให้บ้านเมืองเสียหาย และไม่มีแม้แต่กรณีใดที่คอรัปชั่นไม่ว่า “เบา”
หรือ “ธรรมดา” อาจเป็นผลดีได้ แต่ก็มีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่เชื่อไปในทางตรงกันข้าม
ในเรื่องการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น คนกรุงเทพฯมีความเข้าใจในเรื่องการแก้ไขปัญหาน้อยกว่าในเรื่องผลเสีย อาจกล่าวได้ว่าคนกรุงเทพฯ
มีความเชื่อค่อนข้าง “ไร้เดียงสา” ดังเช่นที่ว่าถ้าประชาชนไทยมีการศึกษาสูงขึ้นคอรัปชั่นจะน้อยลง (ร้อยละ 59 เชื่ออย่างนั้น และร้อยละ 24 ไม่
เชื่อ) หรือคอรัปชั่นแก้ไขได้ไม่ยาก ถ้าผู้มีอิทธิพลทางการเมืองจริงใจและจริงจังในการแก้ไขปัญหาก็จะลดลง (ร้อยละ 79 เชื่อเช่นนั้น และร้อยละ
12 ไม่เชื่อ) หรือถ้านักการเมืองได้รับผลตอบแทนเพียงพอคอรัปชั่นจะลดน้อยลง (ร้อยละ 41 เชื่อ และร้อยละ 38 ไม่เชื่อ)
คนกรุงเทพฯดูจะมีความท้อใจในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยร้อยละ 72 เชื่อว่าคอรัปชั่นไม่มีวันหมดไปจากประเทศไทย อย่างดีก็แค่ควบ
คุมไว้ในระดับหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ เชื่อด้วยว่าถึงมีคอรัปชั่นในระดับพอควรสังคมไทยก็อยู่รอดได้ดี (ร้อยละ 67 เชื่อ และร้อยละ 17 ไม่
เชื่อ)
ข้อมูลสนับสนุน รายละเอียดเพิ่มเติม ปรากฏในตารางต่อไปนี้
สัดส่วนของความเชื่อในเรื่องผลเสียของคอรัปชั่น (ร้อยละ)
ผลเสีย เชื่อ ไม่เชื่อ ไม่แน่ใจ รวม
หากนักการเมืองและข้าราชการโกงบ้างไม่เป็นไร แต่ต้องมีผลงาน 40 49 11 100
“ตามน้ำ” ไม่ทำให้ชาติเสียหาย 32 46 22 100
คอรัปชั่นบางครั้งอาจส่งผลดี ช่วยเร่งรัดการก่อสร้าง 30 48 22 100
คอรัปชั่นทำให้สังคมเสียหายมากกว่าเพียงเสียประโยชน์จากภาษีอากร 62 25 23 100
สัดส่วนของความเชื่อในเรื่องการแก้ไขคอรัปชั่น (ร้อยละ)
การแก้ไขปัญหา เชื่อ ไม่เชื่อ ไม่แน่ใจ รวม
คอรัปชั่นไม่มีวันหมดไปจากประเทศไทย ทำได้แค่ควบคุมไว้ในระดับหนึ่ง 72 15 13 100
ถ้าควบคุมคอรัปชั่นให้อยู่ในระดับพอควร สังคมก็อยู่รอดได้ดี 67 17 16 100
คอรัปชั่นแก้ไขได้ไม่ยากหากผู้มีอิทธิพลทางการเมืองจริงใจและจริงจัง 79 12 9 100
ถ้าประชาชนไทยมีการศึกษาสูงขึ้น คอรัปชั่นจะน้อยลง 59 24 17 100
ถ้านักการเมืองได้รับผลตอบแทนเพียงพอ คอรัปชั่นต้องน้อยลง 41 38 21 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ประชาชนให้ความสำคัญแก่ปัญหาคอรัปชั่นค่อนข้างสูง เพราะตระหนักดีว่าเป็นผลเสียต่อ
ประเทศ อย่างไรก็ดียังไม่มีความชัดเจนนักว่าประชาชนเข้าใจผลเสียของคอรัปชั่นมากน้อยเพียงใด และตระหนักถึงความลึกซึ้งในการ
แก้ไขปัญหาคอรัปชั่นหรือไม่เพียงใด
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้เห็นความสำคัญของประเด็นเหล่านี้จึงได้ออกสำรวจ
ความเห็นของประชาชนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง อันอาจนำไปสู่การประชาสัมพันธ์ต่อสู้คอรัปชั่นและการแก้ไขคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากร เพื่อให้ทราบความเข้าใจของประชาชนในเรื่องผลเสียของคอรัปชั่นตลอดจนการแก้ไข
ปัญหาคอรัปชั่น
เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในเรื่องคอรัปชั่นต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
การสำรวจภาคสนามของโพลล์นี้ ทำในระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม 2544 ถึง 2 สิงหาคม 2544
โดยมีกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาต่างๆ กันรวมจำนวนทั้งสิ้น
732 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้นักศึกษาออกไปสัมภาษณ์ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
ผลการสำรวจ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 59 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดระบุเป็นหญิง
ร้อยละ 41 ระบุเป็นชาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46 ระบุอายุระหว่าง 25-44 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 27 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 15 ระบุอายุระหว่าง 20-24 ปี
ในขณะที่ ร้อยละ 12 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 48 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมตอนปลาย
รองลงมาคือร้อยละ 26 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย / ปวช.
