คนกรุงเทพฯ โทษการศึกษาตกต่ำเพราะรัฐบาล และเชื่อว่าการเมืองแทรกแซงระบบการศึกษาของชาติ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “ความคิดเห็น ความมั่นใจและความกังวลต่อการศึกษาของไทยใน 1 ปีข้างหน้า” ระหว่างวันที่ 12 และ 13 พฤศจิกายน 2549 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,484 คน จากทุกระดับอาชีพ อายุ เพศ และการศึกษา ซึ่งผลการสำรวจสรุปโดยรวมได้ดังนี้
1. คนกรุงเทพฯ เห็นว่าสิ่งต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้การศึกษาของชาติตกต่ำ ร้อยละ 43.1 คิดว่าเป็นเพราะรัฐบาล ร้อยละ 24.1 คิดว่าเป็นเพราะโรงเรียน / สถาบันการศึกษา ร้อยละ 19.1 เป็นเพราะตัวนักเรียน / นักศึกษาเอง ร้อยละ 7.9 คิดว่าเป็นเพราะครู และร้อยละ 3.4 คิดว่าเป็นเพราะพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
2. ความต้องการที่ชาวกรุงเทพฯ มีต่อรัฐบาลชุดนี้ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาอย่างเร่งด่วนภายในเวลา 1 ปี เมื่อเรียงลำดับเป็นดังนี้ พัฒนาคุณภาพครูผู้สอน (ร้อยละ 19.7) สร้างครูให้มีคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ 19.3) พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยเป็นสากลโดยไม่ลืมความเป็นไทย (ร้อยละ 18.8) จัดหาอุปกรณ์การศึกษาที่มีคุณภาพและเพียงพอ (ร้อยละ 14.4) ปรับปรุงระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (ร้อยละ 11.9) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ (ร้อยละ 9.8) ยกฐานะความเป็นอยู่ของครูให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน (ร้อยละ 4.9) โอนโรงเรียนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 1.2)
3. สำหรับความเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับครูนั้น ร้อยละ 63.5 คิดว่าครูยังคงเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือ ร้อยละ 12.9 คิดว่าไม่เป็น และเมื่อถามถึงความต้องการจะให้บุตรหลานทำงานอาชีพครู ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 61.8 ต้องการโดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมั่นคง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 38.2 ซึ่งไม่ต้องการให้ บุตรหลานทำงานอาชีพครูนั้น เหตุผลสำคัญคือมีรายได้น้อย ความก้าวหน้าในการทำงานน้อย เป็นงานหนักและปัจจุบันคนดูถูกอาชีพนี้
4. ความมั่นใจต่อความสำเร็จของรัฐบาลเฉพาะกาลในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภายใน 1 ปี เป็นดังนี้
4.1) การเก็บแป๊ะเจี๊ยะของโรงเรียน ร้อยละ 44.9 ไม่แน่ใจว่าจะทำสำเร็จ ร้อยละ 35.3 คิดว่าไม่สำเร็จ และร้อยละ 19.8 คิดว่าสำเร็จ
4.2) การฝากเด็กเข้าโรงเรียนของข้าราชการ / นักการเมือง ร้อยละ 46.2 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 32.3 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 21.5 คิดว่าสำเร็จ
4.3) ความผิดพลาดและล่าช้าของผลการสอบแอ็ดมิชชั่น ร้อยละ 44.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 29.5 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 25.8 คิดว่าไม่สำเร็จ
4.4) หนี้สินของครู ร้อยละ 42.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 39.7 คิดว่าไม่สำเร็จ และร้อยละ 17.5 คิดว่าสำเร็จ
4.5) การเพิ่มรายได้ของครู ร้อยละ 40.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 34.5 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 25.3 คิดว่าไม่สำเร็จ
4.6) คุณภาพของครู ร้อยละ 36.8 คิดว่าสำเร็จ ร้อยละ 34.5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 28.7 คิดว่าไม่สำเร็จ
4.7) เด็กนักเรียนตีกัน ร้อยละ 66.4 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 23.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 10.0 คิดว่าสำเร็จ
4.8) การควบคุมไม่ให้มีร้านเกมส์ออนไลน์ ร้านเหล้า ตู้ม้า ตู้เกมส์อยู่ใกล้โรงเรียนหรือสถานศึกษา ร้อยละ 63.4 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 21.7 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 14.9 คิดว่าสำเร็จ
5. จากการสอบถามชาวกรุงเทพฯ ว่าระบบการศึกษาของชาติมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ร้อยละ 62.6 ตอบว่ามีแน่นอน ร้อยละ 25.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 12.0 ตอบว่าไม่มี
6. ในด้านความกังวลใจที่ชาวกรุงเทพฯ มีต่อเรื่องต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบในทางลบต่อบุตรหลานนั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน (ร้อยละ 15.4) การติดยาเสพติด (ร้อยละ 14.4) การติดเกมส์ออนไลน์ (ร้อยละ 14.4) การมีอบายมุขทั่วเมือง (ร้อยละ 13.4) การคบเพื่อนไม่ดี (ร้อยละ 13.1) ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา (ร้อยละ 6.2) การชมภาพยนตร์และสิ่งลามกอนาจาร (ร้อยละ 6.5) จบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ (ร้อยละ 4.7) การหนีเรียน (ร้อยละ 3.5) การติดการพนัน (ร้อยละ 3.2) มีละครโทรทัศน์ไม่เหมาะสมในช่วงเวลาสำหรับเด็ก (ร้อยละ 3.1) การเบี่ยงเบนทางเพศ (ร้อยละ 2.1)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “ความคิดเห็น ความมั่นใจและความกังวลต่อการศึกษาของไทยใน 1 ปีข้างหน้า” ระหว่างวันที่ 12 และ 13 พฤศจิกายน 2549 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,484 คน จากทุกระดับอาชีพ อายุ เพศ และการศึกษา ซึ่งผลการสำรวจสรุปโดยรวมได้ดังนี้
