ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 936
คน พบว่า ครอบครัวไทยยังเป็นปราการของความมั่นคงในชีวิตสังคมยังให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวยังมีบทบาทสำคัญในการ
เกื้อหนุนการดำรงชีวิตและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยอมรับว่าตนเองยังคงได้รับการปฏิบัติจากครอบครัว
เหมือนเดิมและดีกว่าเดิมตามที่ตนคาดหวัง ไว้
ผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่ (ร้อยละ 38) มีรายได้หลักมาจากการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งมีผลต่อการนำไปใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของตน
เอง ส่วนผู้สูงอายุหญิงมีรายได้หลักจากคู่สมรส ครอบครัว หรือลูกหลาน (ร้อยละ 36) โดยพึ่งบริการจากภาครัฐน้อยที่สุด ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็น
ว่ารายได้ทั้งหมดที่ได้รับอยู่ปัจจุบันเพียงพอต่อการดำรงชีวิต
ความทรงจำที่ประทับใจมากที่สุดของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงก็คือความสำเร็จของลูกหลานในด้านการศึกษาและการทำงาน สำหรับสิ่งที่
อยากทำมากที่สุดในวัยนี้ก็คือการใช้ชีวิตอย่างสงบ
สิ่งที่ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นว่าเลวร้ายที่สุดในชีวิตไม่ใช่การจากไปของคู่ชีวิตหรือบุคคลในครอบครัวแต่กลับเป็นความทุกข์ทรมานเกี่ยว
กับสุขภาพและการเจ็บไข้ได้ป่วย (ร้อยละ 46 และร้อยละ 41.2) มีผู้สูงอายุหญิงถึงร้อยละ 13.3 เกรงการถูกทอดทิ้งให้มีชีวิตอยู่ตามลำพังหรือใน
บ้านพักผู้สูงอายุ
สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นด้วยในระดับที่ใกล้เคียงกันเกี่ยวกับกฏหมายที่ยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิต
ผู้ป่วยหนักหรือได้รับความทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย (ร้อยละ 48 และ 47)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
คน พบว่า ครอบครัวไทยยังเป็นปราการของความมั่นคงในชีวิตสังคมยังให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวยังมีบทบาทสำคัญในการ
เกื้อหนุนการดำรงชีวิตและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยอมรับว่าตนเองยังคงได้รับการปฏิบัติจากครอบครัว
เหมือนเดิมและดีกว่าเดิมตามที่ตนคาดหวัง ไว้
ผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่ (ร้อยละ 38) มีรายได้หลักมาจากการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งมีผลต่อการนำไปใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของตน
เอง ส่วนผู้สูงอายุหญิงมีรายได้หลักจากคู่สมรส ครอบครัว หรือลูกหลาน (ร้อยละ 36) โดยพึ่งบริการจากภาครัฐน้อยที่สุด ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็น
ว่ารายได้ทั้งหมดที่ได้รับอยู่ปัจจุบันเพียงพอต่อการดำรงชีวิต
ความทรงจำที่ประทับใจมากที่สุดของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงก็คือความสำเร็จของลูกหลานในด้านการศึกษาและการทำงาน สำหรับสิ่งที่
อยากทำมากที่สุดในวัยนี้ก็คือการใช้ชีวิตอย่างสงบ
สิ่งที่ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นว่าเลวร้ายที่สุดในชีวิตไม่ใช่การจากไปของคู่ชีวิตหรือบุคคลในครอบครัวแต่กลับเป็นความทุกข์ทรมานเกี่ยว
กับสุขภาพและการเจ็บไข้ได้ป่วย (ร้อยละ 46 และร้อยละ 41.2) มีผู้สูงอายุหญิงถึงร้อยละ 13.3 เกรงการถูกทอดทิ้งให้มีชีวิตอยู่ตามลำพังหรือใน
บ้านพักผู้สูงอายุ
สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงเห็นด้วยในระดับที่ใกล้เคียงกันเกี่ยวกับกฏหมายที่ยอมให้แพทย์กำหนดการจากไปของชีวิต
ผู้ป่วยหนักหรือได้รับความทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย (ร้อยละ 48 และ 47)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-