คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 99 มีโทรศัพท์มือถือใช้ และส่วนใหญ่รำคาญมากเมื่อได้ยินเสียงโทรศัพท์ในระหว่างฟังพระเทศน์และระหว่างการประชุม
โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของคนกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเดินทางไปแห่งหนใดจะพบผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกสถานที่ ทุกเวลา ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของคนใช้โทรศัพท์มือถือของคนกรุงเทพมหานคร ทุกอาชีพ การศึกษา อายุ จำนวน 1,150 คน ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2546 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
จากการสำรวจพบว่าคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 99 มีและใช้โทรศัพท์มือถือ โดยร้อยละ 38 ใช้เพื่อ ติดต่อคนในครอบครัว ร้อยละ 30 ติดต่อกับเพื่อน และร้อยละ 27 ใช้ติดต่อธุรกิจ ยี่ห้อที่นิยมใช้มากที่สุดคือโนเกีย (ร้อยละ 67) รองลงมาคือโมโตโรลา (ร้อยละ 10) ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้อยู่ระหว่าง 300 - 500 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 45) ระหว่าง 500 - 1,000 บาท (ร้อยละ 20) ระหว่าง 1,500 - 2,000 บาท (ร้อยละ 7) โดยค่าใช้จ่ายตัวเองเป็นผู้รับภาระ (ร้อยละ 82) และพ่อแม่จ่ายให้ (ร้อยละ 17)
เมื่อถามต่อไปว่าในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ้างหรือไม่ พบว่า ครึ่งหนึ่งของ ผู้ตอบได้มีการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ ผู้ที่เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ 2 - 3 ครั้งต่อปี มีถึงร้อยละ 79 ส่วนสาเหตุการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ คือ เครื่องเดิมเสีย (ร้อยละ 36) สูญหาย (ร้อยละ 19) และเปลี่ยนตามแฟชั่น (ร้อยละ 9) (และเหตุผลในการเลือกซื้อโทรศัพท์ ร้อยละ 43 ตอบว่าขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่ต้องใช้ ร้อยละ 20 ขึ้นอยู่กับ รูปแบบ และร้อยละ 18 ขึ้นอยู่กับราคา)
ส่วนการเปิดโทรศัพท์มือถือในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้อื่น มีผู้ใช้โทรศัพท์ มือถือถึงร้อยละ 70 60 54 64 จะปิดโทรศัพท์เมื่ออยู่ในโรงภาพยนตร์ ระหว่างฟังพระเทศน์ ระหว่างขับรถ และในระหว่างการประชุม ตามลำดับ และตนเองจะรำคาญมากถึงร้อยละ 46 และ 52 เมื่อได้ฟังเสียงโทรศัพท์ในระหว่างฟังเทศน์ ระหว่างการประชุม ตามลำดับ และจะรำคาญพอสมควรในระหว่างดูภาพยนตร์ร้อยละ 38
สำหรับสาเหตุที่ไม่ปิดโทรศัพท์ ร้อยละ 47 ตอบว่าไม่เป็นการรบกวนผู้อื่นเพราะใช้เสียงเรียกเบาๆ ส่วนอีกร้อยละ 44 ตอบว่ากลัวพลาดข่าวหรืองานที่ติดต่อ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของคนกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเดินทางไปแห่งหนใดจะพบผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกสถานที่ ทุกเวลา ดังนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของคนใช้โทรศัพท์มือถือของคนกรุงเทพมหานคร ทุกอาชีพ การศึกษา อายุ จำนวน 1,150 คน ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2546 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
จากการสำรวจพบว่าคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 99 มีและใช้โทรศัพท์มือถือ โดยร้อยละ 38 ใช้เพื่อ ติดต่อคนในครอบครัว ร้อยละ 30 ติดต่อกับเพื่อน และร้อยละ 27 ใช้ติดต่อธุรกิจ ยี่ห้อที่นิยมใช้มากที่สุดคือโนเกีย (ร้อยละ 67) รองลงมาคือโมโตโรลา (ร้อยละ 10) ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้อยู่ระหว่าง 300 - 500 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 45) ระหว่าง 500 - 1,000 บาท (ร้อยละ 20) ระหว่าง 1,500 - 2,000 บาท (ร้อยละ 7) โดยค่าใช้จ่ายตัวเองเป็นผู้รับภาระ (ร้อยละ 82) และพ่อแม่จ่ายให้ (ร้อยละ 17)
เมื่อถามต่อไปว่าในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ้างหรือไม่ พบว่า ครึ่งหนึ่งของ ผู้ตอบได้มีการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ ผู้ที่เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ 2 - 3 ครั้งต่อปี มีถึงร้อยละ 79 ส่วนสาเหตุการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ คือ เครื่องเดิมเสีย (ร้อยละ 36) สูญหาย (ร้อยละ 19) และเปลี่ยนตามแฟชั่น (ร้อยละ 9) (และเหตุผลในการเลือกซื้อโทรศัพท์ ร้อยละ 43 ตอบว่าขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่ต้องใช้ ร้อยละ 20 ขึ้นอยู่กับ รูปแบบ และร้อยละ 18 ขึ้นอยู่กับราคา)
ส่วนการเปิดโทรศัพท์มือถือในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้อื่น มีผู้ใช้โทรศัพท์ มือถือถึงร้อยละ 70 60 54 64 จะปิดโทรศัพท์เมื่ออยู่ในโรงภาพยนตร์ ระหว่างฟังพระเทศน์ ระหว่างขับรถ และในระหว่างการประชุม ตามลำดับ และตนเองจะรำคาญมากถึงร้อยละ 46 และ 52 เมื่อได้ฟังเสียงโทรศัพท์ในระหว่างฟังเทศน์ ระหว่างการประชุม ตามลำดับ และจะรำคาญพอสมควรในระหว่างดูภาพยนตร์ร้อยละ 38
สำหรับสาเหตุที่ไม่ปิดโทรศัพท์ ร้อยละ 47 ตอบว่าไม่เป็นการรบกวนผู้อื่นเพราะใช้เสียงเรียกเบาๆ ส่วนอีกร้อยละ 44 ตอบว่ากลัวพลาดข่าวหรืองานที่ติดต่อ
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-