แท็ก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
วันลอยกระทง
ธรรมชาติ
แมงป่อง
ประเพณีลอยกระทง(หลังวันลอยกระทง) : คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ คิดเป็น ร้อยละ 92
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงของชาวกรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจหลังงานวันลอย-กระทง (19 พฤศจิกายน 2545) ระหว่างวันที่22 — 24 พฤศจิกายน 2545 จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มาจากทุกเพศ อายุ อาชีพ และการศึกษา จำนวน 1,314 ราย
ผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ได้ไปลอยกระทงเมื่อวันที่19 พฤศจิกายน 2545 คิดเห็นร้อยละ 58 ส่วนที่ไม่ไปมีน้อยกว่า คือ ร้อยละ 42 โดยสถานที่ที่คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ไปลอยกระทง คือ คลองใกล้บ้าน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา คือ ท่าน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา คิดเป็นร้อยละ 29 และตามที่สถานที่หน่วยงานราชการจัด คิดเป็นร้อยละ 14 ตามลำดับ
ในด้านค่าใช้จ่ายที่คนกรุงเทพฯ จ่ายในวันลอยกระทง พบว่า ผู้ที่ไปลอยกระทงใช้จ่ายเงินโดยเฉลี่ยคนละ 329 บาท สำหรับจำนวนบุคคลที่ร่วมเดินทางไปลอยกระทงด้วย พบว่า คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ไปงานลอยกระทงโดยมีบุคคลอื่นไปด้วย 2 คน
ในด้านการเลือกกระทง พบว่าคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ คิดเป็น ร้อยละ 92 ในขณะที่เลือกใช้กระทงที่ทำจากโฟมมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น
คนกรุงเทพฯที่ไปลอยกระทงส่วนใหญ่ไปลอยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดประเพณี คิดเป็น ร้อยละ 75 ส่วนที่ไปลอยเพื่อความสนุกสนานมีเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น และอีกร้อยละ 2 ไปลอยเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทง พบว่าส่วนใหญ่เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาพระแม่คงคา คิดเป็นร้อยละ 57 รองลงมา คือ เชื่อว่าเป็นการนำเอาความโชคร้ายลอยไปกับกระทง คิดเป็นร้อยละ 22 และ ผู้ที่ไปลอยกระทงส่วนใหญ่ยังระบุว่าได้ใส่เงินลงไปในกระทงด้วย คิดเป็นร้อยละ 48 ส่วนที่ใส่เล็บ เส้นผมและเงิน มีน้อยกว่า คือ ร้อยละ 29 นอกนั้นใส่หมากพลูและอื่นๆ
ในด้านความกังวลใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันลอยกระทงของคนกรุงเทพฯ พบว่าส่วนใหญ่มีความกังวลใจเกี่ยวกับขยะที่เก็บไม่หมดหลังวันลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 39 รองลงมา คือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากงานลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 34 ส่วนที่เหลือมีความกังวลใจเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ความไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของประเพณีลอยกระทงและการลวนลามทางเพศ เป็นต้น
ในด้านความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ต่อมาตรการเกี่ยวกับการจุดประทัดและดอกไม้ไฟ พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่า ควรห้ามให้จุดประทัดและดอกไม้ไฟโดยเด็ดขาด คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมา คือ เห็นว่าควรผ่อนปรนในบางช่วงเวลา คิดเป็นร้อยละ 29 และ ควรผ่อนปรนในบางสถานที่ คิดเป็น ร้อยละ 25 ตามลำดับ ส่วนที่คิดว่าควรปล่อยอย่างเสรี มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น
ในด้านความสะดวกในวันลอยกระทง พบว่า คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ต้องการให้จัดอำนวยความสะดวกในด้านการจราจรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมาต้องการให้จัดอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสถานที่ลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 34 และจัดให้มีสุขาเคลื่อนที่ ร้อยละ 13 ตามลำดับ
ในด้านความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการประกวดนางนพมาศในวันลอยกระทง พบว่า ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าควรมีกิจกรรมการประกวดนางนพมาศมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากในงานลอยกระทงแม้ว่าจะไม่มีการประกวดนางนพมาศ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ยังสนใจที่จะไปลอยกระทง คิดเป็นเป็นร้อยละ 97 ส่วนที่จะไม่ไปมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงของชาวกรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจหลังงานวันลอย-กระทง (19 พฤศจิกายน 2545) ระหว่างวันที่22 — 24 พฤศจิกายน 2545 จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มาจากทุกเพศ อายุ อาชีพ และการศึกษา จำนวน 1,314 ราย
