ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลภายใต้ โครงการ “ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ” ระหว่าง 25-26 สิงหาคม 2545 จำนวนทั้งสิ้น 803 คน
ผลการสำรวจ พบว่า ช่วงอายุของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างมีอายุอยู่ระหว่าง 30 — 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7 รองลงมา อายุ 25 — 29 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.4 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 96.7 โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 51.3 รองลงมา ระดับประถม-ศึกษา/ต่ำกว่าประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 43.8 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อวันหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว 282 บาท
ลักษณะการประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง พบว่า ผู้ที่ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างในเขตศูนย์กลางธุรกิจ ส่วนใหญ่จะทำเป็นอาชีพหลักคิดเป็นร้อยละ 83.5 ส่วนผู้ที่ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างในเขต นอกเมือง ตามซอย และหมู่บ้าน พบว่า ทำเป็นอาชีพหลัก คิดเป็นร้อยละ 61.2 ส่วนอีกร้อยละ 38.8 ทำเป็นอาชีพเสริมหลังเสร็จจากงานประจำโดยจะทำในช่วงเย็นและวันเสาร์อาทิตย์
เมื่อถูกถามว่า การเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนใหญ่พบว่า ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ คิดเป็นร้อยละ 41.0 รองลงมา นาน ๆ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.6 ในส่วนของผู้ที่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการทำผิดกฎจราจรของตัวเองคิดเป็นร้อยละ 88.0 ซึ่งเรื่องที่ผิดมากที่สุด คือ การไม่ใส่หมวกกันน็อค คิดเป็นร้อยละ 65.9
ในส่วนเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ พบว่า ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสภาพ ท้องถนน คิดเป็นร้อยละ 41.1 รองลงมา คือ ความประมาทของผู้ขับขี่รถคันอื่น คิดเป็นร้อยละ 31.0
ส่วนของการช่วยเหลือสังคมดังคำที่ว่า “ ปิดทองหลังพระ ” พบว่า ร้อยละ 55.4 มีส่วนช่วยเหลือตำรวจจราจรในการแก้ไขปัญหาจราจร และในส่วนของชุมชนตนเองที่ทำมาหากินอยู่พบว่าร้อยละ 50.5 จะช่วยเหลือชุมชนตนเองกรณีที่มีเรื่องเดือดร้อน เช่น ไฟไหม้ , น้ำท่วม เป็นต้น
และประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง พบว่า ร้อยละ 60.8 ของผู้ขับขี่ สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับชุมชนของตนเองที่ให้บริการอยู่ เช่นรถคันนี้อยู่บ้านไหน , คนนี้อยู่บ้านไหน เป็นต้น ถ้าใช้ในทางที่ดี สามารถที่จะเป็นหูเป็นตาในการช่วยเหลือสังคม แต่ถ้าใช้ในทางที่ไม่ดี ถือว่า เป็น ภัยซ้อนเร้น ที่น่ากลัวยิ่งในสังคม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
ผลการสำรวจ พบว่า ช่วงอายุของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างมีอายุอยู่ระหว่าง 30 — 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7 รองลงมา อายุ 25 — 29 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.4 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 96.7 โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 51.3 รองลงมา ระดับประถม-ศึกษา/ต่ำกว่าประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 43.8 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อวันหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว 282 บาท
ลักษณะการประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง พบว่า ผู้ที่ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างในเขตศูนย์กลางธุรกิจ ส่วนใหญ่จะทำเป็นอาชีพหลักคิดเป็นร้อยละ 83.5 ส่วนผู้ที่ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างในเขต นอกเมือง ตามซอย และหมู่บ้าน พบว่า ทำเป็นอาชีพหลัก คิดเป็นร้อยละ 61.2 ส่วนอีกร้อยละ 38.8 ทำเป็นอาชีพเสริมหลังเสร็จจากงานประจำโดยจะทำในช่วงเย็นและวันเสาร์อาทิตย์
เมื่อถูกถามว่า การเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนใหญ่พบว่า ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ คิดเป็นร้อยละ 41.0 รองลงมา นาน ๆ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.6 ในส่วนของผู้ที่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการทำผิดกฎจราจรของตัวเองคิดเป็นร้อยละ 88.0 ซึ่งเรื่องที่ผิดมากที่สุด คือ การไม่ใส่หมวกกันน็อค คิดเป็นร้อยละ 65.9
ในส่วนเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ พบว่า ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสภาพ ท้องถนน คิดเป็นร้อยละ 41.1 รองลงมา คือ ความประมาทของผู้ขับขี่รถคันอื่น คิดเป็นร้อยละ 31.0
ส่วนของการช่วยเหลือสังคมดังคำที่ว่า “ ปิดทองหลังพระ ” พบว่า ร้อยละ 55.4 มีส่วนช่วยเหลือตำรวจจราจรในการแก้ไขปัญหาจราจร และในส่วนของชุมชนตนเองที่ทำมาหากินอยู่พบว่าร้อยละ 50.5 จะช่วยเหลือชุมชนตนเองกรณีที่มีเรื่องเดือดร้อน เช่น ไฟไหม้ , น้ำท่วม เป็นต้น
และประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง พบว่า ร้อยละ 60.8 ของผู้ขับขี่ สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับชุมชนของตนเองที่ให้บริการอยู่ เช่นรถคันนี้อยู่บ้านไหน , คนนี้อยู่บ้านไหน เป็นต้น ถ้าใช้ในทางที่ดี สามารถที่จะเป็นหูเป็นตาในการช่วยเหลือสังคม แต่ถ้าใช้ในทางที่ไม่ดี ถือว่า เป็น ภัยซ้อนเร้น ที่น่ากลัวยิ่งในสังคม
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-