ร้อยละ 17 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
และร้อยละ 9 สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา / ปวส.
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 37 ระบุเป็นลูกจ้างเอกชน
รองลงมาคือร้อยละ 28 ระบุเป็นนักศึกษาและแม่บ้าน
ร้อยละ 20 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว
ในขณะที่ร้อยละ 11 ระบุเป็นข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 6 ระบุเป็นผู้ว่างงาน ตามลำดับ
ในเรื่องผลเสียของคอรัปชั่น เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มตัวอย่างนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯมีความเข้าใจพอควรในเรื่องผลเสียของ
คอรัปชั่น อย่างไรก็ดีมีความเชื่อบางประการที่น่าหวาดหวั่นว่าการปราบปรามคอรัปชั่นอาจทำได้ไม่ง่าย เช่น ร้อยละ 40 ของคนกรุงเทพฯ เชื่อ
ว่า “หากนักการเมืองและข้าราชการโกงบ้างไม่เป็นไร แต่ต้องมีผลงานที่เป็นประโยชน์” และร้อยละ 32 เชื่อว่า “ตามน้ำ” ไม่ทำให้ชาติเสียหาย
นอกจากนี้ร้อยละ 30 ยังเชื่อว่าบางครั้งคอรัปชั่นอาจส่งผลดี เช่นช่วยเร่งรัดการก่อสร้างด้วยซ้ำ และร้อยละ 25 เชื่อว่าคอรัปชั่นเพียงทำให้สังคมเสีย
หายจากการไม่ได้ใช้ภาษีอากรเต็มที่
อย่างไรก็ดีโดยสรุป คนกรุงเทพฯ เชื่อว่าส่วนใหญ่คอรัปชั่นทำให้บ้านเมืองเสียหาย และไม่มีแม้แต่กรณีใดที่คอรัปชั่นไม่ว่า “เบา”
หรือ “ธรรมดา” อาจเป็นผลดีได้ แต่ก็มีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่เชื่อไปในทางตรงกันข้าม
ในเรื่องการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น คนกรุงเทพฯมีความเข้าใจในเรื่องการแก้ไขปัญหาน้อยกว่าในเรื่องผลเสีย อาจกล่าวได้ว่าคนกรุงเทพฯ
มีความเชื่อค่อนข้าง “ไร้เดียงสา” ดังเช่นที่ว่าถ้าประชาชนไทยมีการศึกษาสูงขึ้นคอรัปชั่นจะน้อยลง (ร้อยละ 59 เชื่ออย่างนั้น และร้อยละ 24 ไม่
เชื่อ) หรือคอรัปชั่นแก้ไขได้ไม่ยาก ถ้าผู้มีอิทธิพลทางการเมืองจริงใจและจริงจังในการแก้ไขปัญหาก็จะลดลง (ร้อยละ 79 เชื่อเช่นนั้น และร้อยละ
12 ไม่เชื่อ) หรือถ้านักการเมืองได้รับผลตอบแทนเพียงพอคอรัปชั่นจะลดน้อยลง (ร้อยละ 41 เชื่อ และร้อยละ 38 ไม่เชื่อ)
คนกรุงเทพฯดูจะมีความท้อใจในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยร้อยละ 72 เชื่อว่าคอรัปชั่นไม่มีวันหมดไปจากประเทศไทย อย่างดีก็แค่ควบ
คุมไว้ในระดับหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้คนกรุงเทพฯ เชื่อด้วยว่าถึงมีคอรัปชั่นในระดับพอควรสังคมไทยก็อยู่รอดได้ดี (ร้อยละ 67 เชื่อ และร้อยละ 17 ไม่
เชื่อ)
ข้อมูลสนับสนุน รายละเอียดเพิ่มเติม ปรากฏในตารางต่อไปนี้
สัดส่วนของความเชื่อในเรื่องผลเสียของคอรัปชั่น (ร้อยละ)
ผลเสีย เชื่อ ไม่เชื่อ ไม่แน่ใจ รวม
หากนักการเมืองและข้าราชการโกงบ้างไม่เป็นไร แต่ต้องมีผลงาน 40 49 11 100
“ตามน้ำ” ไม่ทำให้ชาติเสียหาย 32 46 22 100
คอรัปชั่นบางครั้งอาจส่งผลดี ช่วยเร่งรัดการก่อสร้าง 30 48 22 100
คอรัปชั่นทำให้สังคมเสียหายมากกว่าเพียงเสียประโยชน์จากภาษีอากร 62 25 23 100
สัดส่วนของความเชื่อในเรื่องการแก้ไขคอรัปชั่น (ร้อยละ)
การแก้ไขปัญหา เชื่อ ไม่เชื่อ ไม่แน่ใจ รวม
คอรัปชั่นไม่มีวันหมดไปจากประเทศไทย ทำได้แค่ควบคุมไว้ในระดับหนึ่ง 72 15 13 100
ถ้าควบคุมคอรัปชั่นให้อยู่ในระดับพอควร สังคมก็อยู่รอดได้ดี 67 17 16 100
คอรัปชั่นแก้ไขได้ไม่ยากหากผู้มีอิทธิพลทางการเมืองจริงใจและจริงจัง 79 12 9 100
ถ้าประชาชนไทยมีการศึกษาสูงขึ้น คอรัปชั่นจะน้อยลง 59 24 17 100
ถ้านักการเมืองได้รับผลตอบแทนเพียงพอ คอรัปชั่นต้องน้อยลง 41 38 21 100
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-