ผลการสำรวจที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ได้ไปลอยกระทงเมื่อวันที่19 พฤศจิกายน 2545 คิดเห็นร้อยละ 58 ส่วนที่ไม่ไปมีน้อยกว่า คือ ร้อยละ 42 โดยสถานที่ที่คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ไปลอยกระทง คือ คลองใกล้บ้าน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา คือ ท่าน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา คิดเป็นร้อยละ 29 และตามที่สถานที่หน่วยงานราชการจัด คิดเป็นร้อยละ 14 ตามลำดับ
ในด้านค่าใช้จ่ายที่คนกรุงเทพฯ จ่ายในวันลอยกระทง พบว่า ผู้ที่ไปลอยกระทงใช้จ่ายเงินโดยเฉลี่ยคนละ 329 บาท สำหรับจำนวนบุคคลที่ร่วมเดินทางไปลอยกระทงด้วย พบว่า คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ไปงานลอยกระทงโดยมีบุคคลอื่นไปด้วย 2 คน
ในด้านการเลือกกระทง พบว่าคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ คิดเป็น ร้อยละ 92 ในขณะที่เลือกใช้กระทงที่ทำจากโฟมมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น
คนกรุงเทพฯที่ไปลอยกระทงส่วนใหญ่ไปลอยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดประเพณี คิดเป็น ร้อยละ 75 ส่วนที่ไปลอยเพื่อความสนุกสนานมีเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น และอีกร้อยละ 2 ไปลอยเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทง พบว่าส่วนใหญ่เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาพระแม่คงคา คิดเป็นร้อยละ 57 รองลงมา คือ เชื่อว่าเป็นการนำเอาความโชคร้ายลอยไปกับกระทง คิดเป็นร้อยละ 22 และ ผู้ที่ไปลอยกระทงส่วนใหญ่ยังระบุว่าได้ใส่เงินลงไปในกระทงด้วย คิดเป็นร้อยละ 48 ส่วนที่ใส่เล็บ เส้นผมและเงิน มีน้อยกว่า คือ ร้อยละ 29 นอกนั้นใส่หมากพลูและอื่นๆ
ในด้านความกังวลใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันลอยกระทงของคนกรุงเทพฯ พบว่าส่วนใหญ่มีความกังวลใจเกี่ยวกับขยะที่เก็บไม่หมดหลังวันลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 39 รองลงมา คือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากงานลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 34 ส่วนที่เหลือมีความกังวลใจเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ความไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของประเพณีลอยกระทงและการลวนลามทางเพศ เป็นต้น
ในด้านความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ต่อมาตรการเกี่ยวกับการจุดประทัดและดอกไม้ไฟ พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่า ควรห้ามให้จุดประทัดและดอกไม้ไฟโดยเด็ดขาด คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมา คือ เห็นว่าควรผ่อนปรนในบางช่วงเวลา คิดเป็นร้อยละ 29 และ ควรผ่อนปรนในบางสถานที่ คิดเป็น ร้อยละ 25 ตามลำดับ ส่วนที่คิดว่าควรปล่อยอย่างเสรี มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น
ในด้านความสะดวกในวันลอยกระทง พบว่า คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ต้องการให้จัดอำนวยความสะดวกในด้านการจราจรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมาต้องการให้จัดอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสถานที่ลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 34 และจัดให้มีสุขาเคลื่อนที่ ร้อยละ 13 ตามลำดับ
ในด้านความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการประกวดนางนพมาศในวันลอยกระทง พบว่า ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าควรมีกิจกรรมการประกวดนางนพมาศมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากในงานลอยกระทงแม้ว่าจะไม่มีการประกวดนางนพมาศ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ยังสนใจที่จะไปลอยกระทง คิดเป็นเป็นร้อยละ 97 ส่วนที่จะไม่ไปมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
--ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์--
-พห-