1. คนกรุงเทพฯ เห็นว่าสิ่งต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้การศึกษาของชาติตกต่ำ ร้อยละ 43.1 คิดว่าเป็นเพราะรัฐบาล ร้อยละ 24.1 คิดว่าเป็นเพราะโรงเรียน / สถาบันการศึกษา ร้อยละ 19.1 เป็นเพราะตัวนักเรียน / นักศึกษาเอง ร้อยละ 7.9 คิดว่าเป็นเพราะครู และร้อยละ 3.4 คิดว่าเป็นเพราะพ่อแม่ / ผู้ปกครอง
2. ความต้องการที่ชาวกรุงเทพฯ มีต่อรัฐบาลชุดนี้ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาอย่างเร่งด่วนภายในเวลา 1 ปี เมื่อเรียงลำดับเป็นดังนี้ พัฒนาคุณภาพครูผู้สอน (ร้อยละ 19.7) สร้างครูให้มีคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ 19.3) พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยเป็นสากลโดยไม่ลืมความเป็นไทย (ร้อยละ 18.8) จัดหาอุปกรณ์การศึกษาที่มีคุณภาพและเพียงพอ (ร้อยละ 14.4) ปรับปรุงระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (ร้อยละ 11.9) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ (ร้อยละ 9.8) ยกฐานะความเป็นอยู่ของครูให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน (ร้อยละ 4.9) โอนโรงเรียนไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 1.2)
3. สำหรับความเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับครูนั้น ร้อยละ 63.5 คิดว่าครูยังคงเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือ ร้อยละ 12.9 คิดว่าไม่เป็น และเมื่อถามถึงความต้องการจะให้บุตรหลานทำงานอาชีพครู ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 61.8 ต้องการโดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมั่นคง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 38.2 ซึ่งไม่ต้องการให้ บุตรหลานทำงานอาชีพครูนั้น เหตุผลสำคัญคือมีรายได้น้อย ความก้าวหน้าในการทำงานน้อย เป็นงานหนักและปัจจุบันคนดูถูกอาชีพนี้
4. ความมั่นใจต่อความสำเร็จของรัฐบาลเฉพาะกาลในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภายใน 1 ปี เป็นดังนี้
4.1) การเก็บแป๊ะเจี๊ยะของโรงเรียน ร้อยละ 44.9 ไม่แน่ใจว่าจะทำสำเร็จ ร้อยละ 35.3 คิดว่าไม่สำเร็จ และร้อยละ 19.8 คิดว่าสำเร็จ
4.2) การฝากเด็กเข้าโรงเรียนของข้าราชการ / นักการเมือง ร้อยละ 46.2 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 32.3 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 21.5 คิดว่าสำเร็จ
4.3) ความผิดพลาดและล่าช้าของผลการสอบแอ็ดมิชชั่น ร้อยละ 44.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 29.5 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 25.8 คิดว่าไม่สำเร็จ
4.4) หนี้สินของครู ร้อยละ 42.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 39.7 คิดว่าไม่สำเร็จ และร้อยละ 17.5 คิดว่าสำเร็จ
4.5) การเพิ่มรายได้ของครู ร้อยละ 40.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 34.5 คิดว่าสำเร็จ และร้อยละ 25.3 คิดว่าไม่สำเร็จ
4.6) คุณภาพของครู ร้อยละ 36.8 คิดว่าสำเร็จ ร้อยละ 34.5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 28.7 คิดว่าไม่สำเร็จ
4.7) เด็กนักเรียนตีกัน ร้อยละ 66.4 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 23.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 10.0 คิดว่าสำเร็จ
4.8) การควบคุมไม่ให้มีร้านเกมส์ออนไลน์ ร้านเหล้า ตู้ม้า ตู้เกมส์อยู่ใกล้โรงเรียนหรือสถานศึกษา ร้อยละ 63.4 คิดว่าไม่สำเร็จ ร้อยละ 21.7 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 14.9 คิดว่าสำเร็จ
5. จากการสอบถามชาวกรุงเทพฯ ว่าระบบการศึกษาของชาติมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ร้อยละ 62.6 ตอบว่ามีแน่นอน ร้อยละ 25.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 12.0 ตอบว่าไม่มี
6. ในด้านความกังวลใจที่ชาวกรุงเทพฯ มีต่อเรื่องต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบในทางลบต่อบุตรหลานนั้น เรียงลำดับได้ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน (ร้อยละ 15.4) การติดยาเสพติด (ร้อยละ 14.4) การติดเกมส์ออนไลน์ (ร้อยละ 14.4) การมีอบายมุขทั่วเมือง (ร้อยละ 13.4) การคบเพื่อนไม่ดี (ร้อยละ 13.1) ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา (ร้อยละ 6.2) การชมภาพยนตร์และสิ่งลามกอนาจาร (ร้อยละ 6.5) จบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำ (ร้อยละ 4.7) การหนีเรียน (ร้อยละ 3.5) การติดการพนัน (ร้อยละ 3.2) มีละครโทรทัศน์ไม่เหมาะสมในช่วงเวลาสำหรับเด็ก (ร้อยละ 3.1) การเบี่ยงเบนทางเพศ (ร้อยละ 2.1)
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-