แท็ก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
สหรัฐอเมริกา
โรงแรมคอนราด
สงคราม
สงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและอิรัก ซึ่งเกิดต่อเนื่องกับมาเป็นสัปดาห์ที่สามนั้น ธุรกิจ-บัณฑิตย์โพลล์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “คิดอย่างไรกับสงคราม” จากชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,036 ราย ทุกระดับอายุและอาชีพ ผลการสำรวจเป็นดังนี้
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 88 ไม่เห็นด้วย กับการทำสงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับอิรัก แต่เมื่อสงครามได้เกิดขึ้นแล้ว ร้อยละ 79 มีความเห็นว่าสงครามครั้งนี้จะยืดเยื้อไปถึงสามเดือน ร้อยละ 22 สองเดือน ร้อยละ 21 และ หนึ่งเดือน ร้อยละ 18 ที่คิดว่าจะยืดเยื้อถึงครึ่งปีมีถึงร้อยละ 13 สาเหตุที่ยืดเยื้อเพราะคิดว่าไม่มีใครยอมใคร (ร้อยละ 27) อิรักจะไม่ยอมง่าย ๆ (ร้อยละ 21) และสหรัฐอเมริกาต้องการจะเอาชนะให้ได้ (ร้อยละ 14)
จากข่าวสารเกี่ยวกับสงครามดังกล่าวที่เข้ามายังเมืองไทยผ่านสื่อต่าง ๆ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 68 เห็นว่าข่าวที่ผ่านสื่อโทรทัศน์มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 7) ส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศนั้น ร้อยละ 46 เห็นว่าจะเกิดกระทบปานกลาง ร้อยละ 38 เห็นว่ากระทบเล็กน้อย และเมื่อถามต่อไปว่าควรจะเตรียมตัวรับสถานการณ์สงครามอย่างไร ร้อยละ 56 เห็นว่าควรจะต้องประหยัด ร้อยละ 35 ตอบว่าควรดำเนินชีวิตไปตามปกติ
สำหรับคำถามที่ต้องการให้ชาวกรุงเทพฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดยืนของประเทศไทยในสถานการณ์เช่นนี้ ร้อยละ 73 เห็นว่าไทยควรจะเป็นกลางอย่างแท้จริง ร้อยละ 18 ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 5 เห็นว่าควรเป็นกลางแต่เอียงข้างประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 2 เห็นว่าควรเป็นกลางแต่เอียงข้างประเทศอิรัก และร้อยละ 1 เข้าข้างประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 88 ไม่เห็นด้วย กับการทำสงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับอิรัก แต่เมื่อสงครามได้เกิดขึ้นแล้ว ร้อยละ 79 มีความเห็นว่าสงครามครั้งนี้จะยืดเยื้อไปถึงสามเดือน ร้อยละ 22 สองเดือน ร้อยละ 21 และ หนึ่งเดือน ร้อยละ 18 ที่คิดว่าจะยืดเยื้อถึงครึ่งปีมีถึงร้อยละ 13 สาเหตุที่ยืดเยื้อเพราะคิดว่าไม่มีใครยอมใคร (ร้อยละ 27) อิรักจะไม่ยอมง่าย ๆ (ร้อยละ 21) และสหรัฐอเมริกาต้องการจะเอาชนะให้ได้ (ร้อยละ 14)
จากข่าวสารเกี่ยวกับสงครามดังกล่าวที่เข้ามายังเมืองไทยผ่านสื่อต่าง ๆ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 68 เห็นว่าข่าวที่ผ่านสื่อโทรทัศน์มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด รองลงมาได้แก่หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 7) ส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศนั้น ร้อยละ 46 เห็นว่าจะเกิดกระทบปานกลาง ร้อยละ 38 เห็นว่ากระทบเล็กน้อย และเมื่อถามต่อไปว่าควรจะเตรียมตัวรับสถานการณ์สงครามอย่างไร ร้อยละ 56 เห็นว่าควรจะต้องประหยัด ร้อยละ 35 ตอบว่าควรดำเนินชีวิตไปตามปกติ
สำหรับคำถามที่ต้องการให้ชาวกรุงเทพฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดยืนของประเทศไทยในสถานการณ์เช่นนี้ ร้อยละ 73 เห็นว่าไทยควรจะเป็นกลางอย่างแท้จริง ร้อยละ 18 ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 5 เห็นว่าควรเป็นกลางแต่เอียงข้างประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 2 เห็นว่าควรเป็นกลางแต่เอียงข้างประเทศอิรัก และร้อยละ 1 เข้าข้างประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-